สืบค้นงานวิจัย
ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชันของส่วนสกัดเอทานอลจากข้าวสีต่างๆ
ชัชวิน เพชรเลิศ - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชันของส่วนสกัดเอทานอลจากข้าวสีต่างๆ
ชื่อเรื่อง (EN): Antioxidant capacity and inhibitory effect on lipid peroxidation of different pigmented rice ethanol extracts
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชัชวิน เพชรเลิศ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาฤทธิ์ต้านลิพิดเปอร์ออกซิเดชันและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของส่วนสกัดเอทานอลจากข้าวกล้องหอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวก่ำดอยมูเซอหรือข้าวเหนียวดำในน้ำมันถั่วเหลือง ด้วยการทดสอบ thiobarbituric acid reactive substances (TBARS) การกำจัดอนุมูล DPPH และความสามารถในการรีดิวซ์เหล็ก (FRAP assay) นอกจากนี้ยังทำการตรวจสอบปริมาณสารประกอบฟีนอลรวม ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม และปริมาณแอนโธไซยานิน จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ข้าวก่ำดอยมูเซอมีปริมาณสารประกอบฟีนอล ปริมาณฟลาโวนอยด์และปริมาณแอนโธไซยานินสูงที่สุด (45.48?0.07 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัด, 323.08?0.50 มิลลิกรัมสมมูลของเควอร์เซตินต่อกรัมของสารสกัด และ 1908.01?5.79 มิลลิกรัมของไซยานินดิน-3-กลูโคไซด์ต่อกรัมของสารสกัด ตามลำดับ) สำหรับการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่า ข้าวก่ำดอยมูเซอมีฤทธิ์การกำจัดอนุมูล DPPH และมีความสามารถในการให้อิเล็กตรอนกับเหล็กได้ดีที่สุด โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 0.23?0.001 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และค่า FRAP เท่ากับ 32.03?0.001 มิลลิกรัมสมมูลเฟอร์รัสซัลเฟต/กรัมของส่วนสกัด ตามลำดับ นอกจากนี้แล้วสารสกัดเอทานอลจากข้าวกล้องหอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวก่ำดอยมูเซอที่ความเข้มข้นต่างๆ (0.001, 0.01, 0.1 และ 1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) สามารถยับยั้งลิพิดเปอร์ออกซิเดชันได้ทั้งแบบที่เติมสารสกัดบ่มพร้อมกับน้ำมันตั้งแต่เริ่มทำปฏิกิริยา (48 ชั่วโมง) และเมื่อเติมสารสกัดลงในน้ำมันหลังจากทำปฏิกิริยา (48 ชั่วโมง) สำหรับการทดสอบ TBARS พบว่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งของข้าวกล้องหอมนิลที่ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรมีถึง 67.79% สรุปว่าสารสกัดเอทานอลจากข้าวกล้องหอมนิล ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวก่ำดอยมูเซอ สามารถยับยั้งการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชันในปฏิกิริยาขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิได้ และงานวิจัยนี้สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้
ชื่อแหล่งทุน: เงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
เอกสารแนบ: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3713?show=full
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและการยับยั้งการเกิดลิพิดเปอร์ออกซิเดชันของส่วนสกัดเอทานอลจากข้าวสีต่างๆ
มหาวิทยาลัยบูรพา
30 กันยายน 2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การผลิตเอทานอลจากกากเนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันโดยเชื้อผสมที่คัดเลือก การพัฒนาการผลิต Bioactive Fractions ที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการสลายเซลล์ข้อเข่าจากการสกัดหยาบของลำไย การพัฒนาการผลิต Bioactive Fractions ที่มีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการสลายเซลล์ข้อเข่าจากการสกัดหยาบของลำไย การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากงวงตาลตัวผู้ต่อการต้านเชื้อจุลชีพก่อโรคในคน การต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านภาวะโรคไตเรื้อรัง และฤทธิ์ต้านมะเร็ง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยสู่มาตรฐานสากล การศึกษาศักยภาพการผลิตและคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของผักพื้นบ้านวงศ์ Labiatae (กะเพรา โหระพาและสะระแหน่) ในตำบลหนองดินแดง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม การประยุกต์ใช้สารเคลือบผิวรับประทานได้ต้านอนุมูลอิสระจากปอ (Corchorus capsularis Linn.) ในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพจากสมุนไพร การคัดแยกสายพันธุ์ยีสต์ที่มีความสามารถในการผลิตเอทานอลจากเปลือกสับปะรด สมบัติทางเคมีกายภาพ การต้านอนุมูลอิสระ และสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีนไฮโดรไลเซทเห็ดนางฟ้าโดยการย่อยด้วยเอนไซม์โปรติเอสและน้ำร้อน การแข่งขันระหว่างข้าวกับวัชพืชจากการใส่ปุ๋ยรองพื้นระยะเวลาต่างๆ ในนาหว่านข้าวแห้ง ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในผลมะเขือเทศภายหลังการจุ่มน้ำร้อนแล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก