สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนากรรมวิธีผลิตสารไมโรเอสทรอลจากกวาวเครือขาวและการประดิษฐ์เวชสำอางค์ตำรับเจลไมโรเอสทรอลต้นแบบ
กนกวรรณ จารุกำจร - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากรรมวิธีผลิตสารไมโรเอสทรอลจากกวาวเครือขาวและการประดิษฐ์เวชสำอางค์ตำรับเจลไมโรเอสทรอลต้นแบบ
ชื่อเรื่อง (EN): Process development for production of miroestrol from Pueraria candollei var. mirifica and invention of miroestrol cosmeceutical gel prototype formulation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กนกวรรณ จารุกำจร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kanokwan Jarukamjorn
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนากรรมวิธีผลิตสารไมโรเอสทรอลจากกวาวเครือขาวและการประดิษฐ์เวชสำอางค์ตำรับเจลไมโรเอสทรอลต้นแบบ” แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรรมวิธีการเพิ่มผลผลิตสารไมโรอิสทรอลในเซลล์เพาะเลี้ยงกวาวเครือขาว และเพิ่มศักยภาพในการผลิตสารในภังเพาะเลี้ยงที่สูงกว่าปริมาณที่พบในธรรมชาติไม่น้อยกว่า 10 เท่า จากการศึกษาวิจัย พบว่า การเหนี่ยวนำแคลลัสจากสูตรอาหารที่เหมาะสมในการสร้างสารกลุ่ม chromenes และนำไปเพาะเลี้ยงในอาหารเหลวเพื่อเพาะเลี้ยงเซลล์แขวนลอย พบว่า แคลลัสที่ได้จากการเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว ที่มีสารควบคุมการเจริญเติบโต TDZ NAA และ BA สามารถเจริญเติบโตได้ดี ส่วน การนำแคลลัสไปเพาะเลี้ยงในอาหารเหลวเพื่อเพาะเลี้ยงเซลล์แขวนลอย แสดงให้เห็นว่าสาร methyl jasmonate และสารสกัดยีสต์ สามารถเพิ่มการสร้างสารกลุ่ม chromene ได้สูงสุด 3 วันภายหลังเติมสารกระตุ้น แต่ควรทำการเลือกใช้สารกระตุ้น methyl jasmonate ในการกระตุ้นเซลล์เพาะเลี้ยง ซึ่งการเพาะเลี้ยงในถังเพาะเลี้ยงมีศักยภาพในการนำไปใช้ในการเพิ่มกำลังการผลิตจากการเพาะเลี้ยงในขวด โดยระยะเวลาของเซลล์ที่เหมาะสมในการเติมสารกระตุ้นคือช่วง 20-30 วันของการเพาะเลี้ยง การพัฒนาตำรับเจลยาทาผิวหนังสูตรตำรับ Hydroalcoholic gel มีความเหมาะสมที่จะนำไปทำการศึกษาความคงตัวทางกายภาพของตำรับและความคงตัวของไมโรเอสทรอลในตำรับ การประเมินความคงตัวทางด้านกายภาพของตำรับ Hydroalcoholic gel บรรจุในหลอดอะลูมิเนียมและเก็บในตู้เย็น (ช่องธรรมดา) เป็นระยะเวลา 12 เดือน พบว่าสภาวะที่เหมาะสมสำหรับเก็บรักษาตำรับ Hydroalcoholic gel ของไมโรเอสทรอลคือ การบรรจุในหลอดอะลูมิเนียมและเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4-8ºC (ในตู้เย็น ช่องธรรมดา) ผลการทดสอบ Mirror maze test หนูที่ถูกตัดรังไข่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะซึมเศร้าเมื่อเปรียบเทียบกับหนูปกติ และในหนูที่ถูกตัดรังไข่แล้วได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน พบว่าภาวะเครียดวิตกกังวลและซึมเศร้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และหนูที่ได้รับสารทดสอบ miroestrol ก็ให้ผลลดภาวะเครียดวิตกกังวลและซึมเศร้าได้เช่นเดียวกับการให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน เมื่อศึกษาผลของไมโรเอสทรอลต่อการแสดงออกของยีนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่ระดับ mRNA พบว่า ไมโรเอสทรอล มีแนวโน้มเพิ่มการแสดงออกของยีนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานปกป้องสมองของเอสโตรเจน นอกจากนี้ยังพบว่า ไมโรเอสทรอล ยังสามารถยับยั้งการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิซึมของสารก่อมะเร็งต่างๆ จากการทดสอบการระคายเคืองต่อผิวหนัง และการทดสอบอาการแพ้หรือความไวต่อผิวหนัง พบว่าเจลไมโรเอสทรอลต้นแบบ PM_KKU01 และเจลพื้น B_KKU01 ไม่จัดเป็นสารกลุ่มระคายเคืองและไม่เป็นสารก่ออาการแพ้ทางผิวหนัง เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์คู่เทียบ PM_09 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทาภายนอกกวาวเครือขาวที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ที่ตรวจวิเคราะห์พบปริมาณไมโรเอสมรอลและดีออกซีไมโรเอสทรอลสูงที่สุดในกลุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่วิเคราะห์ทั้งหมด 16 รายการ ในขณะเดียวกัน ผลการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันต่อผิวหนังของตำรับเจลไมโรเอสทรอลต้นแบบ ไม่พบว่าเจลไมโรเอสทรอลต้นแบบ PM_KKU01 เป็นตำรับที่ก่อให้เกิดความเป็นพิษเฉียบพลันต่อผิวหนัง ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยได้ กรรมวิธีการกระตุ้นการผลิตสารดีออกซีไมโรเอสทรอลจากกวาวเครือขาวด้วยการเพาะเลี้ยงเซลล์แขวนลอย สูงกว่าธรรมชาติ และได้กรรมวิธีการประดิษฐ์เวชสำอางรูปแบบทาภายนอกไมโรเอสทรอลต้นแบบ เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://epms.arda.or.th/src/Research/OldSummaryProjectDetail_web.aspx?ID=262
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP อนุสิทธิบัตร
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ กรรมวิธีการกระตุ้นการผลิตสารดีออกซีไมโรเอสทรอลจากกวาวเครือขาวด้วยการเพาะเลี้ยงเซลล์แขวนลอย
เลขที่คำขอ 1403001065
วันที่ยื่นคำขอ 2014-09-12 12:00:00
เลขที่ประกาศ 14091
วันที่จดทะเบียน 2018-07-17 12:00:00
เลขที่จดทะเบียน 14091
วันที่ประกาศ 2018-07-17 12:00:00
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนากรรมวิธีผลิตสารไมโรเอสทรอลจากกวาวเครือขาวและการประดิษฐ์เวชสำอางค์ตำรับเจลไมโรเอสทรอลต้นแบบ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2557
เอกสารแนบ 1
การพัฒนากรรมวิธีผลิตสารไมโรเอสทรอลจากกวาวเครือขาวและการประดิษฐ์เวชสำอางค์ตำรับเจลไมโรเอสทรอลต้นแบบ การเพิ่มมูลค่าข้าวไทยด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย: การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพโพรไบโอติกและเวชสำอางจากผลิตผลพลอยได้จากกระบวนการหมักข้าว ฮางงอกและข้าวก่ำสาายพันธุ์ KKU URL0381 (ต่อเนื่องปีที่ 2) การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ปริมาณสารออกฤทธิ์และฤทธิ์เอสโตรเจนิกของกวาวเครือขาวในแปลงปลูก การออกแบบและประดิษฐ์เครื่องควักไส้ปลา การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร ศึกษาการงอกของเมล็ดกวาวเครือขาว ผลของการใช้กวาวเครือขาวต่อสมรรถภาพการผลิตของนกกระทาเพศผู้ ผลการเสริมกวาวเครือขาวต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่เนื้อสายพันธุ์การค้า การขยายพันธุ์กวาวเครือขาวแบบไม่ใช้เพศ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก