75 % ได้แก่ N22 ชัยนาท 1 และ กข49 พันธุ์ข้าวที่มีระดับความทนร้อนปาน กลาง (ติดเมล็ด 50-74% ได้แก่ กข29 กข31 กข41 กข47 กข55 กข61 กข63 สุพรรณบุรี 60 และ พิษณุโลก 2 ในขณะที่พันธุ์ที่ไม่ทนร้อน (ติดเมล็ด '>
 
 
สืบค้นงานวิจัย
ผลของอุณหภูมิสูงในระยะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการติดเมล็ดและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว
มัณฑนา ปานศรีทอง - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของอุณหภูมิสูงในระยะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการติดเมล็ดและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of high temperature at reproductive stage on seed set and seed quality of rice
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: มัณฑนา ปานศรีทอง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Manthana Pansrithong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สภาวะที่อุณหภูมิของโลูกเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อการผลิตข้าว ทำให้ความมีชีวิตของละออง เกสร และการติดเมล็ดลดลง ดังนั้นจึงได้ศึกษาผลของอุณหภูมิสูงในระยูะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการติดเมล็ดและ คุณภาพเมล็ดพันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ split-plot in CRD จำนวน 2 ซ้ำ ประกอบด้วย ปัจจัยหลัก คือ สภาพ แปลงธรรมชาติ และโรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิสูง (40+5'C) และปัจจัยรอง คือ ข้าวจำนวน 14 พันธุ์ ปลูกข้าว ทุกพันธุ์ในกระถางแล้วตั้งไว้ในสภาพแปลงภายนอกโรงเรือน เมื่อข้าวเริ่มเข้าระยะตั้งท้อง (R2) ย้ายข้าวจ้ำนวน 10 กระถางในแต่ละพันธุ์เข้าสู่โรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิสูง จนถึงระยะเก็บเกี่ยว (R9) เปรียบเทียบกับสภาพ แปลงธรรมชาติ ผลการทดลองพบว่า อุณหภูมิสูงในระยะเจริญพันธุ์มีผลทำให้จำนวนรวง/กอ น้ำหนักรวง/กอ ความยาวเมล็ด น้ำหนักเมล็ดดี/รวง การติดเมล็ด น้ำหนัก 100 เมล็ด ผลผลิต/กอลดลง ในสภาพอุณหภูมิสูง พันธุ์ข้าวที่มีการติดเมล็ดสูง (>75 % ได้แก่ N22 ชัยนาท 1 และ กข49 พันธุ์ข้าวที่มีระดับความทนร้อนปาน กลาง (ติดเมล็ด 50-74% ได้แก่ กข29 กข31 กข41 กข47 กข55 กข61 กข63 สุพรรณบุรี 60 และ พิษณุโลก 2 ในขณะที่พันธุ์ที่ไม่ทนร้อน (ติดเมล็ด <50%) ได้แก่ ปทุมธานี 1 สินเหล็ก และ กข15 นอกจากนี้อุณหภูมิสูงมี ผลทำให้ความแข็งแรงโดยวิธีการเร่งอายุลดลง แต่ไม่มีผลต่อความงอกของเมล็ดพันธุ์ข้าวทุกพันธุ์ ยกเว้น กข 15 และสินเหล็ก ในขณะที่ สุพรรณบุรี 60 กข41 และกข29 ยังคงมีความแข็งแรงโดยวิธีการเร่งอายุสูงกว่า 80%
บทคัดย่อ (EN): The increasing in air temperature, due to global warming, has direct impact on rice production. High temperature reduces pollen viability and seed set. Therefore, the objective of this experiment was to study the effect of high temperature at reproductive stage on seed set and seed quality of rice. The pot experiment was arranged in split-plot in CRD with 2 replications. Ambient and high temperatures (40±5°C) were main plots and 14 rice varieties were sub-plots. All rice varieties were planted in pots and sit in the field outside the greenhouse. At the reproductive stage (R2), 10 pots from each variety were tested in greenhouse under high temperature until harvest (R9) and compared with ambient temperature (field) condition. The results showed that high temperature significantly decreased number of panicle/plant, panicle weight/plant, good seed weight/panicle, seed set, 100-seed weight and yield/plant. Under high temperature, N22, Chainat 1 and RD49 had highly significant seed set (>75%). RD29, RD31, RD41, RD47, RD55, RD61, RD63, SuphanBuri 60 and Phitsanulok 2 had moderately seed set (50-74 %), while, PathumThani 1, Sin Lek and RD15 gave low seed set (<50 %). In addition, high temperature also affected seed vigor as determined by AA but no effect on seed germination of all rice varieties but RD15 and Sin Lek. Suphan Buri 60, RD41 and RD29 showed higher than 80% vigor as determined by AA.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=3_125_611.pdf&id=3705&keeptrack=5
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของอุณหภูมิสูงในระยะเจริญพันธุ์ที่มีต่อการติดเมล็ดและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับฮอร์โมนพืชต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตระยะต้นกล้าของเมล็ดพันธุ์แตงกวา ผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อการเปลี่ยนแปลงความหนืด ของข้าวพันธุ์ต่างๆ การผลิตเมล็ดพันธุ์คัดและเมล็ดพันธุ์หลัก ข้าวพันธุ์ กข-แม่โจ้ 2 ผลของการอบแห้งด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดอุณหภูมิสูงที่มีต่อคุณภาพของข้าวพันธุ์ก่ำดอยสะเก็ด ผลของสารเคลือบเมล็ดด้วยสารป้องกันราน้ำค้างต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษลูกผสมหลังการเคลือบและการเก็บรักษา ช่วงเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อปริมาณโปรตีนและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์โปรตีนสูง ผลของสภาพการเก็บรักษาภายใต้สภาวะปิดความดันต่ำที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวและแมลงในโรงเก็บ การพ่นปุ๋ยยูเรียควบคุมการติดเมล็ดของข้าววัชพืช พันธุ์แอสเตอร์ที่เหมาะสมในการผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อการค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลของการพ่นสังกะสีที่ใบต่อผลผลิตและการสะสมธาตุสังกะสีในข้าวกล้องของข้าวพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ปรับปรุง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก