สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรผักจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2547
สมนึก เหมมณี - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรผักจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2547
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมนึก เหมมณี
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรผัก จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2547 โดยมีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางลักษณะสังคม เศรษฐกิจและลักษณะการใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร (2) เพื่อศึกษาความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะการใช้เทคโนโลยี และการยอมรับการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรผัก (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร (4) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษซึ่งเข้าร่วมโครงการรณรงค์การผลิตพืชปลอดภัยจากสารพิษแห่งชาติและได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรผัก จังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2547 ในพื้นที่อำเภอปากพนัง พระพรหม เชียรใหญ่ หัวไทร และร่อนพิบูลย์ จำนวน 143 คน ใช้ประชากรที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 143 คนเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เกษตรกร ร้อยละ 65.0 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.2 ปี ร้อยละ 62.9 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.3 คน มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 14.3ไร่ ใช้พื้นที่ปลูกผักเฉลี่ย 3.32 ไร่ มีรายได้ทั้งหมดในครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 62,730 บาท ร้อยละ 79.7 มีหนี้สิน โดยมีหนี้สินเฉลี่ย 55,639.82 บาท ร้อยละ 53.1 มีหนี้สินกับกองทุนหมู่บ้าน มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.7 คน แรงงานที่ใช้ในการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษเฉลี่ย 2.2 คน มีประสบการณ์ในการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษเฉลี่ย 3.4 ปี ร้อยละ 98.6 ได้รับข้อมูลข่าวสารจากเกษตรตำบล จำนวนแหล่งข่าวสาร เฉลี่ย 2.6 แหล่ง เกษตรกรทั้งหมดได้รับการชักชวนเข้าร่วมโครงการจากเกษตรตำบล มีประสบการณ์ในการฝึกอบรมเฉลี่ย 1.93 ครั้ง ร้อยละ 86.7 จำหน่ายผลผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษให้แก่พ่อค้าคนกลาง รายได้ของเกษตรกรหลังนำเอาวิธีการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษมาใช้ ร้อยละ 86.0 มีรายได้เพิ่มขึ้น ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการปลูกผัก เกษตรกรมีความรู้ในระดับมาก ลักษณะเทคโนโลยี เกษตรกรร้อยละ 72.7 มีความยุ่งยากในประเด็น ใช้เชื้อไวรัส (NPV) เพื่อกำจัดหนอน เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ ในระดับมาก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัย จากสารพิษของเกษตรกร ได้แก่ ประสบการณ์ในการปลูกผัก แรงงาน ในครัวเรือน พื้นที่ถือครอง ทางการเกษตร จำนวนแหล่งข่าวสาร และความยุ่งยากของเทคโนโลยี เกษตรกรร้อยละ 81.1 มีปัญหาในประเด็นปัจจัยการผลิตมีราคาสูง เกษตรกรร้อยละ 62.2 มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลควบคุมราคาปัจจัยการผลิต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรผักจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2547
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปี 2547 การยอมรับของเกษตรกรที่มีต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดสมุทรสาคร การยอมรับของเกษตรกรต่อการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษในกรุงเทพมหานคร การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาการใช้เทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกร กรณีศึกษา : อำเภอเมือง อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย สภาพการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในจังหวัดหนองบัวลำภู

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก