สืบค้นงานวิจัย
ผลของการจัดการดินและปุ๋ยต่อผลผลิตต้นสดและลักษณะทางการเกษตรบางประการของข้าวฟ่างหวาน
สุจินต์ รงฤทธิ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการจัดการดินและปุ๋ยต่อผลผลิตต้นสดและลักษณะทางการเกษตรบางประการของข้าวฟ่างหวาน
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of soil and fertilizer management on stalk yield and some agronomic characters of sweet sorghum (Sorghum bicolor (L.) Moench)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุจินต์ รงฤทธิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sujin Rongrit
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้าวฟ่างหวานเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการใช้เป็นวัตถุดิบเสริมสำหรับผลิตเอทานอลในเชิงพาณิชย์จึงได้ศึกษาการ จัดการดินและปุ๋ยเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปลูกข้าวฟ่างหวานเพื่อใช้เป็นพืชพลังงาน ทดแทนในอนาคต โดยทำการทดลองในกระถางที่เรือนทดลองหมวดดินและปุ๋ย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วางแผนการทดลองแบบแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design, CRD) จำนวน 4 ซ้ำ โดยมี 10 ตำรับการทดลองคือ 1.ตำรับที่ไม่ได้รับปุ๋ย 2.ใส่เฉพาะปุ๋ยคอก อัตรา 1000 กก./ไร่ 3.ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 40 กก./ไร่ 4.ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 80 กก/ไร่ 5.ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16- 16-8 อัตรา 40 กก./ไร่ 6ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 80 กก.ไร่ 7.ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 40 กก./ไร่ร่วมกับปุ๋ยคอก 8.ใส่ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 80 กก./ไร่ร่วมกับปุ๋ยคอก 9. ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 40 กก./ไร่ร่วมกับปุ๋ยคอก 10.ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 80 กก./ไร่ร่วมกับปุ๋ยคอก ปลูกข้าวฟ่างหวานลูกผสมพันธุ์ Praj 1 เป็นพืชทคสอบ ผลการทดลอง พบว่า ทุกตำรับที่ ใส่ปุ๋ยให้ผลผลิตเฉลี่ยลำต้นสดของข้าวฟ่างหวานสูงกว่าตำรับที่ไม่ได้รับปุ๋ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเฉพาะในกลุ่ม ตำรับที่ ใส่ปุ๋ย พบว่า ตำรับที่ใส่ปุ๋ยเคมีและตำรับที่ใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกให้ผลผลิตเฉลี่ยลำต้นสดสูงกว่าตำรับที่ใส่เฉพาะปุ๋ย คอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มตำรับที่ใส่เฉพาะปุ๋ยเคมีซึ่งการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และ 16-16-8 ในอัตรา 40 กก/ไร่และ 80 กก./ไร่ พบว่า ปุ๋ยทั้งสองสูตรและทั้งสองอัตราให้ผลผลิตเฉลี่ยลำต้นสดของข้าวฟ่างหวานไม่แตกต่างกันทางสถิติ สำหรับ กลุ่มตำรับที่ใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอก พบว่า การใส่ปุ๋ยทั้งสองสูตรร่วมกับปุ๋ยคอกทั้งสองอัตราให้ผลผลิตเฉลี่ยลำต้นสดของข้าวฟ่างหวานไม่แตกต่างกันทางสถิติ ในกรณีของความสูงของข้าวฟ่างหวานนั้น พบว่า ในช่วง 2 สัปดาห์แรกการเจริญเติบโตด้านความสูงของตำรับที่ใส่ปุ๋ยเคมีและใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกจะมีการเจริญเติบโตดีกว่าตำรับที่ไม่ได้รับปุ๋ยและตำรับที่ได้รับเฉพาะปุ๋ยคอก หลังจากช่วงสองสัปดาห์แรกไปถึงระยะเก็บเกี่ยว การเจริญเติบโตด้านความสูงของข้าวฟ่างหวานจะไม่แตกต่างกันทางสถิติ และสำหรับค่าความหวาน พบว่า ทุกตำรับการทดลองให้ค่าความหวานของน้ำคั้นไม่แตกต่างกันทางสถิติ
บทคัดย่อ (EN): Sweet sorghum has been proven as a high potential energy crop using as an additional raw material for commercial ethanol production. The experiment was conducted at Soil and Fertilizer Division, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University to study the effect of soil and fertilizer management on stalk yield and some agronomic characters of sweet sorghum (Sorghum bicolor (L.) Moench). Pots which were arranged in Completely Randomized Design (CRD), an unfertilized treatment and 10 fertilizer treatment mamely farm yard manure (1 ton/rai), chemical fertilizer grade 15-15-15 (40 kg/rai), chemical fertilizer grade 15-15-15 (80 kg/rai), chemical fertilizer grade 16-16-8 (40 kg/rai), chemical fertilizer grade 16-16-8 (80 kg/rai), chemical fertilizer grade 15-15-15 (40 kg/rai) + farm yard manure , chemical fertilizer grade 15-15-15 (80 kg/rai) + farm yard manure, chemical fertilizer grade 16-16-8 (40 kg/rai) + farm yard manure , chemical fertilizer grade 16-16-8 (80 kg/rai) + farm yard manure. Results obtained revealed that the fertilizer treatments gave significantly higher stalk yield than the unfertilized treatment. Considering fertilized treatments, chemical fertilizer treatments and chemical fertilizer + farm yard manure treatments gave significantly higher stalk yield than that of the farm yard manure treatment. For the group of chemical fertilized treatment, chemical fertilizer grade 15-15-15 and 16-16-8 at both rates of 40 kg/rai and 80 kg/rai gave no significant difference in stalk yield. Among the group of chemical fertilizer + farm yard manure treatment, both fertilizer grades at both application rates also gave no significantly difference in of stalk yield In case of plant height and degree of brix, the results revealed that plant height of all treatments measured after two weeks after planting were not significantly among treatment.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=251.pdf&id=482&keeptrack=8
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการจัดการดินและปุ๋ยต่อผลผลิตต้นสดและลักษณะทางการเกษตรบางประการของข้าวฟ่างหวาน
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ศึกษาเทคนิคการจัดการดินและปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผัก อิทธิพลของปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี ต่อสมบัติของดิน และผลผลิตข้าวในดินชุดหางดง อิทธิพลของปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี ต่อคุณสมบัติของดินและผลผลิตข้าวในสถานีทดลองข้าวสกลนคร ผลของโสนและปุ๋ยไนโตรเจนต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตข้าวในดินนาชุดนครปฐม ผลการใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพอ้อย ศึกษาคุณภาพปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินและการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ผลของแคฝรั่งและปุ๋ยไนโตรเจนต่อความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตข้าวไร่ ศึกษาแนวทางการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินด้วยสายพันธุ์ท้องถิ่นไทย อิทธิพลของปุ๋ยเคมีต่อความหลายหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงสมบัติบางประการของดินในดินและสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อระยะปรับเปลี่ยนในระบบเกษตรอินทรีย์ อิทธิผลของวิธีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตข้าวและการเปลี่ยนแปลงแอมโมเนียมและไนเตรตในดิน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก