สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมกับพันธุ์ยางแนะนำ เพื่อผลผลิตเนื้อไม้และผลผลิตน้ำยาง ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
นิภาภรณ์ ชูสีนวน - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมกับพันธุ์ยางแนะนำ เพื่อผลผลิตเนื้อไม้และผลผลิตน้ำยาง ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): The Study of Planting space on Wood Volume and Latex Yield of Recommended Rubber Clones in the Upper South of Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิภาภรณ์ ชูสีนวน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nipabhorn Chusinuan
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาระยะปลูก และพันธุ์ยางที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตเนื้อไม้ และผลผลิตน้ำยาง ของต้นยางพาราตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ 9 ปี (ปีพ.ศ. 2550 - 2559)วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB 3 ซ้ำ main plot คือ ระยะปลูก 3 ระยะ ได้แก่ D1(3x3 ม.) D2 (3x4 ม.) และ D3 (4x4 ม.) subplot คือ พันธุ์ยางแนะนำ จำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่RRIT 402, RRIT 403, RRIT 404, RRIT 408 และRRIT 412 ปลูกยางเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2550ในชุดดินฝั่งแดง ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี พบว่าระยะปลูก และพันธุ์ยางมีผลต่อขนาดเส้นรอบวงลำต้น ความสูงของลำต้น และปริมาตรเนื้อไม้ D3D2 และ D1 มีขนาดเส้นรอบวงลำต้น 55.6053.33 และ 49.88 ซม. ตามลำดับ ส่วนของพันธุ์ยาง พบว่า พันธุ์ RRIT 404 มีขนาดเส้นรอบวงลำต้นมากที่สุด 55.36 ซม. สำหรับความสูงของลำต้น พบว่า D1 มีความสูงมากว่า D3 และ D2โดยมีความสูง 3.83 3.53 และ 3.47 ม. ตามลำดับ และพันธุ์ RRIT 404 มคี วามสงู ลำต้นสูงที่สุด 3.97 ม. ส่วนปริมาตรเนื้อไม้ พบว่า D1 ให้ปริมาตรเนื้อไม้สูงที่สุด 13.62 ลบ.ม/ไร่ รองลงมาคือ D2 10.93 ลบ.ม/ไร่ และ D3 ให้ปริมาตรเนื้อไม้ต่ำที่สุด 8.64 ลบ.ม/ไร่ โดยพันธุ์ RRIT 404 ให้ปริมาตรเนื้อไม้สูงที่สุด 13.92 ลบ.ม/ไร่ ขณะที่ผลผลิตน้ำยาง 2 ปีแรกของการกรีด พบว่า ระยะปลูกไม่มีผลต่อการให้ผลผลิตน้ำยาง แต่พันธุ์ RRIT404 และ RRIT 408 ให้ผลผลิตน้ำยางสูงที่สุด คือ289 กก./ไร่/ปี และ 298 กก./ไร่/ปี จากการตัดสางต้นยางร้อยละ 50 เมื่ออายุ 9 ปี เมื่อพิจารณาค่าการลงทุน และรายได้จากไม้ยางในสวนยางอายุ9 ปี พบว่า ระยะปลูกที่เหมาะสมในการให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน คือ D2 ระยะปลูก3x4 ม. และ พันธุ์ยางที่ให้ปริมาตรเนื้อไม้ และผลผลิตน้ำยางที่เหมาะสม คือ พันธุ์ RRIT 404
บทคัดย่อ (EN): The study effect of the planting space and clones on wood volume for biomass and latex yield was carried out to evaluate the performance of rubber clones and to identify suitable planting density for wood production and latex yield during 9 years after planting. Split plot design in RCB was performed with 3 replications. Main plot was planting density (D) consisting of 3 spacing patterns i.e. D1 178 plants/rai (3x3 m), D2 133 plants/rai (3x4 m) and D3 100 plants/rai (3x3 m). Subplot was rubber clone consisting of 5 newly clones i.e. RRIT 402, 403, 404, 408 and 412. A trial unit (plot) was 45 experimental units and 180 trees plant/unit test. The rubber has been planted in July 2007 in the Fang Daeng soil series with an area of 110 rai in Surat Thani Agricultural Research and Development Center, Thachana District, Surat Thani Province. After 9 years, the planting density and clone affected the trunk girth and height. The lower density (D3, 55.60 cm and D2, 53.33 cm) gave greater trunk girth than the highest density (D1, 49.88 cm) while D1 (3.83 m) had a trunk height taller than D3 (3.53 m) and D2 (3.47 m). Clone RRIT 404 showed the highest trunk girth (55.36 cm) and trunk height (3.59 m) comparing to other clones. The highest planting density (D1) and clone RRIT 404 gave the highest of wood volume per area (13.62 and 13.92 m3/rai, respectively). Moreover, there was no interactions between planting space and clones in this experiment. The first two years of tapping, clone RRIT 408 and 404 gave the maximum mean latex yield (298 and 289 kg/rai/year, respectively) but planting density did not influence on the latex yield. Results indicate that the density D2 (3x4 m) and clone RRIT 404 can be recommended for maximum income and latex yield under the upper south of Thailand in the period of early tapping.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาระยะปลูกที่เหมาะสมกับพันธุ์ยางแนะนำ เพื่อผลผลิตเนื้อไม้และผลผลิตน้ำยาง ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
กรมวิชาการเกษตร
2560
เอกสารแนบ 1
การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน สำรวจอาการเปลือกแห้งของยางพาราในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ตอนบน การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง ในเขตพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา ศึกษาการผลิตพันธุ์ยางของแปลงขยายพันธุ์ยางราชการในเขตภาคใต้ตอนล่าง การทดสอบพันธุ์ยางที่เหมาะสมในพื้นที่ปลูกยางต่าง ๆ การศึกษาการแสดงออกของยีนทั้งระบบเพื่อค้นหายีนที่มีความเกี่ยวข้องกับผลผลิตน้ำยางสำหรับการปรับปรุงพันธุ์ยางพาราที่ให้ผลผลิตสูง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตจันทร์เทศในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน การศึกษาชนิดของชันโรง (Trigona spp.) ในภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทย . ประสิทธิภาพของสารเคมีบางชนิดที่ใช้ป้องกันกำจัดโรคเส้นดำและโรคเปลือกเน่าของยางพารา ในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ตอนบน การปรับตัวของระบบการผลิตยางพาราต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเขตภาคใต้ตอนบน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก