สืบค้นงานวิจัย
ความผันแปรใน Phytophthora palmivora (Butl.) Butl. ทุเรียน : ลักษณะรูปร่างและแบบคู่ผสม
อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความผันแปรใน Phytophthora palmivora (Butl.) Butl. ทุเรียน : ลักษณะรูปร่างและแบบคู่ผสม
ชื่อเรื่อง (EN): Variation in Phytophthora palmivora (Butl.) Butl. Isolates from Durian : Morphology and Mating Type
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Amornrat Poopaibool
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ: ทุเรียน
คำสำคัญ (EN): Phytophthora palmivora
บทคัดย่อ: ดำเนินการเก็บตัวอย่างรากเน่า โคนเน่าและผลเน่าทุเรียน จากจังหวัดนครนายก ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานีและศรีสะเกษ สามารถแยกเชื้อรา Phyophthora ได้ 25 ไอโซเลท นำมาทำ single sporangiu culture เพื่อศึกษาหาความผันแปรของลักษณะการเจริญของเส้นใยบนอาหาร PDA (potato dextrose agar) และ CA(carrot agar) ศึกษาลักษณะ รูปร่างและขนาด spore ของเชื้อ หา L:B ratio วัดขนาดของ chalmydospores และศึกษา mating type ของเชื้อรา พบว่าเชื้อรา Phytophthora palmivora (Butl.) Butl. เป็นสาเหตุโรครากเน่า โคนเน่าและผลเน่าของทุเรียนแต่ละไอโซเลทมีความผันแปร ทั้งลักษณะการเจริญของเส้นใยบนอาหารทั้งสอง เจริญช้าบ้าง เร็วบ้าง เป็นแบบแฉกคล้ายรูปดาว มีผิวผนังเส้นใย เรียบและสร้าง sporangia จำนวนมากบนอาหารแข็ง CA เป็นรูปไข่หรือรูปค่อนข้างยาว ขนาดแตกต่างกัน เฉลี่ย 54.51x33.54 µm อัตราส่วนความยาว ความกว้าง (L:B ratio) เฉลี่ย = 1.64 มี papilla เด่นชัด ก้าน sporangia สั้น มีความยาว 2.5 µm สปอร์หลุดจากก้านสปอร์ได้ง่ายเมื่ออายุมาก chlamydospores รูปร่างค่อนข้างกลมและกลมเกิดบริเวณปลายเส้นใยและระหว่างเส้นใย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 37 µm วงจรชีวิตของการสืบพันธุ์แบบใช้เพศ เป็น heterothallic การเกิด oospores ได้จากการผสมกันของเชื้อราต่าง mating type ที่เข้ากันได้ พบว่าเป็น mating type A1 ทุกไอโซเลท ตำแหน่งของ antheridia บนผิวของ oogonium เป็นแบบ amphigynous antheridium antheridia มีขนาดเฉลี่ย 14 µm oogonia ขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 27 µm ผิวผนัง oogonium เรียบ รูปร่างกลม oospore มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 23 µm
บทคัดย่อ (EN): Twenty five isolates of durian Phytophthora from different durian orchards in Nakorn Nayok , Rayong, Chanthaburi, Trat, Chumphon, Surat Thani and Si Sa Ket province were collected and characterized. They were identified as P. palmivora, however, the variabilities in some morphological features, including colony morphology, size and shape of sporangia, gametangia and oospores among is olates were found. These isolates were separated into two groups on the basic of the sporangial length namely breadth ratios (L:B> 1.7 and L:B< 1.7). All isolates were heterothallic, mating type A1 and amphigynous antheridia. Oogonia, oospores and chlamydospores were averaged at 27, 23 and 37 µm respectively, in diameter.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2546
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความผันแปรใน Phytophthora palmivora (Butl.) Butl. ทุเรียน : ลักษณะรูปร่างและแบบคู่ผสม
กรมวิชาการเกษตร
2546
เอกสารแนบ 1
ลักษณะของผลทุเรียนที่เกิดจากการผสมเกสรทุเรียนพันธุ์ชะนีและก้านยาว ประโยชน์ของทุเรียน เค้กทุเรียน “ทุเรียนไร้หนาม” ฝันที่เป็นจริงของทุเรียนเลิฟเวอร์ โซเดียมในทุเรียนทอด การใช้ประโยชน์ทุเรียนดิบบดแห้งที่ทำจากทุเรียนดิบพันธุ์หมอนทอง “ทุเรียนทอด ชายน้อย” ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในทุเรียนกวน ฟิลม์บริโภคได้สำหรับผลิตภัณฑ์ทุเรียนเพื่อการส่งออก โครงการวิจัยเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก