สืบค้นงานวิจัย
ความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และลูกปลาวัยอ่อน บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง
ณรงค์ศักดิ์ คงชัย - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และลูกปลาวัยอ่อน บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง
ชื่อเรื่อง (EN): Relationship of water quality phytoplankton zooplankton and fish larvae in the southern Gulf of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณรงค์ศักดิ์ คงชัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Narongsak Khongchai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การสำรวจคุณภาพน้ำ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และลูกปลาวัยอ่อน บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง จำนวน 23 สถานี ในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม พฤษภาคม และสิงหาคม ปี 2554 แบ่งเป็นเขตสำรวจ 3 เขต คือ เขตที่ 7 ตั้งแต่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี ถึงอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตที่ 8 ตั้งแต่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ถึงอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และเขตที่ 9 ตั้งแต่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ถึงอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ผลการสำรวจพบว่า ความลึกน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 10.0-48.9 เมตร ความโปร่งแสงมีค่าอยู่ในช่วง 1.5-25.5 เมตร อุณหภูมิน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 27.2-31.8 องศาเซลเซียส ความเค็มมีค่าอยู่ในช่วง 31.1-34.1 ส่วนต่อพันส่วน ความเป็นกรด-ด่างมีค่าอยู่ในช่วง 7.97-8.38 ออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 5.18-7.95 มิลลิกรัมต่อลิตร สารแขวนลอยทั้งหมดมีค่าอยู่ในช่วง 11.4-41.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเร็วกระแสน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 0-820 เซนติเมตรต่อวินาที ไนไตรท์มีค่าต่ำมากวัดไม่ได้จนถึง 0.012 มิลลิกรัมต่อลิตร ไนเตรทมีค่าต่ำมากวัดไม่ได้จนถึง 0.170 มิลลิกรัมต่อลิตร แอมโมเนียมีค่าต่ำมากวัดไม่ได้จนถึง 0.048 มิลลิกรัมต่อลิตร และฟอสเฟตมีค่าต่ำมากวัดไม่ได้จนถึง 0.193 มิลลิกรัมต่อลิตร ผลการวิเคราะห์รูปแบบการจัดกลุ่มปัจจัยคุณภาพน้ำเชิงพื้นที่ จัดได้ 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่1 บริเวณตั้งแต่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถึงอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา กลุ่มที่ 2 บริเวณตั้งแต่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ถึงอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส กลุ่มที่ 3 `บริเวณปากอ่าวนครศรีธรรมราช กลุ่มที่ 4 บริเวณอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และกลุ่มที่ 5 บริเวณห่างฝั่งของอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช การจัดกลุ่มปัจจัยคุณภาพน้ำเชิงเวลา จัดได้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เดือนกุมภาพันธ์ กลุ่มที่สอง เดือนมีนาคม กลุ่มที่สาม เดือนสิงหาคม และกลุ่มที่สี่ เดือนพฤษภาคม
บทคัดย่อ (EN): Investigation on water quality and marine resources from 23 stations of Southern Gulf of Thailand was conducted monthly in February, March, May and August 2011. Sampling zone was grouped into 3 areas i.e. area VII: Samui Island, Surat Thani Province - Tasala District, Nakhon Sri Thammarat Province, area VIII: Tasala District, Nakhon Sri Thammarat Province - Sathing Phra District, Songkhla Province, area IX: Sathing Phra District, Songkhla Province - Takbai District, Narathiwat Province. The results was as follows: water depth was 10.0-48.9 meter, water transparency was 1.5-25.5 meter, temperature was 27.2-31.8 oC, salinity was 31.1-34.1 ppt., pH was 7.97-8.38, dissolved oxygen was 5.18-7.95 mg/l, total suspended solid was 11.4-41.2 mg/l, current speed was 0-820 cm/sec, nitrite was ND-0.012 mg/l, nitrate was ND-0.170 mg/l, ammonia was ND-0.048 mg/l and phosphates was ND-0.193 mg/l. From PCA analysis, water quality factors could be classified into 5 groups by area i.e. group 1: nearshore and offshore areas from Samui Island, Surat Thani Province to Singhanakorn District, Songkhla Province group 2: nearshore and offshore areas from Ranod District, Songkhla Province to Takbai District, Narathiwat Province group 3: mouth of Nakhon Sri Thammarat bay group 4: nearshore area around Sathing Phra District, Songkhla Province and group 5: offshore area around Pak Phanang District, Nakhon Sri Thammarat Province. Four groups were categorized by time: group 1 was February, group 2 was March, group 3 was August and group 4 was May.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
พื้นที่ดำเนินการ: เขตที่ 7 ตั้งแต่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี ถึงอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตที่ 8 ตั้งแต่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ถึงอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และเขตที่ 9 ตั้งแต่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ถึงอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำ แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และลูกปลาวัยอ่อน บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง
กรมประมง
30 กันยายน 2555
กรมประมง
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำและปริมาณแพลงก์ตอนบริเวณอ่าวมะนาว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การใช้แพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์เป็นดัชนีชี้คุณภาพน้ำทางชีวภาพบริเวณแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบางพระจังหวัดชลบุรี ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช และความสัมพันธ์ระหว่างแพลงก์ตอนพืชกับคุณภาพน้ำในแม่น้ำจันทบุรี การสะสมปริมาณสารสีในลูกปลาแมนดาริน,Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เมื่ออนุบาลด้วยแพลงก์ตอนสัตว์ที่เลี้ยงด้วยแพลงก์ตอนพืชต่างชนิด ความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในแม่น้ำน่านตอนบน การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำและแพลงก์ตอนพืชในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนาไม (Litopenaeus Vannamei) เครื่องเฝ้าระวังเตือนแพลงก์ตอนพืชมีพิษ และการบริหารจัดการคุณภาพน้ำเพื่อการชลประทานหรืออื่น ผลของการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนที่มีต่อทรัพยากรชีวภาพทางทะเลบริเวณอ่าวทุ่งคา-สวี จังหวัดชุมพร วัชพืชน้ำวงศ์สาหร่ายไฟ (Characeae) กับสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช การควบคุมการงอกของเมล็ดและดัชนีชีวภาพชี้วัดคุณภาพน้ำ ปริมาณแพลงก์ตอนพืช คุณภาพน้ำ และปริมาณจีออสมินในบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม (Litopenaeus vannamei) แบบพัฒนาที่ระดับความเค็มแตกต่างกัน
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก