สืบค้นงานวิจัย
สัดส่วนเศษปลาหมักผงที่เหมาะสมในการทดแทนปลาป่นและกากถั่วเหลืองในอาหารปลานิลแดง
วรวุฒิ เกิดปราง - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: สัดส่วนเศษปลาหมักผงที่เหมาะสมในการทดแทนปลาป่นและกากถั่วเหลืองในอาหารปลานิลแดง
ชื่อเรื่อง (EN): Appropriate proportion of fermented fish-offal powder for fish meal and soybean cake replacement in Read Tilapia feed
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วรวุฒิ เกิดปราง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ปรีดา ภูมี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เศษปลาข้างเหลือง ซึ่งประกอบด้วยเครื่องในและหัวจากโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ ผ่านกระบวนการหมักด้วยจุลินทรีย์อีเอ็ม (EM) และน้ำมาผสมในสูตรอาหารปลานิลแดงชนิดจมน้ำ ปริมาณโปรตีน 35 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้แหล่งโปรตีนจากเศษปลาหมักอบแห้งเป็นส่วนผสมใน สัดส่วน 0, 10, 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ รวมกับถัวเหลืองป่น 30 และ 40 เปอร์เซ็นต์ของวัตถุดิบ อาหาร และใช้ปลาป่นเพื่อเติมเต็มปริมาณโปรตีนในสูตรอาหาร รวมสูตรอาหารทั้งสิ้น 8 สูตร เลี้ยง ลูกปลานิลแดงแปลงเพศความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ในถังกลมบรรจุน้ำ 350 ลิตร จำนวนถังละ 10 ตัว ด้วยอาหารแต่ละสูตร โดยให้กินจนอิ่มในเวลาเช้าและเย็น ทำการเลี้ยงปลาสูตรละ 3 ซ้ำ เป็น ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการวิเคราะห์น้ำหนักเริ่มต้นและสิ้นสุดการทดลอง อัตราการเจริญเติบโต จำเพาะ (SGR) อัตรารอดตาย (SR) อัตราการกินอาหาร (FI) อัตราการแลกเนื้อ (FCR) ประสิทธิภาพ การใช้โปรตีน (PER) และการใช้โปรตีนสุทธิ (NPU) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ พบว่า น้ำหนักเริ่มต้นและสิ้นสุดการทดลอง ค่า SGR, SR และ FI ของปลานิลแดงที่เลี้ยงด้วยอาหารแต่ละ สูตร ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่พบความแตกตา่งทางสถิติของค่า FCR, PER และ NPU (P<0.01) จากผลการทดลองพบว่าการใช้เศษปลาหมักทดแทนปลาป่นในอาหารปลานิลแดง สามารถใช้ได้ในสัดส่วน 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้ถั่วเหลืองป่นในสัดส่วน 30 เปอร์เซ็นต์ของวัตถุดิบ อาหาร และลดลงเหลือ 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้ถั่วเหลืองป่นในสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ของวัตถุดิบ อาหาร
บทคัดย่อ (EN): Fish waste, comprising viscera and head of yellow stripe trevally (Selaroides leptolipis) from fish processing plant was fermented with commercial effective microorganisms (EM). Red tilapia sinking diets with isonitogenous (35% of protein) were formulated. Sources of protein in diets were composed of fish waste silage (FWS) at 0, 10, 20 and 30% combined with SBM at 30 and 40% of ingredients and supplemented with FM to equalized protein level. The juvenile sex reversed male red tilapia was stocked in 350 L cylinder container with 10 fish. Each diet was fed ad libitum to triplicate groups of fish twice a day for eight weeks. The performances; specific growth rate (SGR), survival rate (SR), feed intake (FI), feed conversion ratio (FCR), protein efficiency ratio (PFR) and net protein utilization (NPU) were evaluated and Statistical package program was used to statistical analysis. The results presented that the replacement of FWS in the diets shown no significant difference on growth performances; initial and final weights, SGR, SR and FI (P>0.05) while the difference found on feed utilizations; FCR, PER and NPU (P<0.01) of Red tilapia. The highest replacement levels of FWS was up to 30% of ingredient when 30% of SBM was added while it reduced to 10% of ingredient when 40% of SBM was applied in the diet.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
เอกสารแนบ: https://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/1992?show=full
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สัดส่วนเศษปลาหมักผงที่เหมาะสมในการทดแทนปลาป่นและกากถั่วเหลืองในอาหารปลานิลแดง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการใช้กากถั่วเหลืองหมักต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของปลานิล การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus) การใช้เศษเหลือของกากถั่วดาวอินคาเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนในอาหารปลานิลแดง การศึกษาการใช้ประโยชน์จากเมล็ดมะขามป่นในอาหารปลานิลแดง ข้อมูลเบื้องต้นของอาหารปลาราคาถูกจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลานิล ผลการเสริมฝุ่นผงน้ำส้มในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิล และปลาดุกลูกผสม การใช้กระเจี๊ยบแดงผสมอาหารเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปลานิล ผลของการเสริมเปลือกมันสำปะหลังและเอนไซม์ย่อยเยื่อใยในสูตรอาหารปลานิลต่อประสิทธิภาพการย่อยได้และการเจริญเติบโต ผลของการใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาข้างเหลืองในการเลี้ยงปลากะพงขาว ผลของการใช้กากถั่วเหลืองที่ย่อยด้วยน้ำคั้นจากสับปะรดในสูตรอาหารปลานิลต่อการเจริญเติบโต ความทนทานต่อสภาพเครียด และเชื้อก่อโรค

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก