สืบค้นงานวิจัย
ฤทธิ์ทางชีวภาพต่อเซลล์ human skin fibroblast และ B16F10 melanoma ของสารสกัด รวงข้าวขาวดอกมะลิ 10
มยุรี กัลยาวัฒนกุล - มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ชื่อเรื่อง: ฤทธิ์ทางชีวภาพต่อเซลล์ human skin fibroblast และ B16F10 melanoma ของสารสกัด รวงข้าวขาวดอกมะลิ 10
ชื่อเรื่อง (EN): Biological activities towards human skin fibroblast and B16F10 melanoma cells of rice panicle Khao Dawk Mali 105 extract
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มยุรี กัลยาวัฒนกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “ฤทธิ์ทางชีวภาพต่อเซลล์ human skin fibroblast และ B16F10 melanoma ของสารสกัดรวงข้าวขาวดอกมะลิ 105” แก่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพต่อเซลล์ผิวหนังเพาะเลี้ยงของสารสกัดรวงข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ไฮโดรไลซีสและสกัดต่อด้วยเอทิลอะซิเตท จากการศึกษาวิจัยการเตรียมสารสกัดรวงข้าวขาวดอกมะลิ 105 กลุ่ม กรดฟีนอลิกยึดเหนี่ยว (bound phenolics) วิเคราะห์ชนิดและปริมาณฟีนอลิคด้วยยูพีแอลซี (UPLC) ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพในเซลล์เพาะเลี้ยง 2 ชนิด คือ เซลล์ความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังของคน (human dermal skin fibroblast) และเซลล์บี16เอฟ10 เมลาโนมา (B16F10 melanoma) พบว่า สารสกัดมีความคงตัวภายใต้สภาวะเร่ง โดยปริมาณของสารสำคัญ คือ กรดพี-คูมาริก (P-Coumaric Acid) ลดลง ส่วนการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพในเซลล์เพาะเลี้ยง พบว่าสารสกัดกรดฟีนอลิกยึดเหนี่ยว (bound phenolics) ไม่แสดงความพิษต่อเซลล์บี16เอฟ10 เมลาโนมา (B16F10 melanoma) และเซลล์ความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังของคน (human dermal skin fibroblast) นอกจากนี้สารสกัดกรดฟีนอลิกยึดเหนี่ยว (bound phenolics) มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณการสร้างเมลานิน โดยกลไกการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์หลักในกระบวนการสังเคราะห์เม-ลานิน ในเซลล์บี16เอฟ10 เมลาโนมา (B16F10 melanoma) และมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์ความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังของคน (human dermal skin fibroblast) ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยได้สารสกัดรวงข้าวที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพและปลอดภัยต่อเซลล์ เซลล์ความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังของคน (human dermal skin fibroblast) และเซลล์บี16เอฟ10 เมลาโนมา (B16F10 melanoma)
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-07-05
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-07-04
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ฤทธิ์ทางชีวภาพต่อเซลล์ human skin fibroblast และ B16F10 melanoma ของสารสกัด รวงข้าวขาวดอกมะลิ 10
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
4 กรกฎาคม 2558
ฤทธิ์ทางชีวภาพต่อเซลล์ human skin fibroblast และ B16F10 melanoma ของสารสกัด รวงข้าวขาวดอกมะลิ 105 ฤทธิ์ทางชีวภาพต่อเซลล์ human skin fibroblast และ B16F10 melanoma ของสารสกัด รวงข้าวขาวดอกมะลิ 105 ผลของสารสกัดจากใบติ้วขาวต่อการยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทเมื่อถูกกระตุ้นด้วยเบต้าอะไมลอยด์เปปไทด์ (โมเดลของโรคอัลไซเมอร์) การตรวจสอบฤทธิ์กลายพันธุ์และต้านการกลายพันธุ์ของสารสกัดยาแผนโบราณไทย แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม Full genomic analysis of a human G9P[23] rotavirus strain from a child with diarrhea in Thailand การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก