สืบค้นงานวิจัย
โครงการพัฒนาแผนแบบเครื่องลดความชื้นและบดย่อยสารฝนหลวงให้พร้อมใช้งานบนอากาศยาน
ประยูร สุรินทร์ - กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการพัฒนาแผนแบบเครื่องลดความชื้นและบดย่อยสารฝนหลวงให้พร้อมใช้งานบนอากาศยาน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประยูร สุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Prayoon Surin
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา และพัฒนาเครื่องลดความชื้นและการบดย่อยสารฝนหลวงให้พร้อมใช้งานบนอากาศยาน ในแต่ละปีมีการใช้กลือแป้งทำฝนหลวง ซึ่งเป็นสารทำฝนมฆอุ่นที่สำคัญที่สุด เพราะจะใช้ในขั้นตอนก่อเมฆโจมตีและ ซุปเปอร์แซนด์วิชร่วมกับยูเรีย สำหรับเกลือแป้งที่ค้างสต๊อกจำนวนมาก เมื่อเก็บไว้นานเกิดการจับตัวกันเป็นก้อน สาเหตุของการแข็งตัวเกิดจากความชื้นจากภายนอกแทรกเข้าไปในถุงบรรจุหรือถุงบรจุเกิดการแตก ซึ่งในการออกแบบ เครื่องดังกล่าวจะใช้กับเกลือแป้งที่แข็งตัวและเกลือปันจากแหล่งผลิตเกลือทะเล สำหรับรูปแบบการพัฒนาการลดความชื้น และการบดย่อยสารฝนหลวงในปัจจุบัน เป็นระบบการผลิตที่ปรับปรุงการทำงานให้ระบบการผลิตเกลือแป้งให้มีประสิทธิภาพ และสามารถผลิตได้ด้วยอัตราการผลิตเพียงพอต่อความต้องการใช้ปฏิบัติการฝนเทียมของศูนย์ต่างๆ รวมทั้งคุณภาพตาม มาตรฐานของสำนัก ฝนหลวงและการบินเกษตรกำหนด โดยระบบของเครื่องเป็นระบบปิดทำให้สามารถควบคุม อุณหภูมิ ความชื้น ของระบบได้อย่างดี ทำให้เกลือที่ผลิตได้มีความชื้นที่เหมาะสม อันจะส่งผลโดยตรงกับคุณภาพของเกลือที่ได้ สำหรับระบบการผลิตได้เลือกใช้การตีเม็ดเกลือ และใช้เครื่องบดละเอียด ซึ่งเป็นเครื่องบดที่สามารถบดเกลือให้ได้ขนาดตาม มาตรฐานของสำนักฝนหลวงฯ และเป็นระบบการผลิตที่ทำการผลิตอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองต่อความต้องการใช้กลือแป้งใน แต่ละครั้ง สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ได้เริ่มต้นการวิจัย สถาบันได้เสนอการพัฒนาเครื่องลดความชื้นและการบดย่อย สารฝนหลวงให้พร้อมใช้งานบนอากาศยาน เกลือสารฝนหลวงชนิด Drying 'taditional Sat โดยได้ทำการออกแบบและ สร้างต้นแบบเครื่องเพื่อให้สะดวกในการใช้งานในศูนย์ปฏิบัติการ ใช้ระบบการให้ความร้อนสำหรับลดความชื้น ในสารฝนหลวงและทำการแยกเกลือแป้งด้วยไซโคลน จากผลการทดลองได้ปริมาณการผลิตเป็น 19.2 ตันต่อวัน โดยขนาดอนุภาคเกลือ 100 - 120 เมช ซึ่งเครื่องลดความชื้นและการบดย่อยสารฝนหลวง เป็นการผลิตฝนหลวง แบบระบบปิด สามารถผลิตสารฝนหลวงได้ขนาดและความชื้นตามมาตรฐาน สามารถผลิตและติดตั้ง ณ สถานีปฏิบัติการ ในแต่ละศูนย์ เพื่อผลิตและเตรียมสารฝนหลวงที่สนามบินได้ทันทีก่อนทำการขึ้นบินโดยสามารถผลิตได้พอเพียงแบบ วันต่อวันทำให้ไม่จำเป็นต้องเก็บสต็อกชื่งการเก็บสารฝนหลวงสามารถรองรับความต้องการผลิตฝนหลวงในแต่ละฤดูได้อย่าง พอเพียง
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 600000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-
เอกสารแนบ: http://164.115.23.116:8060/Frontend/download?DocumentID=35&fileIndex=0&originalFileName=15%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9D%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2551
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยประยุกต์
เผยแพร่โดย: กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการพัฒนาแผนแบบเครื่องลดความชื้นและบดย่อยสารฝนหลวงให้พร้อมใช้งานบนอากาศยาน
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
2551-
เอกสารแนบ 1
ประดิษฐ์คิดค้นสารฝนหลวง E-Substance เป็นนวัตกรรมใหม่ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี โครงการชะลอการแข็งตัวของสารเกลือแป้งฝนหลวง โครงการ พัฒนาเยาวชนบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 5 โครงการวิเคราะห์ปริมาณสาร THC ในเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 1 โครงการคัดเลือกสายพันธุ์เฮมพ์ที่มีปริมาณสาร THC ต่ำ โครงการวิเคราะห์เพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร การวิจัยและพัฒนาเครื่องลดความชื้นช่อดอกกล้วยไม้แบบอุโมงค์ลม โครงการศึกษาพัฒนาระบบพยากรณ์อากาศสภาวะอากาศชั้นบนช่วยในการตัดสินใจในการปฏิบัติการฝนหลวง (ภาคกลาง) โครงการพัฒนาอุปกรณ์ระบบบดผสมและโปรยสารฝนหลวงให้พร้อมใช้งานที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก