สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตและการตลาดละมุดของเกษตรกรในตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
สุนทร มีสิงห์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตและการตลาดละมุดของเกษตรกรในตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุนทร มีสิงห์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องสภาพการผลิตละมุดของเกษตรกรตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกร สภาพการผลิตและการตลาด ปัญหาและความต้องการในการผลิตและการตลาดละมุดของเกษตรกร ประชากรเป็นเกษตรกรผู้ปลูกละมุด จำนวน 145 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้ค่าสถิติได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรร้อยละ 52.41 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.98 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมรสแล้ว สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.28 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.82 คน พื้นที่ถือครองเฉลี่ย 21.00 ไร่ พื้นที่ถือครองการเกษตรเป็นของตนเอง ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรมีประสบการณ์เฉลี่ย 9.60 ปี ได้รับความรู้การปลูกละมุดเพียงร้อยละ 14.48 ขนาดพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 6.44 ไร่ ดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ร้อยละ 50.34 เป็นที่ราบ ร้อยละ 51.03 ปลูกละมุดพันธุ์มะกอก ส่วนใหญ่ปลูกโดยใช้ต้นพันธุ์จากกิ่งตอน โดยซื้อพันธุ์มาปลูก ลักษณะการปลูกเป็นสวนเดี่ยว ใช้ระยะปลูกละมุด 6 x 6 เมตร จำนวนต้นเฉลี่ย 49.74 ต้น/ไร่ อาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้น้ำโดยสายยาง ร้อยละ 83.45 มีการให้ปุ๋ย โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราการใส่ปุ๋ยเฉลี่ย 74.27 กิโลกรัม ร้อยละ 57.24 มีการตัดแต่งกิ่ง ศัตรูพืชที่พบ ได้แก่หนอนเจาะลำต้น หนอนเจาะผลละมุด เพลี้ยแป้ง ส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูละมุด กำจัดวัชพืชโดยใช้เครื่องตัดหญ้า เก็บเกี่ยวละมุดโดยใช้มือเก็บ ร้อยละ 85.52 ล้างละมุดโดยใช้มือ ร้อยละ 62.76 มีการย้อมสีละมุด ร้อยละ 53.79 ขายละมุดแบบเหมาสวน ร้อยละ 62.07 จำหน่ายผลผลิตที่ตลาดในหมู่บ้าน เกษตรกรมีปัญหาการปลูกละมุดในระดับมาก คือ ผลผลิตคุณภาพต่ำ มีความต้องการระดับปานกลาง ได้แก่ การเพิ่มผลผลิต การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การตัดแต่งกิ่ง การบรรจุหีบห่อ/การย้อมสี แหล่งละมุดพันธุ์ดี และแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ข้อเสนอแนะควรสนับสนุนวิชาการเกี่ยวกับการปลูกและการตลาดละมุด สนับสนุนให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มเพื่อร่วมกันวางแผนผลิต สนับสนุนแหล่งเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยต่ำ และเงินทุนในรูปกองทุนหมุนเวียน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตและการตลาดละมุดของเกษตรกรในตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตและการตลาดมะม่วงของเกษตรกรในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดพริกของเกษตรกร อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา การผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกรตำบลหนองหัวแก อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาสภาพการผลิตและการตลาดผักพื้นบ้าน สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิต การตลาดมะขามเปรี้ยวของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก