สืบค้นงานวิจัย
ผลของความเค็มที่ลดลงต่อองค์ประกอบเลือดภูมิคุมกัน และการติดเชื้อ Streptococcus iniae ในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)
จิราภรณ์ จรุงศรีอภิสิทธิ์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของความเค็มที่ลดลงต่อองค์ประกอบเลือดภูมิคุมกัน และการติดเชื้อ Streptococcus iniae ในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Salinity Changing on Streptococcus sp. Infection in Sea Bass (Lates calcarifer Bloch, 1790)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จิราภรณ์ จรุงศรีอภิสิทธิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): ๋Jiraporn Jarungsriapisit
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาผลการลดความเค็มจาก 15 ppt (ส่วนในพัน) เป็น 0 ppt และการแช่เซื้อ Streptococcus inige ต่อองค์ประกอบเลือด ได้แก่ กลูโคส โซเดียม และคลอไรด์ คำเม็ดเลือดแดงอัดแน่น การตอบสนองของภูมิคุ้มกันสารน้ำ และอัตราการตายของปลา กะพงขาว พบว่าที่ 0.5 ชั่วโมง ระดับกลูโคสของปลาชุดการทดลองที่ลดความเค็มเพียงอย่างเดียวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและ กลับสู่ระดับปกติภายใน 24 ชั่วโมง ระดับโซเดียมและคลอไรด์ของทุกชุดการทดลองที่มีการลดความเค็ม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่นของทุกชุดการทดลองไม่แตกต่างกัน คอมพลีเมนต์ (alternative complement; ACH50) ของชุดการทดลองที่ได้รับเชื้อ ร. nice เพียงอย่างเดียวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ที่ 6 ชั่วโมง ไลโซไชม์ (lysozyme) ของชุดการทดลองที่มีการลดความเค็มหรือได้รับเชื้อ s. nige เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ที่ 6 ชั่วโมง และพบการกดการทำงาน Lysozyme และแนวโน้มการกตการทำงานของ ACH50 ในชุดการทดลองที่มีการเปลี่ยนแปลงความเค็ม เป็นเวลา 2 วัน เมื่อศึกษาอัตราการตายของปลากะพงขาวพบว่า การลดความเค็มเพียงอย่างเดียวไม่ส่งผลให้ปลากะพงขาวตาย แต่การตายเกิดขึ้นเมื่อปลาได้รับ เชื้อ ร. inige โดยอัตราการตายของปลาชุดที่ได้รับเชื้อเพียงอย่างเดียว ชุดที่ลดความเค็ม ร่วมกับการฉีดเชื้อ s. inice และชุดหลังจากลดความเค็มเป็นเวลา 2 วันแล้วให้เชื้อ คิดเป็น 13.3%, 40.0% และ 26.7% ตามลำดับ จึงยืนยันได้ว่าปลากะพงข้าวสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงความเค็มจากความเค็มระดับ 15 ppt เป็น 0 ppt อย่างฉับพลันได้ แต่มีผลกระทบต่อสุขภาพทำให้ติดเชื้อ s. inioe ได้ง่ายขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Effect of salinity changing from 15 ppt (part per thousand) to 0 ppt and bath challenge of Streptococcus iniae on blood compositions (plasma glucose, sodium and chloride), hematocrit, humoral immune responses (complement and lysozyme activity) and mortality rate in sea bass (Lates calcarifer) were investigated. At 0.5 h, level of plasma glucose was significantly increased in a treatment with salinity change solely and returned to normal level within 24 h. In all salinity changing treatments, decrease of sodium and chloride were observed. There is no significant difference in hematocrit value. At 6 h, increases of lysozyme activity in treatment with salinity change or 5. inioe challenge were significant while increase of complement activity can only be found in treatment with 5. inioe challenge. However, the significant reduction of lysozyme activity and similar downward trend in complement activity were found in both treatments exposed to salinity change for 2 days. No mortality was observed in treatment without 5. iniae exposure. The mortality rate of following treatments; s. inige challenge solely, salinity change plus 5. iniae and salinity change for two days then exposed to 5. iniae, were 13.3, 40.0 and 26.7 %, respectively. The results support the characteristic of euryhaline osmoconformer of sea bass. However, the health can be impaired by unfavorable salinity.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 170,000.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของความเค็มที่ลดลงต่อองค์ประกอบเลือดภูมิคุมกัน และการติดเชื้อ Streptococcus iniae ในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)
กรมประมง
31 มีนาคม 2555
กรมประมง
ผลของอัตราการใช้ยาและระดับความเค็มต่อระยะเวลาการตกค้างของออกซี่เตตร้าซัยคลีนในปลากะพงขาว(Lates calcarifer Bloch, 1790) ผลของอัตราความหนาแน่นต่อการติดเชื้อ Streptococcus iniae ในปลากะพงขาว, Lates calcarifer (Bloch) ผลของสารสกัดหยาบฟ้าทะลายโจรต่อระบบภูมิคุ้มกันและความต้านทานเชื้อสเตรปโตคอคคัสในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงในกระชัง การตอบสนองของภูมิคุ้มกันและการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของน้ำเลือดปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) หลังการติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส การยอมรับเชื้อ Streptococcus agalactiae ที่แยกจากปลากะพงขาว(Lates calcarifer Bloch,1790) ในปลาเศรษฐกิจบางชนิด การแทนที่ปลาป่นด้วยแพลงก์ตอนสัตว์ในอาหารปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) การจัดการอนุบาลลูกปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch,1790) อายุ 1-60 วัน ในระบบน้ำหมุนเวียน ผลของระยะเวลาและการเสริมเบต้ากลูแคน ( ß - Glucan) ที่ระดับต่างกันในปลากะพงขาว ( Lates calcarifer, Bloch 1790) เปรียบเทียบรูปแบบการใส่ปุ๋ยในการอนุบาลลูกปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ในบ่อดิน ผลของเบต้ากลูแคนต่อองค์ประกอบเลือด ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ และความต้านทานโรคสเตรปโตคอคคัสในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก