สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกรในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร
กาญจนา อินธิกาย - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกรในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กาญจนา อินธิกาย
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องสภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกรในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตและปัญหาการผลิตข้าวโพดฝักอ่อน 3) ความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกรในตำบลเต่างอยและตำบลจันทร์เพ็ญ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารวิชาการและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกษตรกรตัวอย่าง จำนวน 178 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป หาค่า เฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาดังนี้ พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลประมาณ ครึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย และเกษตรกรอายุเฉลี่ย 41.79 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คนต่อครัวเรือน มีแรงงานเฉลี่ย 2 คนต่อครัวเรือน เกษตรกรเกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร คือ สมาชิก ธกส. สมาชิกกลุ่มเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์การเกษตร สภาพการผลิตและปัญหาการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร พบว่า พื้นที่ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกร เฉลี่ยครัวเรือนละ 4.42 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่นา เกษตรกรเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดและมีเอกสารสิทธิ์ ลักษณะเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ลักษณะการใช้แหล่งน้ำ พบว่า ส่วนใหญ่ใช้น้ำชลประทาน ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนในฤดูแล้ง แหล่งเงินทุนจากการกู้ยืมเงินจากพ่อค้าท้องถิ่นมีการใช้รถไถนาเดินตาม มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เฉลี่ยไร่ละ 146.54 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่มีการไถเตรียมดิน จำนวน 1 ครั้ง ปลูกแบบเป็นแถวคู่ยกร่อง ชนิดเมล็ดพันธุ์ที่ใช้คือ พันธุ์แปซิฟิค 283 มีการใช้เมล็ดพันธุ์ เฉลี่ย 4.71 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ได้เมล็ดพันธุ์จากพ่อค้าท้องถิ่นที่รับซื้อผลผลิตส่วนใหญ่ มีระยะปลูกขนาด 30x 60 เซนติเมตร ใช้ระยะเวลาปลูกถึงช่วงถอดช่อดอกตัวผู้ 45-49 วัน ช่วงปลูกข้าวโพดฝักอ่อนจนถึงเก็บเกี่ยว มีการใส่ปุ๋ยเคมี ครั้งที่ 1 สูตร 15-15-15 ในอัตรา เฉลี่ย 51.96 กิโลกรัมต่อไร่ มีการใส่ปุ๋ยเคมี ครั้งที่ 2 สูตร 15-15-15 เฉลี่ย 42.55 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการให้น้ำใช้น้ำจากการปล่อยน้ำไหลตามร่องปลูก ศัตรูข้าวโพดฝักอ่อนที่ทำลาย ส่วนใหญ่เป็นหนอนเจาะลำต้น ไม่มีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวโพดฝักอ่อน ส่วนโรคที่พบทำลายโรคใบไหม้แผลใหญ่ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการใช้สารเคมีในการป้องกัน เก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อนอายุ 50-60 วัน ไม่มีการคัดมาตรฐานข้าวโพดฝักอ่อน มีการจำหน่ายทั้งฝักข้าวโพดฝักอ่อน ได้ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนเฉลี่ย 2,422.25 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนในการผลิตเฉลี่ย 2,283.43 บาทต่อไร่ มีรายได้เฉลี่ย 4,956.47 บาทต่อไร่ ปัญหาในการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่สำคัญคือ สถานที่จำหน่ายปุ๋ยเคมีอยู่ไกล การปอกเปลือกต้องใช้ระยะเวลานาน ปุ๋ยมีราคาแพง แต่มีความต้องการเรียนรู้ ข้อเสนอแนะ เห็นควรให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้เกษตรกร มีความรู้ด้านการตลาด โดยมีการประชาสัมพันธ์ด้านข่าวสารและรวมกลุ่มในการจำหน่ายข้าวโพดฝักอ่อนรวมทั้งมีการประสานงานกับหน่วยงานในท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ประ กอบการค้าข้าวโพดฝักอ่อนหรือหน่วยงานอื่นๆ และเห็นควรให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้แนะนำให้เกษตรกรมีความรู้ด้านเทคนิคการดูแลรักษาแปลงข้าวโพดฝักอ่อน และการดูแลรักษาแปลงข้าวโพดฝักอ่อนเพื่อเพิ่มผลผลิต การป้องกันและกำจัดศัตรูข้าวโพดฝักอ่อน ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง การป้องกัน กำจัดวัชพืช การเก็บเกี่ยวและการเก็บรักษาพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน การปรับปรุงบำรุงดิน และการบำรุงรักษาเครื่องจักรกล
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: เขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนของเกษตรกรในเขตอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรจังหวัดเลย ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลหนองแวง อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในเขตตำบลบ้านซ่ง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร สภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิ ของเกษตรกร ปี 2546 ตำบลเดื่อศรีคันไชย อำเภอวรนิวาส จังหวัดสกลนคร สภาพการผลิตและปัญหาการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลโพนทอง อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา สภาพปัญหาและความต้องการในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก