สืบค้นงานวิจัย
ความสัมพันธ์ของอิทธิพลของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การต้านทานโรค และคุณภาพเนื้อในไก่พื้นเมือง
อมรรัตน์ โมฬี (ขุนทองเอก) - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ของอิทธิพลของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การต้านทานโรค และคุณภาพเนื้อในไก่พื้นเมือง
ชื่อเรื่อง (EN): The relationship of effect of genes associated with growth, disease resistance and meat quality in native chicken
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อมรรัตน์ โมฬี (ขุนทองเอก)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิทธวัช โมฬี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือเพื่อศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ของรูปแบบและอิทธิพลร่วมของยีน insulin - like growth factor I, II (IGF-I, II) , ยีน Micromolar calcium activated neutral protease (CAPN1) และยีน Major Histocompatibility Complex (MHC ในไก่พื้นเมืองต่อลักษณะการเจริญเติบโต คุณภาพเนื้อ และ ความสามารถในการต้านทานโรค โดยเก็บตัวอย่างเลือดจากไก่พื้นเมืองเหลืองหางขาวจำนวน 560 ตัวอย่าง ศึกษา allele และ genotype ของยีน IGF -/, I ด้วยเทคนิค PCR- RFLP ศึกษารูปแบบของยีน CANP1 ด้วยเทคนิค PCR - SSCP และศึกษารูปแบบของยีน MHC class I! ด้วยเทคนิค PCR ศึกษาสภาพ Linkage disequilibrium ระหว่างยืน IGF-I, || CAPN1 และยีน MHC ด้วย GENEPOP version 3.4 โดยใช้ General Linear Model และวิเคราะห์หาค่า อิทธิพลต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่ายืน IGF-I ไม่มีศักยภาพในการเป็นยีนเครื่องหมายในประซากรไก่พื้นเมืองเหลือง หางขาว เนื่องจากมีความถี่ allele A ต่ำมาก (0.02) จึงตัดยืนดังกล่าวออกจากการศึกษาส่วนยีน IGF-I 2 allele (A, B) และ 3 genotype (AA, AB, BB) โดยความถี่ allele A, B และ genotype AA, AB, BB คือ 0.501, 0.499, 0.25, 0.50, 0.25 ตามลำดับ ยืน CAPN1 มี 2 allele (A1, A2) และ 3 genotype (A1A1, A1A2, A2A2) โดยความถี่ allele A1, A2 และ genotype A1A1, A1A2, A2A2 คือ 0.665, 0.335, 0.59, 0.15, 0.26, ตามลำดับ และยืน MHC มี SNP จำนวน 7 ตำแหน่ง คือ C125T, A126T, C209G, C242T, A243T, C244T, และ A254T โดยทุก ตำแหน่งของ SNPs มี 3 genotypes ผลการศึกษาครั้งนี้ไม่พU Linkage disequitibrium ของยีน IGF-I, I, CAPN1 และ MHC ยืน IGF-I! พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่าง genotype กับน้ำหนักตัว ยืน CAPN1 WU ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่าง genotype กับน้ำหนักตัว, 9 ซากสากล และ drip loss ยีน MHC ในประเด็น เรื่องการเจริญเติบโตพบความสัมพันธ์ระหว่าง SNPs C125T, A126T, , C242T, C244T, และ A254T กับน้ำหนักตัว ผลการศึกษาพบความแตกต่างทางสถิติระหว่าง SNPร ของยืน MHC ต่อค่า log (10) titer ของโรคนิวคลาสเชิล โดยพบความแตกต่างทางสถิติที่ SNPs C125T ที่อายุ 4 สัปดาห์, SNPs C209G ที่อายุ 4 เดือน และ SNPs A254T ที่อายุ 6 และ 7 เดือนตามลำดับ ผลการศึกษานี้สามารถสรุปได้ว่ายืน IGF-I ไม่สามารถใช้เป็นยีนเครื่องหมายในไก่ พื้นเมืองเหลืองหางขาวได้ ยืน IGF-I และ CAPN1 นั้นสามารถใช้เป็นยีนเครื่องหมายเพื่อพัฒนาลักษณะการ เจริญเติบโต นอกจากนี้ ยืน CAPN1 ยังสามารถใช้เป็นยีนเครื่องหมายเพื่อพัฒนาลักษณะ 9 ซากสากล และ drip loss ยืน MHC class I สามารถใช้เป็นนเครื่องหมายเพื่อช่วยคัดเลือกลักษณะความสามารถในการต้านทานโรค และการเจริญเติบโตในไก่พื้นเมืองเหลืองหางขาวได้ คำสำคัญ การคัดเลือก, การเจริญเติบโต, การปรับปรุงพันธุ์, ไก่พื้นเมือง, เครื่องหมายทางพันธุศาสตร์, ยีน insulin-like growth factor I, II, Micromolar calcium activated neutral protease (CAPN1), Major Histocompatibility Complex (MHC)
บทคัดย่อ (EN): The objectives of the study were to study the effect of insulin - like growth factor I (IGF-I) gene, insulin - like growth factor II (IGF-I) gene, Micromolar calcium activated neutral protease (CAPN1) gene, and major histocompatibility complex (MHC) class Il gene on growth performance traits, meat quality and resistance to Newcastle disease virus of the Thai indigenous chicken Leung Hang Khao (LHK). Five hundred and sixty chickens were used for the study. Genotyping was performed on blood samples using Polymerase chain reaction- restriction fragment length polymorphism (PCR-RFLP) was used to identify genotype of IGF-I and IGF-II gene. Polymerase chain reaction single-strand conformation polymorphism (PCR- SSCP was used to identify genotype of CAPN 1 gene, and Polymerase chain reaction sequencing was used to classify single nucleotide polymorphisms of class lI MHC. GENEPOP version 3.4 was used to estimate linkage disequilibrium between IGF-I gene, IGF-II gene, CAPN1 gene, and MHC gene. A general linear model was used to estimate the effect of genes on the traits. The IGF1 gene was not suitable for use as a gene marker for LHK population since allele A showed a very low frequency (0.02). Therefore, the gene was eliminated from the study. Regarding IGF2 gene, two alleles (A, B) and three genotypes (AA, AB, BB) were observed. The frequency of alleles (A, B) and 3 genotypes (AA, AB, BB) were 0.501, 0.499, 0.25, 0.50, 0.25, respectively. Two alleles (A1, A2) and 3 genotypes (A1A1, A1A2, A2A2) were found in CAPN1 gene. The frequency of alleles were (A1, A2) and 3 genotypes (A1A1, A1A2, A2A2) 0.665, 0.335, 0.59, 0.15, 0.26, respectively. Seven single nucleotide polymorphisms were identified in MHC gene: C125T, A126T, C209G, C242T, A243T, C244T, and A254T. Three genotypes were found all SNPs in MHC gene. The results showed that there was no significant LD between any of the genes. For IGF-II gene, the significant relationship between genotype and body weight were detected. For CAPN1 gene, the significant relationship between genotype and body weight, carcass yield, and meat quality (drip loss) were detected. For MHC gene, the significant relationship between SNPs C125T, A126T, C242T, C244T, A254T and body weight were detected. The results showed that there was significant association between titer of Newcastle disease virus and SNPs C125T (4 weeks), SNPs C209G (4 months), and SNPs A254T (6, 7 months), respectively. The results suggest that IGF-I gene cannot be gene marker for LHK chicken. IGF-II and CAPN1 genes have potentially to be used as genetic markers in LHK chickens to improve growth. Moreover, the results suggested that CAPN1 gene can be gene marker for improve carcass yield and meat quality ( drip loss). The results showed that class II MHC gene have the potential to be gene markers for improvement resistance and growth of LHK chicken.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสัมพันธ์ของอิทธิพลของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การต้านทานโรค และคุณภาพเนื้อในไก่พื้นเมือง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
30 กันยายน 2555
ยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำ ผลของสถานที่ การศึกษา สายพันธุ์ และวัตถุประสงค์การผลิตในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองต่อรายได้ของเกษตรกรในวังทอง เมือง บางระกำ และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อิทธิพลของยีน IGF-II ต่อลักษณะการเจริญเติบโต คุณภาพซากและคุณภาพเนื้อของสุกรพันธุ์กระโดน ศึกษาสภาวะการติดเชื้อ Brachyspira ในไก่ รูปแบบของยีน Major Histocompatibility Complex ต่อลักษณะความสามารถในการต้านทานโรคในไก่พื้นเมืองไทย การใช้ประโยชน์ของข้าวไม่ขัดสีต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และคุณภาพเนื้อของไก่เนื้อ อิทธิพลของสายพันธุ์ ต่อคุณภาพเนื้อ องค์ประกอบของกลิ่น และกิจกรรมของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ของไก่พื้นเมือง ไก่ลูกผสมประดู่หางดำเชียงใหม่ และไก่โรดไอแลนด์เรด การศึกษาคุณภาพเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมือง (ชี) ความสัมพันธ์ของยีน PIT1 MSTN และ TGF-β3 กับน้ำหนักตัว ขนาดรอบอกและความกว้างอกในไก่พื้นเมืองพันธุ์ชี เคเคยู 12 และไก่พื้นเมืองพันธุ์ประดู่หางดำ มข. 55 การใช้ microsatellite เป็นเครื่องหมายช่วยในการคัดเลือก heterosis ของลักษณะการเจริญเติบโตในไก่เนื้อลูกผสมพื้นเมือง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก