สืบค้นงานวิจัย
ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว
ทิมทอง ดรุณสนธยา - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่อง (EN): Potassium adsorption characteristics of sugarcane growing soils in Sa Kaeo province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ทิมทอง ดรุณสนธยา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Timtong Darunsontaya
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการดูดซับโพแทสเซียม และสมบัติของดินที่มีผลต่อการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว โดยคัดเลือกตัวแทนชุดดินซึ่งมีสมบัติดินที่แตกต่างกันและใช้ปลูกอ้อยเป็นบริเวณกว้างขวาง จำนวน 4 ชุดดิน ได้แก่ ชุดดินวังไห (Wi) ชุดดินบางคล้า (Bka) ชุดดินเชียงคาน (Ch) และชุดดินทับพริก (Tpk) โดยเก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึกชั้นไถพรวน และใต้ฐานชั้นไถพรวนถึง 60 เซนติเมตร มาทำการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ดินที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่มีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่ำ และมีปริมาณโพแทสเซียมสำรอง (K reserve) จากแหล่งแร่ในดินอยู่น้อย ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ทำการศึกษาสามารถอธิบายได้ดีด้วยไอโซเทอมการดูดซับของ Freundlich (R2 = 0.755–0.997) แสดงว่า ดินมีลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมบนผิวหน้าที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจเป็นการดูดซับบนพื้นผิวของแร่ดินเหนียวหลายชนิดร่วมกับอินทรียวัตถุ โดยสมบัติของดิน ได้แก่ ปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียว และค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน มีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ และความจุในการดูดซับโพแทสเซียมของดิน
บทคัดย่อ (EN): This study aimed to determine the adsorption characteristics of K and the effect of soil properties on K adsorption. Four representative sugarcane growing soil series with different soil properties and widely used for sugarcane production in Sa Kaeo province, namely, Wang Hai soil series (Wi), Bang Khla soil series (Bka), Chiang Khan soil series (Ch), and Thap Phrik soil series (Tpk) were selected for the study. Soil sample was collected at the depth of plough layer and below plough layer to 60 cm for study. The results showed that the studied soils had low available K contents and low mineral K reserves. Potassium adsorption pattern showed a good fit with the Freundlich adsorption isotherm (R2 = 0.755–0.997). This result suggested that the K adsorption in these soils occurred on heterogeneous surfaces. The adsorption may have also occurred on exchange sites of clay minerals and adsorption sites of organic matter. Clay and organic matter contents in these soils positively correlated with the exchangeable K content and K sorption capacity of the soils.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/250066/170941
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลการใช้ปุ๋ยตามค่าการวิเคราะห์ดินที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพอ้อย ศักยภาพผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรของข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองปลูกในระบบการปลูกข้าวไร่ก่อนปลูกอ้อย ผลของซิลิคอนและวัสดุปรับสภาพดินที่มีซิลิคอนสูงต่ออ้อยที่ปลูกบนชุดดินน้ำพอง ประชากรแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) และการเกิดโรคใบขาวอ้อยในระบบการปลูกข้าวไร่ สลับกับอ้อย และระบบปลูกอ้อยเชิงเดี่ยว ผลของปุ๋ยฟอสฟอรัสต่ออ้อยปลูกในชุดดินสตึกที่ปรับปรุงด้วยขี้เถ้าแกลบ ในอัตราที่แตกต่างกัน ผลของการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอ้อยต่อคุณสมบัติเคมีบางประการของดิน กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ผลของปุ๋ยโพแทสเซียม แมกนีเซียม และสังกะสีต่อผลผลิตและคุณภาพผลผลิตอ้อยตอ 1 ในชุดดินโคราช ศึกษาผลผลิต น้ำคั้น และชานอ้อยในอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และอ้อยลูกผสมอ้อยป่า (Saccharum spontaneum) การวิจัยและพัฒนาเครื่องผ่ากออ้อยและการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของอ้อยตออย่างแม่นยำ ประสิทธิภาพการใช้น้ำและการตอบสนองทางสรีรวิทยาของพันธุ์อ้อยดีเด่นภายใต้สภาพการปลูกโดยอาศัยน้ำฝน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก