สืบค้นงานวิจัย
การคัดเลือกเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของไม้ผล
พนิดา ปรีเปรมโมทย์, พิมพ์ธิดา เรืองไพศาล, พิกุล เกตุชาญวิทย์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การคัดเลือกเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของไม้ผล
ชื่อเรื่อง (EN): Selection Effective Arbuscular Mycorrhizal Fungi for Increase Growth of Fruit Tree
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวัจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสปอร์ และการเข้าอยู่อาศัยของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่พบในดิน และรากของไม้ผลเศรษฐกิจ ศึกษาชนิดและการเพิ่มปริมาณของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาในข้าวโพด โดยทำการเก็บตัวอย่างดินบริเวณรากไม้ผล ได้แก่ ดินบริเวณรากลำไย จำนวน 60 ตัวอย่าง ดินบริเวณรากทุเรียนจำนวน 50 ตัวอย่าง และมังคุด 43 ตัวอย่าง ในพื้นที่ จ. ลำพูน ลำปาง สมุทรสาคร ราชบุรี กาญจนบุรี ชัยภูมิ จันทบุรี ศรีสะเกษ อุตรดิตถ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มีสมบัติทางเคมีของดินปลูกลำไย ได้แก่ ค่า pH ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียม เท่ากับ 5.993 2.542% 230.383 266.933 2,440.950 และ 687.383 มก./กก. ตามล าดับ ดินปลูกทุเรียน มีค่าเท่ากับ 4.567 2.523% 223.216160.706453.451และ 233.824 มก./กก. ตามล าดับ และดินปลูกมังคุด มีค่าเท่ากับ 4.572 2.267% 180.791 93.279 494.349 และ 133.930 มก./กก. ตามล าดับ ตรวจพบปริมาณเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาจากดินที่ปลูกลำไย มีปริมาณสปอร์เฉลี่ยสูงสุดใน จ. ลำปาง 161.14 สปอร์ต่อดิน 25 กรัม และการเข้าอยู่อาศัยของเชื้อราในรากเฉลี่ยสูงสุดใน จ. กาญจนบุรี 66.43 เปอร์เซ็นต์ ดินที่ปลูกทุเรียน พบปริมาณสปอร์และการเข้าอยู่ อาศัยของเชื้อราในรากสูงสุดใน จ. สุราษฎร์ มีค่า 211.25 สปอร์ต่อดิน 25 กรัม และ 59.50 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับและดินที่ปลูกมังคุด พบปริมาณสปอร์สูงสุดใน จ. สุราษฎร์ธานี 213.22 สปอร์ต่อดิน 25 กรัม และการเข้าอยู่อาศัยของเชื้อราในรากสูงสุด จ. ชุมพร 79.45 เปอร์เซ็นต์เมื่อนำมาเพิ่มปริมาณในข้าวโพดพบว่ามีเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่สามารถเข้าอยู่อาศัยและเพิ่มปริมาณได้ดีในข้าวโพดจ านวน 8 ไอโซเลท ได้แก่ L2 L11 M21 M35 M43 D41 D46 และ D48 มีปริมาณสปอร์เท่ากับ 25.2 25 32.65 33.9 33.5 36.5 34 และ 34.4 ตามลำดับ และศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่สามารถเพิ่มปริมาณได้มีลักษณะคล้ายเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาในจีนัส Glomus
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research were to study on number of arbuscular mycorrhizal fungal (AMF) spores and root colonization in fruit trees rhizosphere. Soil samples were collected around the roots of longan 60 samples, durian 50 samples and mangosteen 43 samples in Lamphun, Lampang, Samut Sakhon, Ratchaburi, Kanchanaburi, Chaiyaphum Chanthaburi Uttaradit, Chumphon, Surat Thani and Nakhon Si Thummarat province, Thailand. Chemical properties of soil samples were analyzed including, pH, organic matter, available phosphorus, potassium, calcium and magnesium. The result showed that 5.993 2.542% 230.383 266.933 2,440.950 and 687.383 mg kg-1, respectively for soil samples from longan orchard, 4.567 2.523% 223.216 160.706 453.451 and 233.824 mg kg-1, respectively soil samples from durian orchard and 2.267% 4.572 93.279 180.791 133.930 and 494.349 mg kg-1, respectively for soil samples from mangosteen orchard. The AMF spores were the highest in Lampang province is 161.14 spores per 25 gram of soil and the highest percentage of root colonization show in Kanchanaburi province 66.43 percentages for soil samples from longan orchard. Number of spores and root colonization of soil samples from durian orchard show the highest in Surat Thani province were 211.25 spores per 25 gram of soil and 59.50 percentage, respectively. For soil samples from durian orchard showed the highest number of spores in Surat Thani province was 213.22 spores per 25 gram of soil and 79.45 percentages in Chumphon province. All type of spore were isolated and propagated in pot culture using corn as a host plant. L2 L11 M21 M35 M43 D41 D46 and D48 can propagated in pot culture had number of spores 25.2 25 32.65 33.9 33.5 36.5 34 and 34.4, respectively. The morphology of AMF was similar genus Glomus.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การคัดเลือกเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของไม้ผล
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2557
ผลของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตพืชไร่ การคัดเลือกเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชไร่ การคัดเลือกแบบภายในครอบครัวเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของปลานิลจิตรลดา ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การตอบสนองการคัดเลือกแบบภายในครอบครัวเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตในกุ้งก้ามกรามที่เลี้ยง ณ จังหวัดบุรีรัมย์ การตอบสนองการคัดเลือกเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของปลานวลจันทร์เทศรุ่นที่ 2 ผลของไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอ การคัดเลือกเชื้อราอาบัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน การปลูกหญ้าแฝกด้วยวัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆที่มีผลต่อการเจริญเติบโตไม้ผล ในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดอำนาจเจริญ ผลของการเสริมแหนเป็ด ในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิลแดง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก