สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์จากใยปอ : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านตอกแป้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
เกื้อกูล เชนประโคน - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์จากใยปอ : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านตอกแป้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เกื้อกูล เชนประโคน
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์จากใยปอกรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านตอกแป้น ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก สภาพการผลิต การตลาดของผลิตภัณฑ์จากใยปอ รวมถึงปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น ประชากรศึกษาคือสมาชิกกลุ่ม จำนวน 56 คน วิธีการศึกษาโดยการสำมะโนประชากรใช้แบบสัมภาษณ์สมาชิก ร่วมกับการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS ใช้ค่าสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2547 ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกมีอายุเฉลี่ย 44.5 ปี มีอาชีพหลักคือการทำนา มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 4-6 คน มีหุ้นส่วนในกลุ่มคนละ 2 หุ้น ในปี 2546 สมาชิกมีรายได้รวมเฉลี่ย57,714.2 บาท แบ่งเป็นรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 36,619.1 บาท รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 43,982.1 บาท สมาชิกปลูกปอคิดเป็นร้อยละ 8.9 ของสมาชิกทั้งหมด มีพื้นที่ปลูกปอรวม 7 ไร่ โดยส่วนใหญ่ปลูกปอระหว่าง 2-3 ไร่ ซื้อเมล็ดพันธุ์ปอจากกลุ่ม ปลูกในเดือนมีนาคม วิธีปลูกส่วนใหญ่ โดยการโรยเป็นแถว สมาชิกทั้งหมด ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ร้อยละ 80 เก็บเกี่ยวเมื่อปอมีอายุ 90 วัน ส่วนใหญ่นำปอไปแช่ในแหล่งน้ำ แช่ไว้นาน 30 วัน ผลผลิตปอแห้งเฉลี่ย 560 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ขายผลผลิตปอแห้งให้แก่กลุ่มเฉลี่ย 6,400 บาท และการจำหน่ายปอเปีย 1,400 บาทต่อปี สมาชิกกลุ่มร้อยละ 7.1 ได้รับความรู้จากการอบรมที่หน่วยงานราชการจัดให้สมาชิก ส่วนใหญ่ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากการดูโทรทัศน์ร้อยละ 82.1 มีส่วนร่วมในการผลิตสินค้าได้แก่การถักเปียจากใยปอ แต่ส่วนน้อยร้อยละ 8.9 มีส่วนร่วมในการจำหน่ายผลผลิต คณะกรรมการบริหารจะเป็นผู้นำสินค้าของกลุ่มไปจำหน่าย การจ่ายผลตอบแทนสมาชิกจะได้รับเงินทันทีที่นำผลผลิตใยปอที่ถักเปียแล้วมาขาย กลุ่มมีการประชุมทุกเดือน การทำบัญชีถูกต้อง สมาชิกพอใจการทำงานของคณะกรรมการบริหารกลุ่ม ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของกลุ่มเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การขาดความรู้ในการออกแบบ ตลาดมีน้อย ผลิตภัณฑ์มีคู่แข่งมากและขาดช่างฝีมือ ในปี 2546 สมาชิกมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ให้กลุ่มเฉลี่ย 3,419.6 บาท ต่อปี จากการศึกษามีข้อเสนอแนะคือ กลุ่มควรให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ และขายสินค้าให้มีประสิทธิภาพ สามารถขยายตลาดจำหน่ายได้เพิ่มขึ้น และประสานงานสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 5 ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น หรือแหล่งอื่น ๆ เพื่อพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกมากขึ้น
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: บ้านตอกแป้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์จากใยปอ : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านตอกแป้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย การวิเคราะห์ระบบการตลาดปลาช่อนในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การผลิตและการตลาดการแปรรูปน้ำนมข้าวโพดของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ปีงบประมาณ 2546 การผลิตและการตลาดน้ำผึ้งในจังหวัดขอนแก่น การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาดและการผลิตของผู้ผลิตผักอินทรีย์ในกลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านต้นเฮือด ตำบลบ้านแหวน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ การผลิตและการตลาดผักสดเพื่อการค้า อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก