สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมร่วมกับพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในกลุ่มชุดดินที่ 29
นงเยาว์ จันทร์อินทร์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมร่วมกับพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในกลุ่มชุดดินที่ 29
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Rate of High Quality Organic Fertilizer and Green Manure for Increase Yield of Baby Corn in Soil Group 29
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นงเยาว์ จันทร์อินทร์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: จุไรพร แก้วทิพย์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมร่วมกับพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในกลุ่มชุดดินที่ 29 สถานที่ทำการทดลองที่แปลงเกษตรกร บ้านช่อแล ต.ช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ระหว่างเดือนกันยายน 2552 ถึงเดือน กันยายน 2554 โดยมี วางแผนการทดลองแบบ split plot in RCB จำนวน 4 ซ้ำ โดย Main plot คือ ไม่ใส่ปุ๋ยพืชสด และ ใส่ปุ๋ยพืชสด (ถั่วพุ่ม) Sub plot กรรมวิธีที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย กรรมวิธีที่ 2 ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน กรรมวิธีที่ 3 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ กรรมวิธีที่ 4 ? ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กรรมวิธีที่ 5 ? ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดิน และ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีดินก่อนการทดลองและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตปี 2553 และ 2554 พบว่า การใส่ปุ๋ยพืชสดทำให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) เพิ่มขึ้นจากระดับกรดจัด (pH 4.8) มาเป็นกรดแก่ (pH 5.1 – 5.4) ส่วนกรรมวิธีการจัดการปุ๋ยในแต่ละปีการทดลองพบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) อยู่ในระดับกรดจัด ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) มีค่าเพิ่มขึ้นจากระดับค่อนข้างต่ำเป็นปานกลาง ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Available P) ยังอยู่ในระดับต่ำมาก และปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน (Exchangeable K) มีค่าอยู่ในระดับสูง การเจริญเติบโตของข้าวโพดฝักอ่อน ฤดูปลูกปี 2553 พบว่า ความสูงของข้าวโพดฝักอ่อนอายุ 30, 45 วัน และระยะเก็บเกี่ยวของวิธีการใส่ปุ๋ยพืชสดไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่กรรมวิธีการจัดการปุ๋ยของข้าวโพดฝักอ่อนอายุ 30 วัน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญโดยกรรมวิธีที่ 3 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ,กรรมวิธีที่ 4 การใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดินครึ่งหนึ่งร่วมกับ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และกรรมวิธีที่ 5 การใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดินครึ่งหนึ่งร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ความสูงสุดกว่ากรรมวิธีอื่นๆ ความสูงของข้าวโพดฝักอ่อน ฤดูปลูกปี 2554 พบว่า ความสูงของข้าวโพดฝักอ่อนอายุ 30, 45 วัน และระยะเก็บเกี่ยวของวิธีการใส่ปุ๋ยพืชสดไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่กรรมวิธีการจัดการปุ๋ยของข้าวโพดฝักอ่อนระยะเก็บเกี่ยว มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญโดยกรรมวิธีที่ 3 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ,กรรมวิธีที่ 4 การใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดินครึ่งหนึ่งร่วมกับ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ และกรรมวิธีที่ 5 การใช้ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำตามค่าวิเคราะห์ดินครึ่งหนึ่งร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ความสูงสุดกว่ากรรมวิธีอื่นๆ ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อน ในปี 2553 และ 2554 พบว่าผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนน้ำหนักรวม ของวิธีการใส่ปุ๋ยพืชสดและกรรมวิธีการจัดการปุ๋ยไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนน้ำหนักหลังตัดแต่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญโดยวิธีการใส่ปุ๋ยพืชสดร่วมกับกรรมวิธีที่ 3 การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตสูงสุด คือ 561.6 และ 552.0 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมร่วมกับพืชปุ๋ยสดเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในกลุ่มชุดดินที่ 29
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2554
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ปุ๋ยพืชสด และน้ำหมักมูลสุกรเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในกลุ่มชุดดินที่ 38 การศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับการใช้พืชปุ๋ยสดในการทำนาหว่านแห้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 และความอุดมสมบูรณ์ของดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด ผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วฝักยาวในกลุ่มชุดดินที่35 การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง ศึกษาอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มผลผลิตผักและความอุดมสมบูรณ์ของดิน จังหวัดปทุมธานี ผลของอัตราปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่เหมาะสมร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ในกลุ่มชุดดิน 35 อัตราปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตของผักกาดหอม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก