สืบค้นงานวิจัย
กลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์เชิงบูรณาการในกระบือของเกษตรกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สมจิตร์ กันธาพรม - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์เชิงบูรณาการในกระบือของเกษตรกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Integrated of strategies enhance reproductive performance in buffaloes of small holder farmers in the northeast Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมจิตร์ กันธาพรม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การกลับสู่สภาพปกติของระบบสืบพันธุ์ในกระบือหลังคลอดที่ล่าช้าส่งผลต่อความสมบูรณ์พันธุ์และการผสมติด ซึ่งเป็นข้อจำกัดต่อความสำเร็จในการจัดการการสืบพันธุ์และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรรายย่อย สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหา การผสมไม่ติดมีหลายสาเหตุ แต่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมของกระบือ อย่างไรก็ตามมีหลักฐานมากมายที่ระบุว่ากระบือมักมีระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลและมักจะมีความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อแก้ไขปัญหาการสืบพันธุ์ในกระบือแรกคลอดที่เลี้ยงเกษตรกรรายย่อย โดยการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ในด้านชีววิทยาการสืบพันธุ์ร่วมกับการจัดการกระบือหลังคลอด ใช้กระบือในระยะแรกคลอด ที่ส่วนใหญ่มีปัญหาการผสมไม่ติด จำนวนทั้งสิ้น 165 ตัว ใน 4 แผนงานทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนสิงหาคม 2555 เพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยแผนการทดลองที่ 1) ศึกษาการพัฒนาการของฟอลลิเคิลบนรังไข่ของกระบือที่ให้ลูกครั้งเดียวและที่ให้ลูกหลายครั้ง โดยใช้กระบือ 30 ตัว เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 จนกระทั่ง 60 วันหลังคลอด ผลการทดลอง พบว่ากระบือกลุ่มที่ให้ลูกหลายครั้งเดียวมีการพัฒนาการของฟอลลิเคิลบนรังไข่ดีกว่ากระบือที่ให้ลูกครั้งเดียว โดยพิจารณาจากวันหลังคลอดที่ปรากฏ DF (29.93 กับ 33.33 วัน ตามลำดับ, P<0.01) รวมทั้งเปอร์เซ็นต์การตกไข่ครั้งแรกภายใน 60 วันหลังคลอดกระบือที่ให้ลูกหลายครั้งมากถึง 73% แต่กระบือที่ให้ลูกครั้งเดียวพบการตกไข่ครั้งแรกเพียง 60% เท่านั้น แผนการทดลองที่ 2) ทำการเหนี่ยวนำการตกไข่และกำหนดเวลาการผสมเทียมในกระบือ 45 ตัว โดยมี 2 ทรีทเมนท์ คือ Ovsynch, Ovsynch+hCG Ovsynch+GnRH และ CIDR ผลการทดลอง พบว่ากระบือที่ได้รับการฉีด hCG และ GnRH ในวันที่ 5 หลังการผสม มีจำนวน CL และความเข้มข้นของฮอร์โมนP4 มากกว่า (P<0.05) แต่ไม่มีผลต่ออัตราการผสมติด แผนการทดลองที่ 3) ใช้กระบือก่อนคลอด 4 สัปดาห์ 45 ตัว ได้รับอาหารข้น 3 สูตร คือ ควบคุม (14% โปรตีน) และเสริมด้วยน้ำมันพืช ขนาด 4 และ 6% เมื่อสัตว์คลอดลูกได้รับอาหารข้นทั้ง 3 สูตร ติดต่อกันอีก 4 สัปดาห์ ผลการทดลอง พบว่าสุขภาพมดลูกและการทำงานของรังไข่ในกระบือที่ได้รับน้ำมันพืชเสริมดีกว่ากระบือในกลุ่มควบคุม การคลอด การขับรก การเข้าอู่ของมดลูก และการกลับสัดครั้งแรกเกิดขึ้นเร็วกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (P<0.01) แผนการทดลองที่ 4) การเสริมมันเฮย์ร่วมกับกากมันสำปะหลังให้แก่แม่กระบือระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด โดยได้เสริมทั้ง 1 และ2 กก./ตัว/วัน ส่งผลให้การทำงานของรังไข่ รวมทั้งสุขภาพของมดลูกดีขึ้น และยังส่งผลให้กระบือมดลูกเข้าอู่ มีการกลับสัดหลังคลอด และสามารถผสมติดครั้งแรกหลังคลอดได้เร็วขึ้น ผลการทดลองที่ได้จากโครงการวิจัยนี้มีส่วนสำคัญต่อความเข้าใจของคณะผู้วิจัย รวมทั้งนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำไปสู่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (the best practices) เพื่อแก้ไขปัญหาการผสมไม่ติดในกระบือ และอาชีพการเลี้ยงกระบือที่ยั่งยืน
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
กลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์เชิงบูรณาการในกระบือของเกษตรกรรายย่อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
30 กันยายน 2554
เอกสารแนบ 1
พันธุ์แอสเตอร์ที่เหมาะสมในการผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อการค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความต้องการบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พันธุ์กุหลาบตัดดอกที่เหมาะสมสำหรับสภาพแห้งแล้งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประสิทธิผลการผลิตข้าวแปลงใหญ่ของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน การศึกษาชนิดและการกระจายพันธุ์ของพรรณไม้น้ำ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน แนวทางการยกระดับรายได้ของเกษตรกรที่ปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าว สมรรถภาพการสืบพันธุ์ของพ่อสุกรพันธุ์แท้และลูกผสม สภาพนิเวศเกษตร เศรษฐกิจและสังคมของระบบการผลิตข้าวนาน้ำฝนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบบการเลี้ยงวัวควายของเกษตรกรรายย่อยในอนาคต

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก