สืบค้นงานวิจัย
ผลของความหนาแน่นของลูกปลา โรติเฟอร์ และระยะเวลาเปลี่ยนชนิดของอาหารต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927)
ดวงทิพย์ อู่เงิน - มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่อง: ผลของความหนาแน่นของลูกปลา โรติเฟอร์ และระยะเวลาเปลี่ยนชนิดของอาหารต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927)
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of larval density, rotifer density and weaning age on survival rate and growth of mandarinfish, Synchiropus splendidus (Herre, 1927) larvae
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดวงทิพย์ อู่เงิน
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Synchiropus splendidus
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้ประกอบด้วยการทดลองจำนวน 3 การทดลองเพื่อทดสอบปัจจัยที่มีผลต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปลาแมนดารินวัยอ่อน โดยการทดลองที่ 1 มีวัตถุประสงค์ที่จะหาความหนาแน่นของลูกปลาที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาล การทดลองที่ 2 มีวัตถุประสงค์ที่จะหาความหนาแน่นที่เหมาะสมของโรติเฟอร์ในการใช้เป็นอาหาร และการทดลองที่ 3 มีวัตถุประสงค์ที่จะหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการเปลี่ยนชนิดอาหาร โดยนำผลที่ได้จากการทดลองก่อนหน้าไปใช้ในการทดลองต่อไป ทุกการทดลองจะทำในตู้กระจกความจุน้ำ 5 ลิตร จำนวน 12 ตู้ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (ชุดทดลอง) กลุ่มละ 3 ตู้ (ซ้ำ)โดยทำการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนที่ระดับความหนาแน่น 5 10 15 และ 20 ตัวต่อลิตร ระดับความหนาแน่นของโรติเฟอร์ 10 15 20 และ 25 ตัวต่อมิลลิลิตรและระยะเวลาในการเปลี่ยนชนิดอาหารจากโรติเฟอร์เป็นอาร์ทีเมียแรกฟัก โดยชุดทดลองที 1 ให้โรติเฟอร์เป็นอาหารตลอดการทดลอง ชุดการทดลองที่ 2-4 จะทำการเปลี่ยนชนิดของอาหารในวันที่ 15 20 และ 25 ตามลำดับ ระยะเวลาทำการทดลอง 30 วัน การทดลองที่ 1 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการอนุบาลลูกปลาที่ความหนาแน่นต่างกัน มีผลต่ออัตรารอดของลูกปลา (p<0.05) แต่ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและระยะเวลาที่ลูกปลาเจริญเติบโตจากระยะวัยอ่อนไปสู่ระยะหลังวัยอ่อนของลูกปลา (p>0.05) โดยลูกปลามีอัตรารอดต่ำที่สุด (3.56±0.44%b) เมื่ออนุบาลที่ความหนาแน่น 15 ตัวต่อลิตร แตกต่างกับลูกปลาที่อนุบาลที่ความหนาแน่น 5 ตัวต่อลิตร 10 ตัวต่อลิตร และ 20 ตัวต่อลิตร ที่มีอัตรารอดเฉลี่ย (±SE) 10.67±1.09%a6.67±1.33%abและ 7.00±2.08%ab ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลองลูกปลามีความยาวมาตรฐาน (Standard length) (±SE) ต่ำสุดเท่ากับ 4.05±0.51 มิลลิเมตร สูงสุดเท่ากับ 5.00±0.07 มิลลิเมตร ความยาวเหยียด (total length) (±SE) ต่ำสุดเท่ากับ 5.25±0.64 มิลลิเมตร สูงสุดเท่ากับ 6.37±0.06 มิลลิเมตร สำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการอาศัยอยู่ในมวลน้ำมาอาศัยอยู่บริเวณขอบและพื้นตู้ (Post larvae) นั้นพบว่าลูกปลา (±SE) สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เร็วที่สุดมีค่า 13.67±2.19 วัน และได้ช้าสุด 24.67±2.67 วัน การทดลองที่ 2 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าความหนาแน่นของโรติเฟอร์ที่ต่างกัน มีผลต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปลา (p<0.05) แต่ไม่มีผลต่อระยะเวลาที่ลูกปลาเจริญเติบโตจากระยะวัยอ่อนไปสู่ระยะหลังวัยอ่อน โดยลูกปลามีอัตรารอดเฉลี่ย(±SE) สูงเมื่ออนุบาลด้วยความหนาแน่นของโรติเฟอร์ 15 และ 25 ตัวต่อมิลลิลิตร เท่ากับ 3.00±1.00%aและ 3.33±0.88%a แตกต่างกับ (p<0.05) ลูกปลาที่อนุบาลด้วยความหนาแน่นของโรติเฟอร์ 10 และ 20 ตัวต่อมิลลิลิตร มีอัตรารอดของลูกปลาเฉลี่ย 1.00±0.0%bและ1.33±0.33%b ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลองลูกปลาที่อนุบาลด้วยความหนาแน่นของโรติเฟอร์ 15 ตัวต่อมิลลิลิตร มีความยาวมาตรฐาน (Standard length) และความยาวเหยียด (Total length) (±SE) สูงสุดเท่ากับ 5.16±0.18a มิลลิเมตร และ 6.51±0.19a มิลลิเมตร แตกต่างกับ (p<0.05) ลูกปลาที่อนุบาลด้วยความหนาแน่นของโรติเฟอร์ 10 20 และ 25 ตัวต่อมิลลิลิตร มีค่าเฉลี่ย(±SE) เท่ากับ 3.86±0.21b, 3.94±0.39b, 3.46±0.30b มิลลิเมตร และ 5.01±0.27b, 4.94±0.52b, 4.42±0.43b มิลลิเมตร ตามลำดับ สำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการอาศัยอยู่ในมวลน้ำมาอาศัยอยู่บริเวณขอบและพื้นตู้ (Post larvae) นั้น พบว่าลูกปลาวัยอ่อนใช้เวลาในการเจริญเติบโตเข้าสู่ระยะวัยหลังอ่อน ได้เร็วที่สุดมีค่าเท่ากับ(±SE) 14.67±1.67 วัน และช้าสุดเท่ากับ 20.67±0.33 วัน การทดลองที่ 3 ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการอนุบาลลูกปลาแมนดารินวัยอ่อน โดยระยะเวลาในการเปลี่ยนชนิดอาหารจากโรติเฟอร์เป็นอาร์ทีเมียแรกฟักในช่วงอายุต่างกันไม่มีผลต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปลา (p>0.05) แต่มีผลต่อระยะเวลาที่ลูกปลาเจริญเติบโตจากระยะวัยอ่อนไปสู่ระยะหลังวัยอ่อน (p<0.05) โดยลูกปลามีอัตรารอดเฉลี่ย (±SE) 8.33±3.95%, 6.00±3.00%, 7.33±2.19% และ 4.00±0.58% ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลองลูกปลามีความยาวมาตรฐาน (Standard length) (±SE) ต่ำสุดเท่ากับ 3.58±0.22 มิลลิเมตร สูงสุดเท่ากับ 3.99±0.15 มิลลิเมตร ความยาวเหยียด (total length) (±SE) ต่ำสุดเท่ากับ 4.38±0.38 มิลลิเมตร สูงสุดเท่ากับ 4.98±0.10 มิลลิเมตร สำหรับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการอาศัยอยู่ในมวลน้ำมาอาศัยอยู่บริเวณขอบและพื้นตู้ (Post larvae) นั้นพบว่าลูกปลามีพัฒนาการช้าที่สุดเท่ากับ 16.00±0.00b วัน เมื่อไม่มีการเปลี่ยนอาหารและพบลูกปลาระยะหลังวัยอ่อนเร็วขึ้นที่ 15.33±0.33ab 14.00±0.00a และ 14.00±1.00a วัน เมื่อเปลี่ยนอาหารที่อายุ 15 20 และ 25 วัน ตามลำดับ สรุปได้ว่าในการอนุบาลลูกปลาแมนดารินวัยอ่อน ผู้เลี้ยงสามารถอนุบาลลูกปลาที่ความหนาแน่น 20 ตัวต่อลิตร โดยให้อาหารเป็นโรติเฟอร์ที่ความหนาแน่น 15 ตัวต่อมิลลิลิตร และลูกปลาสามารถเปลี่ยนอาหารจากโรติเฟอร์เป็นอาร์ทีเมียแรกฟักเมื่อลูกปลามีอายุ 15 วัน เหมาะสมที่สุด โดยไม่มีผลต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
เอกสารแนบ: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1698?show=full
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของความหนาแน่นของลูกปลา โรติเฟอร์ และระยะเวลาเปลี่ยนชนิดของอาหารต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของลูกปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre, 1927)
มหาวิทยาลัยบูรพา
30 กันยายน 2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
องค์ประกอบของกรดไขมันและผลผลิตของโรติเฟอร์ (Brachionus rotundiformis Tschugunoff, 1921) ที่เลิ้ยงด้วยแพลงก์ตอนพืช 4 ชนิด การเลี้ยงลูกปลาช่อนด้วยอัตราความหนาแน่นต่างกัน ผลของการเสริมกรดไขมันและวิตามินซีลงในแพลงก์ตอนสัตว์ต่ออัตรารอด การเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus (Herre,1927) การพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาแมนดาริน,Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เพื่อการอนุรักษ์และการผลิตเชิงพาณิชย์ การสะสมปริมาณสารสีในลูกปลาแมนดาริน,Synchiropus splendidus (Herre, 1927) เมื่ออนุบาลด้วยแพลงก์ตอนสัตว์ที่เลี้ยงด้วยแพลงก์ตอนพืชต่างชนิด ผลของอัตราและระยะเวลาการให้ปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตของต้นมะกรูด ระยะเวลาที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาเทพาวัยอ่อนด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของปลาเสือตอที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีชีวิต อัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลิงทะเล (Holothuria scabra Jaeger, 1833 และ H. atra Jaeger, 1833) ที่เลี้ยงด้วยอาหารต่างชนิดกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก