สืบค้นงานวิจัย
โครงการพัฒนากระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่ม ธุรกิจสหกรณ์ภาคการเกษตรผ่านกลไกการบัญชีบนพื้นฐานภาวะเศรษฐกิจทางการเงิน
กลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน - กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
ชื่อเรื่อง: โครงการพัฒนากระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่ม ธุรกิจสหกรณ์ภาคการเกษตรผ่านกลไกการบัญชีบนพื้นฐานภาวะเศรษฐกิจทางการเงิน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Financial Analysis Unit
หน่วยงานสังกัดผู้แต่ง:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง การพัฒนากระบวนการการสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจสหกรณ์ผ่านกลไกการบัญชี บนพื้นฐาน ภาวะเศรษฐกิจทางการเงิน มีวัตถุประสงค์ ดังนี้คือ 1) เพื่อสร้างสหกรณ์ภาคการเกษตรต้นแบบนำร่องโดยการจัดทำ แผนกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจสหกรณ์ภาคการเกษตรแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อกำหนดขั้นตอนและคู่มือการจัดทำ แผนกลยุทธ์ การสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจสหกรณ์ต้นแบบ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบ (Model) ของแผนกลยุทธ์ การสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจสหกรณ์ และประเมินผลสหกรณ์ต้นแบบนำร่อง โดยมีสหกรณ์การเกษตรต้นแบบนำ ร่องที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการศึกษาจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1) สหกรณ์การเกษตรแม่สลอง 2526 จำกัด 2) สหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด 3) สหกรณ์การเกษตรสุวรรณภูมิ จำกัด 4) สหกรณ์โคนมในเขตปฏิรูปที่ดิน ลำพญากลาง จำกัด 5) สหกรณ์การเกษตรศรีประจันต์ จำกัด 6) สหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ จำกัด และ 7) สหกรณ์การเกษตรปลายพระยา จำกัด ผลการศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจ พบว่า จากการวิเคราะห์ผลการดำเนินการทางธุรกิจสหกรณ์ใน รอบ 3 ปี ที่ผ่านมาถึงปัจจุบันโดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์การสร้างมูลค่าเพิ่ม (EVA) ทั้ง 7 สหกรณ์ มีมูลค่าเพิ่มเชิง เศรษฐกิจเฉลี่ย 0.57,4.56,1.44,6.54,-3.02,0.02 และ -0.32 (หน่วย:ล้านบาท) ตามลำดับ สมาชิกสหกรณ์ การเกษตรมีความพึงพอใจต่อการให้บริการและเข้าร่วมกิจกรรมตามธุรกิจต่าง ๆ ของสหกรณ์ในระดับมาก ฝ่าย บริหารจัดการและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับการนำนวัตกรรมเครื่องมือทางการเงิน (CAMELS / CFSAWS:ss / และ SEVA2009) ไปใช้ประโยชน์มีความรู้ด้านนวัตกรรมเครื่องมือทางการเงินในระดับที่น่าพอใจ โดยมี ขั้นตอนและแนวทางในการจัดทำแผนกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจแบบเดียวกันคือ การจัดประชุมชี้แจง วัตถุประสงค์ การจัดตั้งคณะทำงานร่างแผนกลยุทธ์ การเก็บรวบรวมวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล การจัดทำร่าง แผนกลยุทธ์ การนำเสนอร่างแผนกลยุทธ์และปรับปรุงแก้ไข การขออนุมัติงบประมาณดำเนินการ และการ ประเมินติดตามผลเบื้องต้น ด้านวิธีการและรูปแบบ (Model) ของการจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจ พบว่า สหกรณ์ การเกษตรแม่สลอง 2526 จำกัด และสหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด มีรูปแบบกลยุทธ์ เรียกว่า FESS Model ประกอบด้วยผลการวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Analysis) ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environment Factors) และผลการวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคม (Social Factors) นำมากำหนดเป็นแผนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ดำเนินงานของสหกรณ์ สำหรับสหกรณ์การเกษตรศรีประจันต์ จำกัด และสหกรณ์การเกษตร เขาคิฌชกูฏ จำกัด มีรูปแบบกลยุทธ์ เรียกว่า SEVEN FLOC Model ขณะที่สหกรณ์การเกษตรสุวรรณภูมิ จำกัด และสหกรณ์โคนมในเขตปฏิรูปที่ดินลำพญากลาง จำกัด มีรูปแบบกลยุทธ์ เรียกว่า MCB Model และสหกรณ์ การเกษตรปลายพระยา จำกัด มีรูปแบบกลยุทธ์ เรียกว่า RINSITE Model จากรูปแบบทั้ง 4 เมื่อนำมาสังเคราะห์ โดยการจัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจสหกรณ์การเกษตร (Content Analysis และ Delphi Conference) สามารถสรุปรูปแบบ (Model) ต้นแบบของแผนกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจสหกรณ์ เรียกว่า FES Model ประกอบด้วย การวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Analysis) โดยใช้เครื่องมือนวัตกรรมทาง การเงิน (CAMELS / CFSAWS:ss / และ SEVA2009) การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อม (ROGSPEC) ประกอบด้วย ระเบียบข้อบังคับสหกรณ์ (Regulations) โอกาสของการดำเนินธุรกิจ (Opportunity of Business) การขยายตัวทางธุรกิจ (Growth of Business) โครงสร้างและระบบการบริหารงานของสหกรณ์ (Structure and System) ศักยภาพของคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ ผู้ตรวจสอบกิจการและสมาชิก (Potential) การกระจายผลตอบ แก่สมาชิกอย่างเป็นธรรม (Earning Distribution) และนโยบายบริหารเงินทุนของสหกรณ์ (Capital Management Policy) ด้านการวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคม (Social Factor) ประกอบด้วยปัจจัยทางด้านสังคมภายในซึ่งพิจารณา ถึงการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในกิจกรรมสหกรณ์ และปัจจัยทางด้านสังคมภายนอกซึ่งพิจารณาถึงการช่วยเหลือ สนับสนุนระหว่างสหกรณ์กับชุมชน และสังคม (Cooperative Social Sharing) การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมและการจัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทั้ง 3 ด้าน (FES) แล้วสหกรณ์การเกษตร จึงเลือกใช้กลยุทธ์และการขับเคลื่อนที่เหมาะสมกับสถานการณ์การดำเนินงานของสหกรณ์ต่อไป การศึกษาด้านการดำเนินการ พบว่า การดำเนินงานตามแผนและกิจกรรมโครงการ (Initiative) สหกรณ์ การเกษตรแม่สลอง 2526 จำกัด ส่วนมากดำเนินงานตามแผนได้ (ร้อยละ 97.5) สหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด ส่วนมากอยู่ระหว่างดำเนินการตามแผน (ร้อยละ 85.7) สหกรณ์การเกษตรสุวรรณภูมิ จำกัด ส่วนมากอยู่ ระหว่างดำเนินการตามแผน (ร้อยละ 71.4) สหกรณ์โคนมในเขตปฏิรูปที่ดินลำพญากลาง จำกัด ส่วนมากอยู่ ระหว่างดำเนินการตามแผน (ร้อยละ 66.7) สหกรณ์การเกษตรศรีประจันต์ จำกัด ส่วนมาก (ร้อยละ 53.3) อยู่ ระหว่างดำเนินการและบางส่วนดำเนินการเสร็จแล้ว (ร้อยละ 40) สหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ จำกัด ส่วนมาก (ร้อยละ 63.3) ยังไม่ได้ดำเนินการและบางส่วนอยู่ระหว่างดำเนินการ (ร้อยละ 36.6) สหกรณ์การเกษตรปลาย พระยา จำกัด ส่วนมาก (ร้อยละ 42.8) ยังไม่ได้ดำเนินการและบางส่วนอยู่ระหว่างดำเนินการ (ร้อยละ 42.8) ผลการใช้นวัตกรรมเครื่องมือวิเคราะห์ทางการเงิน (Financial Analysis) โดย CAMELS/ CFSAWS:ss และ SEVA 2009) ในการวางแผนกลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจสหกรณ์ ผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนรับมือแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสม แต่มีจุดอ่อนบางประการ คือ ผลการวิเคราะห์จำเป็นต้องอาศัย ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และอาจเข้าใจยากสำหรับผู้ที่ดำเนินการจัดทำแผนกลยุทธ์ เนื่องจากพบว่าส่วนมากร้อย ละ 63.9 ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนกลยุทธ์ได้ จึงควรมีการพัฒนาคู่มือ การใช้และดำเนินการจัดฝึกอบรม ตลอดจนมีการบังคับใช้ในสหกรณ์อย่างจริงจัง สำหรับการศึกษา สภาพปัญหา จุดอ่อน และอุปสรรค การวางแผนกลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจสหกรณ์ ต้นแบบนำร่อง 7 แห่ง พบว่า สหกรณ์การเกษตรขาดความรู้ ความเข้าใจด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เห็นอย่างเป็น รูปธรรมทั้งด้านวิสัยทัศน์ ภารกิจ และค่านิยมขององค์กร ขณะเดียวกันการจัดทำแผนกลยุทธ์ต้องมีระยะเวลา (อย่างน้อย 3 เดือนก่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี) งบประมาณและค่าการลงทุนรวมทั้งความร่วมมือใน การดำเนินการจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจสหกรณ์การเกษตรมากพอ ดังนั้นจึงควรมีการรณรงค์ในเรื่องของ การสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจ การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การวางแผนด้านระยะเวลา งบประมาณและค่าการลงทุน พร้อมทั้งดำเนินการเชิงบูรณาการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความร่วมมือจาก ทุกภาคส่ว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
จำนวนหน้า: 321
เผยแพร่โดย: กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
กลุ่มเป้าหมาย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
เจ้าของลิขสิทธิ์: กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
รายละเอียด: ยุวดี เมืองแมน
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการพัฒนากระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่ม ธุรกิจสหกรณ์ภาคการเกษตรผ่านกลไกการบัญชีบนพื้นฐานภาวะเศรษฐกิจทางการเงิน
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
เอกสารแนบ 1
ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทย ปี 2559 มิติทางบัญชีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงินสหกรณ์ทุกประเภท ประจำปี 2562 แบบหล่อคอนกรีตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจภาคสหกรณ์ไทย ปี 2561 โครงการ พัฒนาเยาวชนบนพื้นที่สูง โครงการศักยภาพระบบเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร การพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน สหกรณ์การเกษตร ประจำปี 2562
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก