สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์เพื่อผลิตถั่วเหลืองฝักสดในระบบเกษตรอินทรีย์
รติกร ณ ลำปาง - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์เพื่อผลิตถั่วเหลืองฝักสดในระบบเกษตรอินทรีย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รติกร ณ ลำปาง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นงคราญ มณีวรรณ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของปุ๋ยอินทริย์เพื่อผลิตถั่วเหลืองฝักสดปลอดสารพิษ ได้ดำเนินการในพื้นที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาการอนุรักษ์ดินและน้ำ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปี 2550 - 2551 ในกลุ่มชุดดินที่ 29 ชุดดินปากช่อง โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCB) จำนวน 3 ซ้ำ 8 ตำรับการทดลอง ประกอบด้วย แปลงควบคุม (T1) ปุ๋ยคอก อัตรา 2 ตันต่อไร่ (T2) ปุ๋ยหมัก อัตรา 2 ตันต่อไร่ (I3) ปุ๋ยคอก อัตรา 1 ตันต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยหมัก อัตรา 1 ตันต่อไร่ (T4) น้ำหมักชีวภาพ อัตรา 2 ลิตรต่อไร่ (T5) ปุ๋ยคอก อัตรา 1 ตันต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ อัตรา 2 ลิตรต่อไร่ (T6) ปุ๋ยหมักอัตรา 1 ตันต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ อัตรา 2 ลิตรต่อไร่ (I7) ปุ๋ยคอก อัตรา 0.5 ตันต่อไร่ และปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5 ตันต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ อัตรา 2 ลิตรต่อไร่ (T8) ผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทุกซนิดอัตรา 2 ตันต่อไร่ ให้ผลผลิตแตกต่างกันทางสถิติ และการใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 2 ตันต่อไร่ มีผลต่อการเจริญเดิบโตและการให้ผลผลิตของถั่วเหลืองฝึกสดให้ผลผลิตเฉลี่ยทั้ง 2 ปีสูงสุดคือ 1,205.11 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่แปลงควบคุมให้ผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดต่ำสุดคือ 799.78 กิโลกรัมต่อไร่ หลังเก็บ ผลผลิตแล้วสมบัติทางเคมีของดินเปลี่ยนแปลง ดินมีความเป็นกรดลดลง ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) เพิ่มขึ้นทุกตำรับการทคลองโดยมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 6.8 - 7.2 แปลงที่มีการใช้ปุ๋ยหมัก อัตรา 1 ตันต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพอัตรา 2 ลิตรต่อไร่ มีอินทรียวัตถุสะสมในดินมากสุดคือ 5.1 เปอร์เซ็นด์ การใช้ปุ๋ยคอก อัตรา 0.5 ตันต่อไร่ และปุ๋ยหมักอัตรา 0.5 ตันต่อไร่ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ อัตรา 2 ลิตรต่อไร่ มีปริมาณฟอสฟอรัสสะสมในดินมากสุดคือ 111 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม การใช้ปุ๋ยคอก อัตรา 1 ตันต่อไร่ ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ อัตรา 2 ลิตรต่อไร่ มีปริมาณ โพแทสเซียมสะสมในดินมากสุดคือ 1,176 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจพบว่า การใช้ปุ๋ยคอก อัตรา 2 ตันต่อไร่ ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงสุดคือ 4,010.66 บาทต่อไร่
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-06-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์เพื่อผลิตถั่วเหลืองฝักสดในระบบเกษตรอินทรีย์
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2551
การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ การจัดการโรคและแมลงเพื่อผลิตถั่วเหลืองและถั่วเหลืองฝักสดอย่างปลอดภัย การศึกษาอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ การศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์น้ำในอัตราที่เหมาะสมเพื่อผลิตถั่วฝักยาวในระบบเกษตรอินทรีย์ การประเมินผลผลิตถั่วเหลืองฝักสดสายพันธุ์จาก AVRDC ถั่วเหลือง : อาหารธรรมดาแต่คุณค่ามหาศาล การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิตมะละกอในระบบเกษตรอินทรีย์ของเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านลาด จ. มหาสารคาม การประเมินอุบัติการณ์ของโรคที่สำคัญถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม การใช้กากเมล็ดสบู่ดำเป็นปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานฝักสด ศักยภาพการผลิตถั่วฝักยาวภายใต้ระบบเคมีและระบบอินทรีย์ในภาคใต้ของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก