สืบค้นงานวิจัย
การผลิตเอนไซม์สำหรับรักษาโรคโดยจุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกับพืช
ศรีกาญจนา คล้ายเรือง - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การผลิตเอนไซม์สำหรับรักษาโรคโดยจุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกับพืช
ชื่อเรื่อง (EN): Production of therapeutic enzymes by plant-associated microorganisms
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศรีกาญจนา คล้ายเรือง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Srikanjana Klayraung
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อทดสอบความสามารถในการผลิตเอนไซม์สาหรับรักษาโรคโดยเฉพาะ asparaginase, methioninase และ uricase ของแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับพืช โดยมีแบคทีเรียที่ใช้ศึกษาทั้งสิ้น 264 ไอโซเลต ที่แยกได้จากอ้อย ข้าว และงาขี้ม้อน ประกอบด้วยแบคทีเรียในจีนัสประกอบด้วยจีนัส Acinetobacter, Agrobacterium, Citrobacter, Chomobacterium, Enterobacter, Klebsiella, Pantoea, Pseudomonas, Serratia, Stenotrophomonas, Bacillus, Rummeliibacillus, Lysinibacillus และ Paenibacillus มีแบคทีเรียที่สามารถผลิตเอนไซม์ asparaginase จานวน 106 ไอโซเลต ผลิต methioninase 10 และ uricase 8 ไอโซเลต แบคทีเรียที่ผลิต asparaginase สูงที่สุด คือ Enterobacter radicincitans ซึ่งแยกได้จากอ้อย ในขณะที่ Bacillus pumilus และ Pseudomonas aeruginosa เอนโดไฟท์จากงาขี้ม้อนผลิต methioninase และ uricase ได้สูงที่สุด ตามลาดับมีค่ากิจกรรมของเอนไซม์ เท่ากับ 6.30 และ 0.79 U/ml ต่อมาศึกษาผลของปัจจัยต่างๆ ต่อการผลิตเอนไซม์สาหรับรักษาโรคของแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับพืชโดยศึกษาทีละปัจจัย โดยการใช้ Enterobacter radicincitans, Bacillus pumilus และ Pseudomonas aeruginosa สาหรับการศึกษาการผลิตเอนไซม์ asparaginase, methioninase และ uricase ตามลาดับ สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์ asparaginase ของเชื้อ Enterobacter radicincitans คือการใช้ pH เริ่มต้นของอาหาร 8 บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส โดยมีกลูโคสเป็นแหล่งคาร์บอน และใช้ peptone หรือ tryptone เป็นแหล่งไนโตรเจน ส่วนแหล่งคาร์บอน แหล่งของไนโตรเจน pH เริ่มต้นของอาหาร และอุณหภูมิ สาหรับการผลิต methioninase ของเชื้อ Bacillus pumilus คือ lactose, tryptone, pH7 และ 37 องศาเซลเซียส สาหรับ pH เริ่มต้นของอาหาร และอุณหภูมิ ที่เหมาะสมสาหรับการผลิต uricase คือ pH7 ที่ 37 องศาเซลเซียส ในขณะที่ไม่มีความจาเป็นต้องเติม แหล่งของคาร์บอน ส่วนแหล่งของไนโตรเจนที่ดีที่สุด คือ yeast extract ผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับพืชมีศักยภาพในการผลิตเอนไซม์รักษาโรคได้
บทคัดย่อ (EN): This study was aimed to screen for therapeutic enzymes activities, particulary asparaginase, methioninase, and uricase, of plant-associated bacteria. Total of 264 isolates of plant-associated bacteria from sugarcane, rice and perilla were used as tested organisms. These bacteria comprised of the genera of Acinetobacter, Agrobacterium, Citrobacter, Chomobacterium, Enterobacter, Klebsiella, Pantoea, Pseudomonas, Serratia, Stenotrophomonas, Bacillus, Rummeliibacillus, Lysinibacillus and Paenibacillus were investigated. It was found that 106 isolates of asparaginase producing bacteria, ten isolates of methiononase producing bacteria and eight isolates of uricase producing bacteria were obtained. The highest production of asparaginase was obtained from Enterobacter radicincitans isolated from sugarcane whereas Bacillus pumilus and Pseudomonas aeruginosa from perilla showed the maximum amount of methioninase and uricase at 6.30 and 0.79 U/ml, respectively. The effect of various conditions on therapeutic enzyme production by plant-associated bacteria was also investigated by adopting method of variation in one factor at a time. Enterobacter radicincitans isolated from sugarcane, Bacillus pumilus and Pseudomonas aeruginosa isolated from perilla were used to reveal the optimum conditions for asparaginase, methioninase and uricase production, respectively. The optimum conditions for L-asparaginase production by Enterobacter radicincitans were obtained using an initial pH of medium at 8, 30?C for incubation temperature, glucose as C source and peptone and tryptone as N source. The optimum C-source, N-source, nitial pH of medium and temperature for methioninase production by B. pumilus were lactose, tryptone, pH7 and 37 ?C, respectively. The optimum initial pH and temperature for uricase production were pH7 and 37?C while C source was not be necessary to add and the best N source was yeast extract. These results suggested that the plant-associated bacteria might be the effective candidate for therapeutic enzymes production.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-60-058
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: http://researchex.rae.mju.ac.th/research60/library/ab/MJU1-60-058.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตเอนไซม์สำหรับรักษาโรคโดยจุลินทรีย์ที่อยู่ร่วมกับพืช
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2560
เอกสารแนบ 1
ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่ผลิตจากแบคทีเรีย Methylobacterium radiotolerans Ed5-9 ร่วมกับสารที่มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ก่อโรคพืชที่ผลิตจากแอคติโนมัยสิท Streptomyces TMR 032 ต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อผ ผลของการเสริมส้มแขกในอาหารต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพซาก และการลดเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในไก่เนื้อ ผลของการเสริมจุลินทรีย์อีเอ็มหรือจุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกในอาหารสุกรต่อสมรรถภาพการผลิต การใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะ รวมทั้งปริมาณและคุณสมบัติของสิ่งขับถ่าย การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในการปลูกเอื้องแซะและการป้องกันและกำจัดโรคและศัตรู ผลการใช้วัสดุเพาะและเชื้อจุลินทรีย์ อี.เอ็ม. ต่อผลผลิตและคุณภาพของเห็ดเศรษฐกิจ 7 ชนิด การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดรำข้าวหอมนิลและไรซ์เบอรี ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์และกิจกรรมของเอนไซม์โพลิฟีนอลออกซิเดสในมะม่วงสุกตัดแต่งระหว่างการเก็บรักษา ความหลากหลายของเชื้อราเอนโดไฟท์จากพืชสกุลฮ่อม และการผลิตสารปฏิชีวนะ ผลของหัวเชื้อจุลินทรีย์ต่อการผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากน้ำทิ้งของโรงงานแป้งมันสำปะหลัง ศึกษาจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนอิสระและจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมบริเวณรากปาล์มน้ำมัน ศักยภาพของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่ก่อโรคกับแมลงในการควบคุมหนอนห่อใบข้าวในภาคเหนือตอนล่าง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก