สืบค้นงานวิจัย
พันธุศาสตร์ของลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ในงา
ศุภลักษณ์ แพงไธสงค์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: พันธุศาสตร์ของลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ในงา
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic of some agronomic characters in Sesame (Sesamum indicum L.)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศุภลักษณ์ แพงไธสงค์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Supaluk Pangtaisong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การปรับปรุงพันธุ์งาลูกผสมเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการเพิ่มผลผลิตงา เนื่องจากงาลูกผสมมีความดี เด่นเหนือพ่อแม่ แต่ต้นทุนการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมยังสูงมาก ดังนั้นถ้าหากสามารถใช้เมล็ดพันธุ์ในชั่วรุ่นที่ 2 เป็น เมล็ดพันธุ์เพื่อผลิตงาต่อได้ ก็จะช่วยลดต้นทุนในส่วนของค่าเมล็ดพันธุ์ได้มาก การทดลองครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความแปรปรวนของลักษณะทางการเกษตรของต้นงาในชั่วรุ่นที่ 2 และศึกษาพฤติกรรมของยืนที่ควบคุม ลักษณะเหล่านั้น ประเมินการกระจายตัวของลักษณะที่ศึกษาใช้วิธี chi-square (x-test) ทำการทดลองที่หมวด พืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยผลิตเมล็ดพันธุ์งาลูกผสมชั่วรุ่นที่ 1 ในปี 2546 และปีต่อมา ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของยืนที่ควบคุมลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ในงาชั่วรุ่นที่ 2 จำนวน 9 คู่ผสม ได้แก่ KKU1xMK60, KKU1xKU18, KKU1xMR 13, UB 1xMR13, UB1xKU18, MR13xMK60, KU18xKKU2 KU 18xMR 13 และ KU 18xKKU 1 ผลการศึกษาพบว่างาที่มีเมล็ดสีเข้มจะแสดงพฤติกรรมของยืนข่มงาที่มีเมล็ด สีขาวหรือสีอ่อนกว่า ส่วนลักษณะแตกกิ่งจะข่มลักษณะไม่แตกกิ่ง ลักษณะฝักแบบ bicarpellate จะข่มลักษณะฝัก แบบ tetracarpellate และถูกควบคุมโดยยืนเด่น 1 คู่ ลักษณะเปลือกหุ้มเมล็ดสองชั้นจะแสดงพฤติกรรมของยืน ข่มเปลือกหุ้มเมล็ดชั้นเดียว และถูกควบคุมด้วยยืนเด่น 1 คู่เช่นกัน โดยลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยืน 1 คู่ จะมี สัดส่วนการกระจายตัวเท่ากับ 3 : 1 แต่ลักษณะสีเมล็ดถูกควบคุมด้วยยีนแบบ epistasis มีสัดส่วนการกระจายตัว ของสีเป็นแบบ 11 : 1: 4 และ 9 : 2 : 5
บทคัดย่อ (EN): Using hybrid variety is an alternative to increase crop yield. Because some hybrid varieties will show high heterosis and will only appear in F1 generation. However, the production cost of hybrid seeds is very high. Possibility of sesame production using F2 seeds will be help to reduce cost of seeds, but the variation due to segregate population will be one of the limiting factor. The objective of this experiment was to study number of gene control some major agronomic traits. Chi-square test (χ2 -test) was used to evaluate segregating ratios. The trial was conducted at Experimental Farm, Department of Agronomy, Faculty of Agriculture, Khon Kaen University. Production of F1 hybrid seeds was done in 2003 and gene action of some agronomic traits was studied in F2 generation in 2004. Nine cross i.e. KKU1xMK60, KKU1xKU18, KKU1xMR13, UB1xMR13, UB1xKU18, MR13xMK60, KU18xKKU2, KU18xMR13 and KU18xKKU1 were included in this trial. The results revealed that colored seed coat was dominant over white seed coat, branching was dominant over non-branching, bicarpellate capsule was dominant over tetracarpellate capsule, rought seed coat was dominant over single seed coat. Based on segregation ratio in F2 generation indicated that inheritance of the above agronomic traits were monogenic with 3 : 1. The ratio of 11 : 1: 4 and 9 : 2: 5 confered the epistasis effect of seed color.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=145-152.pdf&id=191&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
พันธุศาสตร์ของลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ในงา
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2550
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ศึกษากระบวนการผลิตงางอกร่วมกับการออกแบบและสร้างเครื่องคั่วงางอกเพื่อการเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร การพัฒนาพลังงานจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ โครงการวิจัยและพัฒนาการใช้พลังงานไฮโดรเจนจากน้ำด้วยขบวนการ “อิเล็กโทรลิซิส” กับเครื่องยนต์ทางการเกษตร. ศูนย์สาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานเพื่อการเกษตร ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์อัจฉริยะเพื่อการเกษตร การผลิตสารชีวภัณฑ์จากจุลินทรีย์ลำไส้ปลวกเพื่อการเกษตรพลังงานและสิ่งแวดล้อม การสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรกรรมระดับชุมชนและสหกรณ์การเกษตร โครงการจัดการนิคมการเกษตรพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทน การศึกษาผลการให้ความรู้ในโครงการฝึกสอนทักษะการงานพื้นฐานอาชีพ การทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์การอ้างถึงวารสารในงานวิจัยของคณาจารย์และข้าราชการสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก