สืบค้นงานวิจัย
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 2: การปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ให้มี THC ต่ำ และ เปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง
สริตา ปิ่นมณี - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 2: การปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ให้มี THC ต่ำ และ เปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Cultivation and Their Processing of Product from Hemp Subproject 2 Hemp improvement for low THC and high fiber
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สริตา ปิ่นมณี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนาเฮมพ์สายพันธุ์แท้ในรุ่นที่ 3 (S3) เพื่อศึกษาการนำเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับเพศของเฮมพ์ไปใช้ในงานปรับปรุงพันธุ์ เพื่อศึกษาเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับลักษณะเปอร์เซ็นต์เส้นใยและปริมาณ THC ของเฮมพ์และเพื่อศึกษาการจัดกลุ่มพันธุ์ตามช่วงการออกดอกของเฮมพ์ แบ่งการศึกษาวิจัยออกเป็น 4 งานทดลอง ประกอบด้วยงานทดลองที่ 1 การวิจัยและพัฒนาเฮมพ์สายพันธุ์แท้ (Inbred line) ในรุ่นที่ 3 (S3) ได้ปลูกทดลองเฮมพ์รุ่นที่ 2 (S2) ประเมินลักษณะ ผสมพันธุ์ระหว่างเครือญาติรุ่นที่ 2 จำนวน 53 สายพันธุ์และสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์รุ่นที่ 3 (S3) ได้จำนวน 266 สายพันธุ์ เฮมพ์ที่ปลูกเพื่อพัฒนาสายพันธุ์มีการกระจายตัวของลักษณะทุกลักษณะที่วัด มีฐานพันธุกรรมกว้างทั้งระหว่างสายพันธุ์และภายในสายพันธุ์ พบความสัมพันธ์ในทางบวกระหว่างทุกลักษณะที่ศึกษายกเว้นปริมาณเส้นใยได้คัดเลือก 200 สายพันธุ์ปลูกทดสอบในรุ่นลูก รุ่นที่ 3 (S3) เรียบร้อยแล้วซึ่งจะได้เก็บเกี่ยวในช่วงต้นเดือนสิงหาคม หลังจากนั้นจะได้ประเมินลักษณะและรายงานผลในรายงานฉบับสมบูรณ์ งานทดลองที่ 2 การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุล (DNA marker) สำหรับการแยกเพศไปใช้ในงานปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลชนิด SCAR ที่ออกแบบมาทั้งหมด 20 เครื่องหมายจาก 10 แถบดีเอ็นเอจากเครื่องหมายโมเลกุล RPAD ที่พบว่ามีความแตกต่างระหว่างเฮมพ์เพศผู้และเพศเมีย พบเครื่องหมายโมเลกุล SCAR marker P5_1 ที่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างดีเอ็นเอของเฮมพ์เพศผู้และเพศเมียได้ งานทดลองที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องหมายโมเลกุล และลักษณะเปอร์เซ็นต์เส้นใยสูงและTHC ต่ำ ได้ทดสอบเครื่องหมายโมเลกุลทั้ง 10 เครื่องหมายในประชากรเฮมพ์รุ่น S3 ที่มีปริมาณเปอร์เซ็นต์เส้นใยสูงและต่ำพบว่าไม่มีเครื่องหมายโมเลกุลใดเลยที่สร้างแถบดีเอ็นเอที่แตกต่างระหว่างเฮมพ์ที่มีปริมาณ THC สูงและต่ำ และเมื่อนำเครื่องหมายโมเลกุลที่ใช้สำหรับบ่งบอกชนิดของ Cannabis ระหว่าง drug type และ fiber type ได้แก่ DTY2 พบว่าเฮมพ์ที่ใช้ในการศึกษานี้แสดงแถบดีเอ็นเอที่เป็นชนิดของ fiber type สำหรับลักษณะปริมาณเปอร์เซ็นต์เส้นใยสูงและต่ำ เมื่อนำสายพันธุ์ที่มีปริมาณเส้นใยสูงสุด 8 สายพันธุ์แรก และสายพันธุ์ที่มีปริมาณเส้นใยต่ำสุด 8 สายพันธุ์สุดท้ายมาทดสอบ พบว่าเครื่องหมายโมเลกุล Cs303 และ Cs304 แสดงแถบดีเอ็นเอที่มีความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณเปอร์เซ็นต์เส้นใยสูงและต่ำ การทดลองที่ 4 การศึกษาและแบ่งกลุ่มพันธุ์เฮมพ์ตามช่วงเวลาของการออกดอกของเฮมพ์ ได้คัดเลือกเฮมพ์รุ่นที่ 3 (S3) ปลูกประเมินอายุออกดอก 200 สายพันธุ์เปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐาน RPF1 RPF2 RPF3 และ RPF4 พบการกระจายตัวของลักษณะการออกดอกภายในสายพันธุ์ ส่วนใหญ่พบออกดอกทั้งต้นตัวผู้และและตัวเมีย (71%) ที่เหลือออกดอกเฉพาะต้นตัวผู้หรือต้นตัวเมีย ได้จัดกลุ่มตามช่วงอายุ เทียบกับพันธุ์เปรียบเทียบได้ 4 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1-2 ออกดอกเร็วกว่าพันธุ์เปรียบเทียบประมาณ 60-90 วันพบ 20% ส่วนใหญ่ 80% ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 4 ออกดอกในช่วงเดียวกับพันธุ์เปรียบเทียบที่ 120-140 วัน หรือกลุ่มที่ 3 ซึ่งออกดอกเร็วกว่าประมาณหนึ่งเดือน
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to research and develop inbred lines of hemp. There were 4 experiments consist of; (1) production and evaluation of S3 lines (2) developing SCAR markers for sex determination for hemp breeding program (3) relationship between DNA markers and THC content and percent fiber traits, (4) classification of hemp lines into different flowering groups. For Experiment 1, 53 S2 lines were grown, sib mating and 266 S3 lines were harvested. The S2 generation showed large range of segregation in all agronomic characters. Large phenotypic diversities were found, both within and between lines. Significant positive correlation coefficients were found between all agronomic characters except fiber content. Two hundred S3 lines were selected and sown. Lines will be harvested at early August and to be evaluated further. For Experiment 2, twenty SCAR markers were tested to amplify the DNA of 10 female plants and 10 male plants. The results showed that only one out of 20 SCAR markers could amplify male plants DNA not female plants. The SCAR marker is P5_1. Experiment 3 aims to screen the SSR markers for studying relationship between DNA markers and THC content and percent fiber traits, 50 SSR markers were used to generate DNA fingerprint. The result showed that the three markers – Cs303 and Cs304 showed DNA polymorphism between 8 lines of high and 8 lines of low fiber content. While all 50 SSR markers show monomorphic between high and low THC content. Furthermore, we used DNA marker that use to identify drug and fiber types of Cannabis we found that all the hemp samples in this study showed fiber type DNA pattern which consistent with the THC content of all samples are low as 0.3%. In Experiment 4, two hundred selected hemp lines were sown. Different flowering patterns within lines were found. Most lines (71%) contained both male and female plants with flowering. The 29% of lines had either only male or female plants at flowering within line. Lines were classified as compared with the standard check varieties into four groups. Group 1 and 2 flower about 60-90 days earlier than checks and accounted for 20%. Most lines (80%) were placed into group 3 and 4 which were flowering at the same period of checks (120-140 days after sowing) or about one month earlier than check varieties.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 2: การปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ให้มี THC ต่ำ และ เปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 4: การสร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ โครงการปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ให้มี THCต่ำ และ เปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงเครื่อง THC test kit โครงการปรับปรุงพันธุ์เฮมพ์ให้มี THC ต่ำ และ เปอร์เซ็นต์เส้นใยสูง ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๓ : โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่1 การพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 5: การวิจัยและพัฒนาเฮมพ์พันธุ์ลูกผสม ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 2 : การวิจัยและพัฒนาเฮมพ์พันธุ์ลูกผสม บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก