สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 7: การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากเฮมพ์
วิไล รังสาดทอง - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 7: การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากเฮมพ์
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Cultivation and Processing of Products from Hemp Subproject 7: Research and Development on Bioplastic Products from Hemp
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิไล รังสาดทอง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวัสดุคอมโพสิตที่ผลิตจากพอลิโพรพิลีน (PP) และเส้นใยจากแกนเฮมพ์ โดยศึกษาผลของปัจจัย 4 เรื่องได้แก่ 1) ขนาดของเส้นใยจากการคัดแยกด้วยตะแกรง 30 (Large fibre, LF), 60 (Middle fibre, MF) และ 80 (Small fibre, SF) เมช 2) อัตราส่วนการผสมคอมโพสิตที่ 3 ระดับคือ 90:10, 70:30 และ 60:40 โดยน้ำหนัก 3) สารปรับสภาพผิวเส้นใย 2 ชนิด คือ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 5% และ สารคู่ควบพอลิโพรไพลีนที่ดัดแปลงโมเลกุลด?วยมาลิอิกแอนไฮไดรด์ 3% โดยน้ำหนัก และ 4) ชนิดเมตริกซ์ (พลาสติก) ที่ใช้ในการผสมเส้นใย 3 ชนิด คือ พอลิโพรพิลีน พอลิโพรพิลีนรีไซเคิล 3 ครั้ง และ พอลิโพรพิลีนรีไซเคิล 5 ครั้ง พอลิโพรพิลีนและเส้นใยผสมโดยเครื่องบดผสมพลาสติกแบบสองลูกกลิ้ง (Two roll mill) ที่อุณหภูมิ 190 ?C เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นนำคอมโพสิตไปอัดขึ้นรูปชิ้นงาน เพื่อนำไปทดสอบคุณสมบัติเชิงกล ได้แก่ ความต้านทานแรงดึง ความต้านทานแรงดัด ความต้านทานแรงกระแทก และทดสอบลักษณะทางสัณฐานวิทยา ผลการศึกษาปัจจัยเรื่องขนาดของเส้นใยพบว่า คอมโพสิตที่ใช้เส้นใย SF ให้ค่ามอดุลัสยืดหยุ่นและดัดโค้งสูงสุด และการผสมวัสดุคอมโพสิตระหว่างพอลิโพรพิลีน 67 % เส้นใยที่ 30% และสารคู่ควบพอลิโพรไพลีนที่ดัดแปลงโมเลกุลด?วยมาลิอิกแอนไฮไดรด์ 3% โดยน้ำหนัก ส่งผลทำให้คุณสมบัติเชิงกลโดยรวมสูงสุด ให้ค่าความเค้นสูงสุดและความต้านแรงดัดโค้งสูงสุด คือ 34.01 MPa และ 47.87 MPa มีค่าต่ำกว่าพอลิโพรพิลีน 4% และ 7% ตามลำดับ โดยพอลิโพรพิลีนบริสุทธิ์มีค่าความเค้นสูงสุด 35.39 MPa และความต้านแรงดัดโค้งสูงสุด 51.52 MPa แต่มีค่ามอดุลัสยืดหยุ่นและดัดโค้งสูงสุด คือ 2296.84 MPa และ 2875.36 MPa มีค่าสูงกว่าพอลิโพรพิลีน 76% และ 101% ตามลำดับ โดยพอลิโพรพิลีนบริสุทธิ์มีค่ามอดุลัสยืดหยุ่นสูงสุด 1303.49 MPa และมอดุลัสดัดโค้งสูงสุด 1433.48 MPa และพบว่าคอมโพสิตที่ใช้พอลิโพรพิลีนรีไซเคิล 3 ครั้ง และ 5 ครั้ง ไม่ส่งผลต่อคุณสมบัติเชิงกล และสมบัติทางความร้อน
บทคัดย่อ (EN): This research was aimed to develop the natural composite material made from polypropylene (PP) and hemp fibre woody core. We investigated four influenced factors on the mechanical properties of related composites, as follows 1) Size of the fibres sorting by sifter 30 (Large fibre, LF), 60 (Middle fibre, MF) and 80 (Small fibre, SF) mesh, respectively. 2) Weight ratio of blending composite in 3 levels of 90:10, 70:30 and 50:50, 3) Two types of chemical treatment on fibre surface using sodium hydroxide 5% and polypropylene-graft-maleic anhydride 3% by weight. And 4) Types of metrix (Plastic) that used for mixing with fibre are polypropylene (PP), 3 times recycling polypropylene (3RPP), and 5 times recycling polypropylene (5RPP). The PP/hemp fibre composites were mixed by two roll mill at a temperature of 190 ?C for 10 minutes then the composites were compressed by hot press machine. The mechanical properties and morphology such as tensile, flexural, impact strength were determined. It was found that additional SF fibres in PP composite had a maximum modulus of elasticity and flexural and mixed composites of polypropylene 67% with fibre 30% and polypropylene-graft-maleic anhydride 3% by weight. As a result, the entirely mechanical properties had tensile strength and flexural strength at 34.01 MPa and 47.87 MPa which were lower than Polypropylene 4% and 7% respectively, polypropylene had 35.39 MPa of maximum stress and 51.52 MPa of maximum bending strength. however, the modulus of elasticity and flexural were 2296.84 MPa and 2875.36 MPa which were higher than polypropylene 76% and 101% respectively, polypropylene had 1303.49 MPa of modulus of elasticity and 1433.48 MPa modulus of flexural. It was found from the research that the composites used 3 times (3RPP) and 5 times (5RPP) recycling polypropylene not affected to mechanical properties and thermal properties.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 7: การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากเฮมพ์
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 4: การสร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ โครงวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โอกาสทางการตลาดของพลาสติกชีวภาพ โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อย 3: การวิจัยและส่งเสริมการผลิตและการตลาดเฮมพ์ภายใต้ระบบการควบคุม ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างที่มีส่วนผสมของเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 8: การวิจัยและพัฒนาบ้านที่สร้างด้วยส่วนผสมของเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 2 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกและการปฎิบัติรักษาเฮมพ์ ภัยเงียบจาก พาทาเลต (phthalates) ในพลาสติก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก