สืบค้นงานวิจัย
ผลของการเสริมสาหร่ายผักกาดทะเลในอาหารต่อปริมาณเม็ดเลือดรวมทั้งหมดและกิจกรรมของเม็ดเลือดในการกลืนกินสิ่งแปลกปลอมของกุ้งขาวแวนนาไม
ดวงใจ พิสุทธิ์ธาราชัย - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการเสริมสาหร่ายผักกาดทะเลในอาหารต่อปริมาณเม็ดเลือดรวมทั้งหมดและกิจกรรมของเม็ดเลือดในการกลืนกินสิ่งแปลกปลอมของกุ้งขาวแวนนาไม
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of dietary administration of sea lettuce (Ulva rigida) on total haemocytes count and phagocytic activity of Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดวงใจ พิสุทธิ์ธาราชัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Duangjai Pisuttharachai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ธนากร เหมะสถล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Tanakorn Haemasaton
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ผลของการเสริมสาหร่ายผักกาดทะเลในอาหารต่อปริมาณเม็ดเลือดรวมทั้งหมดและกิจกรรมของเม็ดเลือดใน การกลืนกินสิ่งแปลกปลอมของกุ้งขาวแวนนาไม โดยทำการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมขนาด 25 กรัม ด้วยอาหารผสมสาหร่าย ผักกาดทะเลที่ระดับความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุม), 0.5, 1.0 และ 2.0 กรัม/กก.ของน้ำหนักตัว/วัน เป็นเวลานาน 7 วัน จากนั้นทำการฉีดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio harveyi ที่มีปริมาณเชื้อเท่ากับ 5.26 x 103 เซลล์/มล. พบว่า กุ้งขาวแวนนาไมที่ ได้รับอาหารผสมสาหร่ายผักกาดทะเลที่ระดับความเข้มข้น 0.5, 1.0 และ 2.0 กรัม/กก.ของน้ำหนักตัว/วัน มีการตอบสนอง ทางภูมิคุ้มกันดีกว่าชุดควบคุม โดยค่ากิจกรรมของเม็ดเลือดในการกลืนกินสิ่งแปลกปลอม ได้แก่ phagocytic activity, phagocytic index และ average number of the bead ingested per cell มีค่าสูงกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ ( P<0.05) สำหรับผลการศึกษาปริมาณเม็ดเลือดรวมทั้งหมด พบว่า กุ้งขาวแวนนาไมที่ได้รับอาหารผสมสาหร่ายผัก กาดทะเลที่ทุกระดับความเข้มข้นมีค่าปริมาณเม็ดเลือดรวมทั้งหมดไม่แตกต่างกันทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (P>0.05) จากผลการทดลองสรุปได้ว่าสาหร่ายผักกาดทะเลสามารถใช้เป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการเพาะเลี้ยงกุ้งได้ และการเสริมสาหร่ายผักกาดทะเลที่ระดับความเข้มข้น 0.5 กรัม/กก.ของน้ำหนักตัว/วัน เลี้ยงกุ้งนาน 7 วัน เพียงพอต่อการ กระตุ้นให้เกิดการทำงานเพิ่มขึ้นของเซลล์เม็ดเลือดในการกลืนกินสิ่งแปลกปลอม
บทคัดย่อ (EN): Effect of dietary administration of sea lettuce (Ulva rigida) on total haemocytes count and phagocytic activity of Pacific white shrimp (Litopenaeus vannamei) was carried out. Pacific white shrimp (25 g body weight) were fed with dietary administration of sea lettuce at 0 (control), 0.5, 1.0 and 2.0 g/kg body weight/day for 7 days. After that, shrimp were injected with Vibrio harveyi at 5.26 x 103 CFU/ml. The results showed that shrimp fed with 0.5, 1.0 and 2.0 g/kg body weight/day of sea lettuce expressed significant higher of phagocytic activity, phagocytic index and average number of the bead ingested per cell than that control (P<0.05). However, total haemocytes count among shrimp groups were not significantly different (P>0.05). In conclusion, sea lettuce can be used as an immunostimulant for cultured shrimps. Feeding a dietary administration of sea lettuce at 0.5 g/kg body weight/day for 7 days was enough level to increase efficiency of phagocytic activity in shrimp.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=08 Duangjai.pdf&id=2960&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการเสริมสาหร่ายผักกาดทะเลในอาหารต่อปริมาณเม็ดเลือดรวมทั้งหมดและกิจกรรมของเม็ดเลือดในการกลืนกินสิ่งแปลกปลอมของกุ้งขาวแวนนาไม
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการเสริมสาหร่ายสไปรูไลนาในอาหารต่อการเจริญเติบโตและความต้านทานโรคที่เกิดจากเชื้อ Vibrio parahaemolyticus ในกุ้งขาวแวนนาไม ผลของการเสริมเอนไซม์โปรติเอสในอาหารต่อการเจริญเติบโตและสัมประสิทธิ์การย่อยอาหาร ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ผลของสารสกัดจากสาหร่ายสไปรูไลนาต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรค Vibrio parahaemolyticus และ V. harveyi ในกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) วัสดุที่เหมาะสมต่อการลงเกาะของสปอร์สาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva rigida) การเจริญเติบโตของสาหร่ายผักกาดทะเล (Ulva rigida C. Agardh, 1823) ที่เลี้ยงร่วมกับปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1970) ผลของโพรไบโอติก Bacillus subtilis ต่อการควบคุม Vibrio spp. และอัตรารอดตายในการอนุบาลลูกกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) ผลของการใช้น้ำแข็งผสมน้ำมันหอมระเหยไธม์ต่อการรักษาคุณภาพทางเคมีและกายภาพของกุ้งขาว อาหารสำคัญเช่นใดกับมนุษยชาติ ผลของขนาดใบต่อการเจริญเติบโตของสาหร่ายผักกาดทะเล [Ulva rigida C. Agardh, 1823] การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก