สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการส่งเสริมการปลูกยางพาราในจังหวัดภาคตะวันออก
รัตนวรรณ รุณภัย - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการส่งเสริมการปลูกยางพาราในจังหวัดภาคตะวันออก
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รัตนวรรณ รุณภัย
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เอมอร อังสุรัตน์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราซึ่งขอสงเคราะห์ จำนวน 150 ราย จากจำนวนทั้งสิ้น 1,051 ราย ในจังหวัดระยอง เกษตรกรผุ้ปลูกยางพาราส่วนมากเป็นชาย อยู่ในวัยแรงงาน มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดที่เคยมีการปลูกยาง มีอาชีพรองด้านการเกษตรเพียงอย่างเดียว จำนวนสมาชิกในครอบครัว 1-3 คน พื้นที่ถือครองส่วนมากมีขนาด 26-50 ไร่ และพื้นที่สวนยางส่วนมากขนาดไม่เกิน 20 ไร่ การกรีดยางใช้ระบบกรีดวันเว้นวัน ปีละ 6-10 เดือน ผลผลิตยางแผ่นที่ได้ไม่ต่ำกว่า 10 แผ่นต่อวัน ขายผลผลิตให้พ่อค้าเร่ในราครกก.ละ 16-20 บาท และมีรายได้จากยางพาราไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท/ปี เหตุผลในการปลูกยางพาราเนื่องจากเห็นว่าการขายผลผลิตได้ง่าย ไม่ค่อยเป็นปัญหาศัตรูพืช การลงทุนต่ำ และไม่ต้องใช้แรงงานมาก เกษตรกรส่วนมากไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ และไม่เคยได้รับการฝึกอบรมความรู้วิชาด้านยางพารา ปัญหาที่พบในการปลูกยางพาราได้แก่ ขาดความรู้ในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ และถูกกดราคารับซื้อ ความต้องการในการเพิ่มผลผลิตและการปลูกยางพารา ได้แก่ ต้องการได้รับการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการด้านยางพารา ต้องการให้รัฐมีการประกันราคายาง ต้องการให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ทำหน้าที่ในการจัดการด้านการตลาด และมีการร่วมมือกับกลุ่มพ่อค้าในท้องถิ่นสำหรับการจำหน่ายยาง เกษตรกรส่วนมากมีความรู้การปลูกยางพาราเพิ่ม เพราะราคาขายดีกว่าพืชอื่นและต้องการได้รับเงินทุนสงเคราะห์ ข้อเสนอแนะของผู้วิจัยเห็นว่า (1)ควรมีการประชาสัมพันธ์โดยอาศัยทั้งสื่อมวลชนและสื่อบุคคลชักชวนให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเกิดการตื่นตัวและสนใจเข้ารับการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาการยางพารา (2)ควรรณงค์ให้มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อการผลิตและการจำหน่ายยางพาราในแต่ละท้องถิ่น (3)ควรมรการจัดระบบเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการยางพาราไปสู่เกษตรกรเป็นระยะ ๆ โดยสื่อมวลชนต่าง ๆ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2531
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2531
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการส่งเสริมการปลูกยางพาราในจังหวัดภาคตะวันออก
กรมส่งเสริมการเกษตร
2531
ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการส่งเสริมการปลูกยางพาราในจังหวัดระยอง ความต้องการของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกยางพาราอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการส่งเสริมการปลูกยางพาราในจังหวัดระยอง การวิเคราะห์นโยบายการส่งเสริมการปลูกยางพาราทดแทนกระเทียมและลำไย กรณีศึกษา: จังหวัดเชียงใหม่ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ในการปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี [ระยะที่ 1] ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์ การรับรู้วิธีการปลูกยางพาราของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการปลูกยางพารา ในอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินการปลูกยางพาราทดแทนอ้อยโรงงาน ของโครงการปลูกยางพารา ในจังหวัดอุดรธานี การศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกยางพาราในภาคอีสานตอนใต้ การวิเคราะห์ศักยภาพการปลูกยางพาราในช่วงก่อนเปิดกรีดระดับแปลงเกษตรกรในโครงการปลูกยางเพื่อยกระดับภาคใต้และความมั่นคงในเขตปลูกยางใหม่

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก