สืบค้นงานวิจัย
การทำนายคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ โดยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี
รำไพร นามสีลี - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: การทำนายคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ โดยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี
ชื่อเรื่อง (EN): Prediction of Nutritive Value in Forage by Near Infrared Reflectance Spectroscopy (NIRS) Technique
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รำไพร นามสีลี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ได้ทำการศึกษาการใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีในการทำนายคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ ได้แก่ ส่วนประกอบทงเคมี (โปรตีน เถ้าไขมัน เยื่อใยหยาบ NDF ADF เซลลูโลสและ ลิกนิน) ค่าการย่อยได้ของอินทรียวัตถุและพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ โดยตัวอย่างที่นำมาศึกษาเป็นหญ้าอาหารสัตว์เขตร้อน 11 ชนิด จำนวน 1,317 ตัวอย่าง ทำการวัดสเปกตรัมตัวอย่างโดยใช้ความยาวคลื่น 1,100 - 2,500 นาโนเมตร พร้อมทั้งวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะโดยวิธีทางห้องปฏิบัติการ จากนั้นแบ่งสเปกตรัมเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งนำมาสร้างสมการทำนาย และอีกส่วนหนึ่งนำมาใช้ในการทดสอบสมการ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูล และสร้างสมการด้วยวิธี Modified Partial Least Square โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป WinlSI II จากการศึกษาพบว่สมการที่มีความแม่นยำสูงคือ สมการทำนายโปรตีน ADF และ NDF โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ หรือค่า R เท่ากับ 0.98 0.93 และ 0.90 ตามลำดับ รองลงมาได้แก่สมการทำนายเยื่อใยหยาบ เถ้า เซลลูโลส ไขมัน OMD และ ME โดยมีค่า R' เท่ากับ 0.86 0.83 0.82 0.79 0.77 และ 0.77 ตามลำดับ ส่วนสมการทำนายลิกนิน พบว่ามีความแม่นยำค่อนข้างต่ำ โดยมีค่า R เพียง 0.53 สำหรับคำผิดพลาดมาตรฐานของสมการทำนาย (SEC) โปรตีน เถ้า ไขมัน เยื่อใยหยาบ NDF ADF เซลลูโลสลิกนิน OMD และ ME มีค่าเท่ากับ 0.66 1.09 0.41 1.26 2.07 1.27 1.45 0.81 2.69 และ 0.10 ตามลำตับ ส่วนคำผิดพลาดมาตรฐานในการทำนายในกลุ่มทดสอบสมการ ( SEP ) โปรตีน เถ้า ไขมันเยื่อใยหยาบ เยื่อใย NDF ADF เซลลูโลส ลิกนิน OMD และ ME มีค่า 0.88 1.27 0.43 1.71 1.87 1.61 1.35 0.84 3.58 และ 0.14 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The technique of near infrared reflectance spectroscopy was used for prediction of nutritive value of grass forage. The nutritive values included chemical compositions i.e. crude protein, ash, ether extract, crude fiber, neutral detergent fiber (NDF), acid detergent fiber (ADF), cellulose and lignin (ADL) and also organic matter digestibility (OMD), and metabolizable energy (ME). One thousand three hundred and seventeen samples from 11 species of tropical grass forage were analyzed for nutritive values in laboratory. These forage samples were scanned by using the wavelength region 1,100 to 2,500 nm. The spectrums were divided into 2 sets for calibration and validation. Modified Partial Least Square (PLS) in WinlSI Il program was used to make calibration equations for predicting the nutritive value. The results of this study indicated that the calibration equation for prediction protein ADF and NDF showed the best precision with correlation coefficients (R'3), 0.98 0.93 and 0.90, respectively, and following by the calibration equation for prediction crude fiber, ash, cellulose, EE, OMD and ME with the R' values of 0.86 0.83 0.82 0.79 0.77 and 0.77, respectively. The lowest precision equation was found in the equation for lignin prediction (R'=0.53). The standard error of calibration (SEC) of crude protein, Ash, EE, CF, NDF, ADF, Cellulose, Lignin, OMD, and ME were 0.66 1.09 0.41 1.26 2.07 1.27 1.45 0.81 2.69 and 0.10 respectively, while the standard error of prediction (SEP) in validation set were 0.88 1.27 0.43 1.71 1.87 1.61 1.37 0.84 3.58 and 0.14respectively.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองอาหารสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทำนายคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ โดยเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี
กองอาหารสัตว์
2551
เอกสารแนบ 1
กรมปศุสัตว์
พืชอาหารสัตว์พันธุ์ใหม่ การประเมินคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์หมัก 6 ชนิด การรวบรวมและจัดทำข้อมูลด้านคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ การพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์การปลอมปนในข้าวหอมมะลิเปลือกและข้าวหอมมะลิขาวอย่างรวดเร็วด้วยเทคนิคเนียร์อินฟราเรด การศึกษาคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ (1) หญ้ารูซี่ (2) ถั่วฮามาต้า ผลผลิตพืชอาหารสัตว์และคุณค่าทางโภชนะของถั่วลิสงเถา 11 สายพันธุ์ การศึกษาคุณค่าทางโภชนะของพืชอาหารสัตว์ : หญ้ากินนีสีม่วงและถั่วท่าพระสไตโล การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับผลของการใช้พืชอาหารสัตว์บางชนิดต่ออัตราการเจริญเติบโตของกระต่ายเล็กและกระต่ายรุ่น การปลูกพืชอาหารสัตว์ของเกษตรกรรายย่อย เทคโนโลยีชีวภาพด้านการดัดแปลงพันธุกรรมพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก