สืบค้นงานวิจัย
การทดลองเลี้ยงปลาหมอในปอซีเมนต์
สุขุม ปะทักขินัง - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: การทดลองเลี้ยงปลาหมอในปอซีเมนต์
ชื่อเรื่อง (EN): EXPERIMENT ON REARING OF CLIMBING PERCH (Anabas testudineus, Bloch) IN CEMENT TANK
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุขุม ปะทักขินัง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วรรณนัฑ หิรัญชุฬหะ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Climbing perch (Anabas testudineus, Bloch), culture, stocking
บทคัดย่อ: การเลี้ยงปลาหมอในบ่อซีเมนต์ที/อัตราความหนาแน่นแตกต่างกน 3 ระดับ ได้แก่ 50, 100 และ 150 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร ดําเนินการในบ่อซีเมนต์ขนาดเส้นผานศูนย์กลาง 2 เมตร ความสูง 0.5 เมตร จํานวน 9 บ่อ ที่ระดับน้ำ 0.45 เมตร ที้สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยภูมิ ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 2546 ระยะเวลาทดลอง 150 วัน โดยให้อาหารสําเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำโปรตีนไม่ต่ำกว่า 30% วางแผนการการทดลองแบบสุ่มตลอด จํานวนชุดทดลองละ 3 ซ้ำ ปลาหมอมีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 3.85±0.68 กรัม ความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 5.30±0.32 เซนติเมตร เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบวาปลาหมอมีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 12.25±0.3 5,11.03±0.40 และ 10.30±0.30 กรัม และความยาวสุดท้ายเฉลี่ย 9.61±0.76, 8.91±0.71 และ 8.76±0.76 เซนติเมตร น้ำหนักเพิ่มเฉลี่ย 8.43± / 0.33, 7.17±0.28 และ 6.44±0.38 กรัมต่อตัว ความยาวเพิ่มเฉลี่ย 4.31±0.45,3.61±0.39 และ 3.46±0.44 เซนติเมตรต่อตัว อัตราการเจริญเติบโตจําเพาะทางด้านน้ำหนักมีค่า 0.78± 0.04,0.70±0.05 และ 0.65±0.05 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจําเพาะทางด้านความยาวมีค่า 0.40± 0.05, 0.35±0.05 และ 0.33±0.06 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ตามลําดับ ที่อัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อลูกบาศก์เมตรมีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย ความยาวสุดท้ายเฉลี่ย น้ำหนักเพิ่มเฉลี่ย ความยาวเพิ่มเฉลี่ย อัตราการเจริญเติบโตจําเพาะทางด้านน้ำหนัก และอัตราการเจริญเติบโตจําเพาะทางด้านความยาวไมแตกต ่ ่างทางสถิติ (p>0.05) กับอัตราความหนาแน่น 100 ตัวต่อลูกบาศก์เมตร แต่แตกต่ างกับอัตราความหนาแน่น 150 ตัวต่อลูกบาศก์เมตรอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการรอดตายเฉลี่ยมีค่า 97.87±0.91, 96.80±0.80 และ 95.13±0.54 เปอร์เซ็นต์ อัตราการแลกเนื้อมีค่าเฉลี่ย 2.85± 0.17, 2.42±0.14 และ 2.25±0.69 ตามลําดับ โดยอัตราการรอดตายและอัตราการแลกเนื้อไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ต้นทุนการผลิตมีค่าเท่ากับ 357.32, 264.33 และ 245.44 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อพิจารณาจากการเจริญเติบโตและต้นทุนการผลิตพบว่าอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาหมอในบ่อซีเมนต์เท่ากับ 100 ตัวต่อลูกบาศก์เมตรทั้งนี้การเลี้ยงปลาหมอในบ่อซีเมนต์อาจยังไม่เหมาะสมที่จะส่งเสริมเป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2549
เอกสารแนบ: http://www.inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=259
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดลองเลี้ยงปลาหมอในปอซีเมนต์
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2549
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของการเลี้ยงปลาหมอไทยในกระชังในที่ดินพรุ จังหวัดนราธิวาส การเลี้ยงปลาหมอในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน การวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้การเลี้ยงปลาหมอไทยแปลงเพศร่วมกับการเลี้ยงปลาดุกอุย การประยุกต์ใช้พืชท้องถิ่นพัฒนาสูตรอาหารเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปลาหมอเชิงพาณิชย์ การประยุกต์ใช้พืชท้องถิ่นพัฒนาสูตรอาหารเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปลาหมอเชิงพาณิชย์ การศึกษาการเลี้ยงปลานิลด้วยความหนาแน่นสูงในบ่อคอนกรีตที่มีระบบน้ำไหลเวียนแบบปิด การศึกษาการเลี้ยงปลานิลด้วยความหนาแน่นสูงในบ่อคอนกรีตที่มีระบบน้ำไหลเวียนแบบปิดโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ศึกษาการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis De Man, 1888) ในบ่อซีเมนต์ในระดับความหนาแน่นและอัตราส่วนเพศแตกต่างกัน การศึกษาอัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตายของการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไมในความหนาแน่นที่ต่างกันในน้ำความเค็มต่ำ การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการเลี้ยงปลาหมอร่วมกับปลานิล

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก