สืบค้นงานวิจัย
การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน
สมมาต แสงประดับ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมมาต แสงประดับ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาระบบตลาดยางในภาคใต้ตอนบนในปี 2536-2537 โดยการสำรวจและวิเคราะห์ตลาดยาง 6 จังหวัด จำนวนตัวอย่างเจ้าของสวนยาง 168 ราย และพ่อค้ายาง 31 ราย ผลการศึกษาพบว่า ราคายางในช่วงดังกล่าวตกต่ำ รายได้ของชาวสวนยางรายย่อยไม่พอกับรายจ่าย รัฐบาลได้ประกันราคายางที่ตลาดประมูลยางทุกจังหวัด ราคายางที่ตลาดประมูลเฉลี่ย 3 ปี สูงกว่าตลาดท้องถิ่นกิโลกรัมละ 0.33 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับราคายางแผ่นรมควัน แต่ชาวสวนส่วนใหญ่ยังขายยางให้กับพ่อค้าคนกลางเพราะมีความสะดวกมากกว่า ส่วนเหลื่อมการตลาดจากร้านค้ายางถึงโรงงานกิโลกรัมละ 0.55 บาท โดยมีต้นทุนการตลาดกิโลกรัมละ 0.36 บาท การศึกษาได้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลในการแทรกแซงตลาดยาง ว่ารัฐควรแทรกแซงในระดับผู้ส่งออกแล้วเก็บปริมาณยางส่วนเกินไว้และให้นำออกขายแข่งกับเอกชน ส่วนในตลาดท้องถิ่นควรส่งเสริมการค้าเสรีและใช้มาตรการจัดตลาดกลางให้ทั่วถึง ปรับปรุงการดำเนินงานให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับชาวสวนยางโดยทั่วไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน
การยางแห่งประเทศไทย
2547
การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน การปรับตัวของระบบการผลิตยางพาราต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเขตภาคใต้ตอนบน สำรวจการเลี้ยงสัตว์ในสวนยางภาคใต้ การศึกษาชนิดของชันโรง (Trigona spp.) ในภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทย . การใช้ประโยชน์ข่าวสารการเกษตรจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางของชาวสวนยางพาราในจังหวัดลำปาง อิทธิพลของการปลูกหวายตะค้าทองและพืชร่วมบางชนิดที่ใช้เป็นค้างต่อการเจริญเติบโต ของยางพาราในเขตภาคใต้ตอนบน การเคลื่อนไหวของราคายางและสถานการณ์ตลาดยาง ทดสอบการควบคุมวัชพืชในสวนยางโดยวิธีการเลี้ยงแกะในเขตภาคใต้ตอนบน เศรษฐกิจการปลูกพืชแซมยางในสวนยางปลูกแทนขนาดเล็กในเขตภาคใต้ตอนบน ศึกษาหาชนิดจุลินทรีย์ดินอิสระที่สามารถย่อยสลายหินฟอสเฟตในสภาพดินปลูกยาง ในเขตภาคใต้ตอนบนให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อยาง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก