สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสโดยใช้วัสดุเหลือทิ้งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
กิตติกร สาสุจิต์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสโดยใช้วัสดุเหลือทิ้งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
ชื่อเรื่อง (EN): Feasibility Ethanol Cellulose Production from Wastes Residues
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กิตติกร สาสุจิต์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาการนำวัสดุเหลือทิ้งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาผลิตเป็น เอทานอล โดยคัดเลือกวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร วัชพืช และไม้โตเร็ว ซึ่งจากผลการศึกษาเลือก วัตถุดิบเพื่อใช้ในการศึกษาการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลส ได้แก่ ได้แก่ ฟางข้าว ตอซังข้าว ต้น ข้าวโพด และซังข้าวโพด จากผลการศึกษาพบว่า การปรับสภาพด้วยกรดซัลฟูริกเจือจางความเข้มข้น ร้อยละ 0.25 โดยปริมาตร ที่อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส ให้ปริมาณเซลลูโลสมากกว่าร้อยละ 90 เมื่อ นำไปย่อยด้วยกรดเจือจางซัลฟูริกเจือจาง และเอนไซม์ Cellulase Aspergillus niger C1184 พร้อมหมัก ด้วยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae พบว่ามีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ลดลงตามระยะเวลาการหมัก โดยที่ เอนไซม์จะให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงกว่าการย่อยด้วยกรดซัลฟูริกเจือจางเฉลี่ยร้อยละ 26.76 เมื่อนำ สารละลายน้ำตาลที่ปรับค่าความเป็นกรดด่างก่อนหมักเท่ากับ 4.5 พบว่าการย่อยด้วยกรดซัลฟูริกเจือจาง จะให้ปริมาณเอทานอล 0.55 – 1.50 กรัมต่อลิตร ส่วนการย่อยด้วยเอนไซม์จะให้ปริมาณเอทานอล 0.37 – 1.66 กรัมต่อลิตร ที่ระยะเวลาการกลั่น 48 ชั่วโมง ในส่วนของต้นทุนการผลิตเมื่อใช้เอนไซม์ทาง การค้าจะมีต้นทุนสูงกว่าแบบการใช้กรดเจือจางในขั้นตอนการย่อยสลายเซลลูโลสให้เป็นน้ำตาลรีดิวซ์
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this research is to study the feasibility ethanol cellulose production from wastes residues, weed and fast growing tree. The case study used the wastes residue were rice straw, rice stubble, corn stalk and corn cob that can be used to produce ethanol from cellulose. The result demonstrates that the cellulose of more than 90% was obtained when pretreated with 0.25 % (v/v) sulfuric acid, at 110 ?C. The reducing sugar is found to be reduced with the Saccharomyces cerevisiae fermentation time and the hydrolysis by Cellulase Aspergillus niger C1184 enzyme provides the reducing sugar approximately 26.76% higher than that of the sulfuric acid. The reducing sugar solution was adjusted to pH 4.5 and the ethanol produced by the sulfuric acid hydrolysis was 0.55 – 1.50 g/l and enzyme hydrolysis was 0.37 – 1.66 g/l at 48 hours of distillation. The fabrication cost from enzyme hydrolysis is higher than that of the sulfuric acid hydrolysis.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: วิทยาลัยพลังงานทดแทน
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-55-002
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 330,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2557/kittikorn_sasujit_2556/abstract.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเอทานอลจากเซลลูโลสโดยใช้วัสดุเหลือทิ้งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพชนิดไมโครอิมัลชั่นจากน้ำมันตกค้างในของเหลือทิ้งจากกระบวนการทำน้ำมันพืชบริสุทธิ์ด้วยเทคนิคไมโครอิมัลชั่น การศึกษาความเป็นไปได้ของการงอกของ angelice keiskci เพื่อระบบวรรณเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนากระบวนการผลิตไบโอเอทานอลจากวัสดุเหลือทิ้งไร่ข้าวโพด โดยการหมักแบบแยกกระบวนการผลิต การผลิตเอทานอลจากกากเหลือทิ้งกระบวนการแปรรูปหัวหอมแขก ความเป็นไปได้เชิงเศรษฐกิจในการผลิตผักพื้นบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาความเป็นไปได้ของการบำบัดน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกรด้วยพืชน้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินของการผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร การศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้แบคเทอริโอซินในโคนมเพื่อลดปัญหาโรคเต้านมอักเสบ การผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลและไบโอชาร์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร การใช้วัสดุเหลือทิ้งเพื่อการบำบัดน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก