สืบค้นงานวิจัย
การสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสม เพื่ออุตสาหกรรมเกษตรแช่แข็งในเขตภาคเหนือของไทย
ประวิตร พุทธานนท์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสม เพื่ออุตสาหกรรมเกษตรแช่แข็งในเขตภาคเหนือของไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Bi-color Sweet Corn Hybrid for Frozen Agro-Industry in Notrhern Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประวิตร พุทธานนท์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Prawit Puddhanon
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสม เพื่ออุตสาหกรรมการเกษตรแช่แข็ง เป็นโครงการวิจัยประยุกต์ด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช เพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสมดีเด่นไว้รองรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและการส่งออก โดยดําเนินการติดต่อกัน 4 ปี 15 ฤดูปลูก ตั้งแต่ปี 2548-2551 โดยมีขั้นตอนและวิธีการวิจัยต่อจากผลการวิจัยในช่วงปี 2542-2544 ดังนี้ เริ่มผสมผสานเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดหวานภายในประเทศไทยเข้ากับเชื้อพันธุกรรมจากต่างประเทศ ประยุกต์ใช่หลักการสร้างและปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสม ได้แก่ การเลือกเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดหวานที่ดี การสกัดสายพันธุ์โดยการผสมตัวเองรักษาและขยายสายพันธุ์โดยการผสมภายในพี่น้อง ตลอดจนผสมข้ามพันธุ์เพื่อสร้างพันธุ์ลูกผสม การเปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน ทดสอบไร่เกษตรกร และโรงงานอุตสาหกรรม การเกษตรแช่แข็ง ทางด้านผลผลิตและคุณภาพพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสม และคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมทั้งในมหาวิทยาลัยแม่โจ้และในไร่เกษตรกร ผลการวิจัยสรุปเป็นประโยชน์ที่ได้รับดังนี้ 1.) ได้พันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมสองสี ที่มีความหวานและอ่อนนุ่มอายุสั้นออกไหม 50% เฉลี่ย 46.5 วัน ความสูงต้นและความสูงฝัก 155.3 และ 55.6 ซม. อายุการเกี่ยว 65-66 วันความยาวฝัก 18.0 ซม. ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกและปอกเปลือกเฉลี่ย 2,732.8 และ 1,898.6 กิโลกรัมต่อไร่สูงกว่าพันธุ์มาตรฐาน NT58 ประมาณ 10-15% และปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมของภาคเหนือตอนบน โดยเฉพาะฤดูปลายฝน ฤดูแล้ง และฤดูฝน ตามลําดับ มีศักยภาพดีในอุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน แช่แข็ง 4 พันธุ์ได้แก่ พันธุ์ลูกผสม BSW5103 F1, BSW5104 F1, BSW5105 F1 และ BSW5102 F1 2.) ได้สายพันธุ์ที่เกิดความดีเด่นเหนือพ่อแม่ (heterotic pattern) เช่น (Ex1306 (W)S2-3-1 x BJ#137 S5-1-3-2#B-B) F1, (NT58WS#4-2#B#B#B#1 x No.40-7-1#1#B#B#2) F1, (EndeavorS3-1-1#1#1#B x NT58WS#4-2#B#B#B#1) F1, MJU 4058 F1, (NT58YS3#1-3#1#B#B#B x GP (W) S3 -3-1#1#B#B) F1, (No.40-7-1#1#B#B#2#B x Carbaret (W) S2-B-B) F1 และ 3.) ได้สายพันธุ์ที่มีสมรรถนะการผสมทั่วไปสูง (GCA) ได้แก่ Ex1306 W S6, No.40-7-1#1#B#B#2#B#1#1#1, NT58WS3#4-2#B#B#B#1, BJ#1357S9-1-3#1-2-1-2-1-1-1 และ EndeavorS4-1-1#1#1#B#B#1 แต่ก่อนที่จะเลือกเสนอขอรับรองพันธุ์และจดสิทธิบัตร จําเป็นต้อง ศึกษาแนวทางการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมทั้งการผลิตเมล็ดพันธุ์คัด เมล็ดพันธุ์หลัก และเมล็ดพันธุ์จําหน่ายในแปลงปลอดละอองเกสร (isolation plot) คณะผู้วิจัยเห็นควรให้นําผลสําเร็จที่ได้อย่างเป็นรูปธรรมของโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดปี 2542-44 และปี 2548-50 เสนอขอทุนสนับสนุนจากสํานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ในการต่อยอดเพื่อพัฒนาพันธุ์และสายพันธุ์สู่ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ SMEs ของประเทศไทยต่อไป
บทคัดย่อ (EN): frozen quality evaluation in factory, eventually selection of an elite Bi-color sweet corn hybrid varieties. The outcomes were as follows: 1.) obtained the 4 sweet and tenderness Bi-color sweet corn hybrids with average 50% silking date of 46.5 days. Others agronomic characteristics such as plant and ear heights were 155.3 and 55.6 cm., harvesting date within 65-66 days, 18 cm. ear length. Green and yellow yield of 2,732.8 and 1,898.6 kg./rai which were 10-15 % higher than standard variety; NT58, adaptable to upper north environment especially late rainy, dry, rainy seasons with high potential for frozen sweet corn. The varieties were BSW5103 F1, BSW5104 F1, BSW5105 F1 and BSW5102 F1 2.) High heterotic pattern were found between (Ex1306(W)S2-3-1 x BJ#137S5-1-3-2#B-B) F1, (NT58WS#4-2#B#B#B#1 x No.40-7-1#1#B#B#2) F1, (EndeavorS3-1-1#1#1#B x NT58WS#4-2#B#B#B#1) F1, MJU 4058 F1, (NT58YS3#1-3#1#B#B#B x GP (W) S3-3-1#1#B#B) F1, (No.40-7-1#1#B#B#2#B x Carbaret (W) S2-B-B) F1 and 3.) obtained the inbred lines with high GCA such as Ex1306 W S6, No.40-7-1#1#B#B#2#B#1#1#1, NT58WS3#4-2#B#B#B#1, BJ#1357S9-1-3#1-2-1-2-1-1-1 and Endeavor S4-1-1#1#1#B#B#1. Before variety registration and patent, the hybrid seed production process has to be well established for breeder, foundation and commercial seed in the isolation plots. It is suggested that all the relevant outcomes from the research projects from 1999-2001 and 2005-2008 should propose for a further research fund from Agricultural Research Development Agency (ARDA) in order to commercially distribute the inbred lines and parents to Thai Small and Medium Enterprises (SMEs).
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-48-005/49-003/50-006
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 300,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2550
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานสองสีลูกผสม เพื่ออุตสาหกรรมเกษตรแช่แข็งในเขตภาคเหนือของไทย
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2550
การสร้างพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมคุณภาพเพื่ออุตสาหกรรมการเกษตร การพัฒนาศักยภาพของระบบการผลิตกุ้งก้ามกรามในเขตภาคเหนือ ความสามารถในการรวมตัวของสายพันธุ์แท้ข้าวโพดหวานที่มีขนาดฝักแตกต่างกันใน ลักษณะผลผลิต และลักษณะทางการเกษตร ผลของอุณหภูมิในการเก็บรักษาต่อการเปลี่ยนแปลงความหนืด ของข้าวพันธุ์ต่างๆ การสร้างพันธุ์ข้าวโพดไร่พันธุ์ลูกผสมเดี่ยวสำหรับเกษตรกรในภาคเหนือ สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย การศึกษาเปรียบเทียบการปลูกกัญชงทดแทนข้าวโพดในเขตพื้นที่สูงของภาคเหนือตอนบน ผลของสารเคลือบที่มีต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเพื่อเพิ่มผลผลิตในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวเหนียวในเขตภาค-เหนือของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก