สืบค้นงานวิจัย
เทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดินกับการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม
อุษา จักราช, สุปราณี ศรีทำบุญ, พัชนี อาภรณ์รัตน์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: เทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดินกับการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม
ชื่อเรื่อง (EN): Land development department’s Technology and increasing of yield of cassava by participatory of farmers
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดินกับการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบเกษตรกรมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อ หาแนวทางในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง และลดต้นทุน รวมทั้งเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลัง โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และสามารถนำวิธีการดังกล่าวไปปฏิบัติได้จริง รวมทั้งประเมินการยอมรับเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดินต่อการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรโดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD (Randomize Complete Block Design) มี 7 ตำรับ ดังนี้ ตำรับการทดลองที่ 1 วิธีเกษตรกร ตำรับการทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมี สูตรและตามอัตราแนะนำ ตำรับการทดลองที่ 3 ปุ๋ยหมัก (โดยใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่น) อัตรา 4 ตันต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 4 ปุ๋ยพืชสด ตำรับการทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมี สูตรและอัตรา ? ของอัตราแนะนำ + ปุ๋ยหมัก อัตรา 2 ตันต่อไร่ (โดยใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในท้องถิ่น) ตำรับการทดลองที่ 6 ปุ๋ยเคมี สูตรและอัตรา ? ของอัตราแนะนำ + ปุ๋ยพืชสด ตำรับการทดลองที่ 7 ปุ๋ยเคมี สูตรและอัตรา ? ของอัตราแนะนำ + น้ำหมักชีวภาพ ฉีดพ่นทุก 15 วัน โดยดำเนินการในแปลงเกษตรกร หมู่ที่ 8 บ.โนนพันชาด ต.นาข่า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2556-เดือนกันยายน 2559 รวมระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี ผลการทดลองพบว่า จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของดิน แสดงให้เห็นว่าแปลงที่มีการปรับปรุงบำรุงดิน เช่น ใส่ปุ๋ยหมัก ปลุกพืชปุ๋ยสด ก่อนทำการปลูกมันสำปะหลัง ค่าความหนาแน่นรวมของดินมีค่าลดลงเรื่อยๆ ทุกๆ ปี (กล่าวคือดินมีความร่วนซุยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ) ส่วนสมบัติทางเคมีของดิน ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินดีขึ้นหลังสิ้นสุดการทดลอง จากผลการทดลองทั้ง 3 ปี พบว่าตำรับการทดลองที่ 6 มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงที่สุดเมื่อเทียบกับตำรับอื่นๆ (ตำรับที่ 6 คือ ปุ๋ยเคมี สูตรและอัตรา ? ของอัตราแนะนำ + ปุ๋ยพืชสด) ส่วนตำรับที่ 4 ให้ผลผลิตรองลงมา (ตำรับที่ 4 คือ ปลูกพืชปุ๋ยสด) ดังนั้นพอสรุปได้ว่า การใช้พืชปุ๋ยสดร่วมกับปุ๋ยเคมีในอัตราลดลงครึ่งหนึ่ง (ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรลดลงด้วย) ทำให้ได้ผลผลิตมันสำปะหลังสูงสุด จากการประเมินการยอมรับของเกษตรกรต่อการใช้เทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดิน ในการเพิ่มผลผลิตมันสำประหลังพบว่า จากงานทดลองนี้ทำให้เกษตรกรได้รู้จักเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดินมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นการถ่ายทอดสู่เกษตรกรโดยตรง และเกษตรกรสามารถสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยตัวเอง เนื่องจากเกษตรกรมีส่วนร่วม ตั้งแต่การคิดตำรับการทดลอง การมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติทุกขั้นตอนจึงทำให้เกษตรกรทราบว่าสามารถนำไปปฏิบัติได้ไม่ยุ่งยาก ด้วยตัวเองและมีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดของเกษตรกรทำให้เข้าถึงและยอมรับเทคโนโลยี ของกรมพัฒนาที่ดินได้ง่ายขึ้นและตระหนักถึงการลดต้นทุน ประกอบกับการปรับปรุงบำรุงดินมากยิ่งขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Joint research project to maximize cassava production yield at lowest cost. The aim of this research was to find the suitable plantation strategy to increase cassava production at a reduced production cost. The research was conducted by co-operation with agriculturer at Ban Nonpunchad, Nakha Sub-distric, Muljakiri, Khon Kaen Province from October 2014 - September 2016Seven different experiments were performed by applying single and mix of different fertilizers and monitored cassava growth and production yields. In the first experiment, cassava was grown using traditional system. Experiment 2, cassava was grown by adding chemical fertilizer strictly to recommended instruction. Experiment 3 was performed by planting cassava using animal based fertilizer, which was locally produced, in a ratio of 4 tons/rai. Experiment 4 was performed by planting cassava and plant based fertilizer was applied. Experiment 5 was performed by planting cassava and applied with mix of ? of recommended chemical fertilizer and animal based fertilizer, locally produced, in a ratio of 2 tons/rai. Experiment 6 were performed by applying mix of chemical fertilizer and plant based fertilizer, locally produced, in the ratio of 2 tons/rai. It was found that applying animal based and plant based fertilizers to cassava plantation field improve physical soil properties making the soil suitable for cassava growth. The pH of soil was more suitable for cassava plantation after applying non-chemical fertilizers. By monitoring and comparing cassava production yields in all experiments, it was found that experiment 6 produced highest cassava production yield and experiment 4 gave second highest cassava production yield. Both experiment 4 and 6 reduced cassava production cost because locally plant based fertilizer was applied. Agriculturer at experiment cassava plantation field accepted the introduced method to maximize cassava yield at lowest cost. This is a good sign to increase co-operation between Land Development Department and cassava agriculturer.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดินกับการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2559
อาหารจากมันสำปะหลัง การพัฒนาศักยภาพการเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังภายใต้การจัดการปุ๋ยที่แตกต่างกัน แนวทางการลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลังและพัฒนาเครือข่ายของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา การใช้เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรโครงการหมู่บ้านมันสำปะหลังพัฒนาในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจัยที่มีผลต่อ ต้นทุนการผลิต ผลผลิต และผลตอบแทน จากการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ การพื้นฟูดินสันป่าตองด้วยหญ้าแฝกเพื่อเพิ่มผลิตมันสำปะหลัง สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรอำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ การจัดการน้ำและดินเพื่อเพิ่มผลผลิต: กรณีศึกษาการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังในเขตโครงการขลประทานชลบุรี การเปรียบเทียบความสามารถในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังโดยการใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก