สืบค้นงานวิจัย
อัตราส่วนระหว่างกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ในอาหาร ที่มีผลต่อการปรับปรุงส่วนประกอบของกรดไขมันในไข่และเนื้อไก่
เฉลิมชัย หอมตา, วิทธวัช โมฬี, สุทิศา เข็มผะกา, เฉลิมชัย หอมตา, วิทธวัช โมฬี, สุทิศา เข็มผะกา - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง: อัตราส่วนระหว่างกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ในอาหาร ที่มีผลต่อการปรับปรุงส่วนประกอบของกรดไขมันในไข่และเนื้อไก่
ชื่อเรื่อง (EN): Dietary n-6 to n-3 fatty acid ratio alters the fatty acid composition of egg and chicken meat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3ในอาหาร ต่อสมรรถนะการให้ผลผลิต องค์ประกอบของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 และอัตราส่วนระหว่างกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ในไข่และเนื้อไก่ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 ใช้ไก่ไข่สายพันธุ์ทางการค้า Isa Brown จำนวน 180 ตัว สุ่มไก่เข้าการทดลองด้วยการให้อาหารที่มีอัตราส่วนของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 แตกต่างกัน 3 อัตราส่วน ได้แก่ 10:1, 5:1 และ 1:1 ตามลำดับ โดยแบ่งไก่ทดลองออกเป็น 4 ซ้ำ ๆ ละ 15 ตัว และให้อาหารด้วยสูตรอาหารทดลองเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าการกินได้ของไก่ไข่ที่กินอาหารสูตรที่มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ในอัตราส่วน 1:1 มีปริมาณที่ต่ำกว่าไก่ไข่ในกลุ่มอื่น ๆ (P0.05) การเปลี่ยนอัตราส่วนกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ในสูตรอาหาร ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพของไข่ โดยไก่ไข่ที่ได้รับอาหารที่มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ในอัตราส่วน 1:1 พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ไข่แดงต่ำกว่า และเปอร์เซ็นต์ไข่ขาวสูงกว่าไก่ไข่ในกลุ่มอื่น ๆ (P0.05) ชนิดและปริมาณของกรดไขมันในไข่แดงมีความสัมพันธ์กับชนิดและปริมาณของกรดไขมันในอาหารที่ไก่ไข่ได้รับ โดยไก่ไข่ที่ได้รับอาหารที่มีอัตราส่วนของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ในอัตราส่วน 10:1, 5:1 และ 1:1 มีอัตราส่วนของกรดไขมันทั้งสองชนิดนี้ในไข่แดงใกล้เคียงกับในอาหาร ไก่ไข่ที่ได้รับอาหารที่มีอัตราส่วน 1:1 มีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 สูงที่สุด (P0.05) อาหารที่มีอัตราส่วนของกรดไขมันทั้งสองชนิดนี้ในอัตรา 1:1 ส่งผลทำให้น้ำหนักตัวต่ำกว่าและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวสูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น (P0.05) ในการทดลองนี้สามารถสรุปได้ว่า ไก่ที่กินอาหารที่มีอัตราส่วนระหว่างกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 เท่ากับ 1:1 สามารถผลิตเนื้อไก่ที่มีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 สูงที่สุด และมีอัตราส่วนของกรดไขมันทั้งสองชนิดนี้ในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกับในอาหาร แต่ส่งผลกระทบต่อสมรรถการเจริญเติบโตที่ลดลง ดังนั้นการเสริมอาหารที่มีอัตราส่วนระหว่างกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 เท่ากับ 5:1 ในช่วงอายุ 3-6 สัปดาห์ จึงมีความเหมาะสมในการผลิตเนื้อไก่โอเมก้า-3 โดยที่ไม่ส่งผลเสียต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ คำสำคัญ : กรดไขมันชนิดโอเมก้า-3, อัตราส่วนระหว่างกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3, ระยะเวลาการให้อาหาร, ไก่ไข่, ไก่เนื้อ
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to investigate the effect of dietary n-6:n-3 PUFA ratios in diets on productive performance, n-3 PUFA composition and n-6:n-3 PUFA ratio in egg or chicken meat. This research is divided into 2 experiments. In experiment 1, one hundred and eighty 42 week-old Isa Brown laying hens were randomly divided into three different dietary ratios of n-6:n-3 PUFA: 10:1, 5:1 and 1:1, respectively. Each treatment was represented by 4 replications containing 15 birds each. The experiment was conducted for 12 weeks. The results showed that the feed intake of laying hens fed the 1:1 dietary ratio of n-6:n-3 PUFA was lower than other treatments (P0.05). The change of the n-6:n-3 PUFA ratio in diets affected egg quality. Yolk and albumen percentage of laying hens fed the 1:1 dietary ratio of n-6:n-3 PUFA were lower and higher than other treatments (P0.05). The n-6:n-3 PUFA ratio in egg yolk was related to the ratio of n-6:n-3 PUFA in diets. Laying hens fed 10:1, 5:1 and 1:1 dietary ratios of n-6:n-3 PUFA produced eggs that had a ratio of n-6:n-3 PUFA similar to the ratio in diets. The highest n-3 PUFA eggs were produced from laying hens fed the 1:1 dietary ratio of n-6:n-3 PUFA (P0.05). Body weight gain and feed conversion ratio were poor in broilers fed a 1:1 dietary ratio of n-6:n-3 PUFA (P0.05). In conclusion, the 1:1 dietary ratio of n-6:n-3 PUFA could produce high n-3 PUFA chicken meat with the lowest ratio of n-6:n-3 PUFA as related to diet. However, this ratio had negative effects on growth performance. Therefore, the 5:1 dietary ratio of n-6:n-3 PUFA for 3-6 weeks of age is suitable for production of high n-3 PUFA chicken meat without negative effects on growth performance. Keywords: n-3 fatty acids, n-6:n-3 fatty acid ratio, feeding period, laying hens, broiler
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อัตราส่วนระหว่างกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ในอาหาร ที่มีผลต่อการปรับปรุงส่วนประกอบของกรดไขมันในไข่และเนื้อไก่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
30 กันยายน 2557
ศึกษาสภาวะการติดเชื้อ Brachyspira ในไก่ ชนิดของไขมันที่เหมาะสมในอาหารปลาหมอ ผลของสัดส่วนของกรดไขมันโอเมก้า-6 ต่อโอเมก้า-3 (n-6:n-3)ในอาหารต่อประสิทธิภาพในการให้ผลผลิตและองค์ประกอบของไขมันในเนื้อแพะ ผลของสัดส่วนน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปลาทูน่าในอาหารที่มีข้าวโพดและกากถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบหลัก ต่อสมรรถนะการผลิตของไก่ไข่ และอัตรส่วน ระหว่างกรดไขมันชนิดโอเมก้า-6 และโอเมก้า-3 ในไข่แดง การผลิตกรดไขมันผสมเพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการศึกษาแบบแผนชนิดของกรดไขมันด้วยก๊าซโครมาโตกราฟี การศึกษาสรีรวิทยาและอณูพันธุศาสตร์ของการสังเคราะห์กรดไขมันจำเป็นของรา Mucor rouxii ต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในการเพาะเลี้ยง ความสัมพันธ์ของยีน Bovine Sterol Regulatory Element Binding Protein-1 (SREBP-1) และลักษณะองค์ประกอบกรดไขมันของซากโคพื้นเมืองไทย ทำความรู้จักกับวัคซีน 6 ชนิด ผลของระดับไขมันในอาหารต่อการเจริญเติบโต การใช้ประโยชน์จากอาหารและองค์ประกอบทางเคมีของปลาโมง การผลิตกรดไขมันอะราคิโดนิกจากรา Mortierella sp.

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก