สืบค้นงานวิจัย
การประเมินความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิตของการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทย
แชบเบียร์ กีวาลา - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การประเมินความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิตของการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Life cycle environmental sustainability assessment of oil palm plantation in Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: แชบเบียร์ กีวาลา
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทย โดยใช้ตัวชี้วัดที่ สำคัญ 3 ประเด็น คือ (1) การปล่อยก๊ซเรือนกระจกตลอดวัฎจักรชีวิตหรือคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (2) วอเตอร์ฟุตริ้นท์ และ (3) ความ เสี่ยงต่อพื้นที่ที่มีคุณค่าสูงต่อการอนุรักษ์ ซึ่งทั้งสามประเด็นนี้ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญต่อการรับรองมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์ม อย่างยั่งยืน และมาตรฐานการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืนในระดับสากล การศึกษาอาศัยหลักการประเมินตลอดวัฏจักรชีวิต ของการปลูกปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่การเตรียมกล้ การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่งที่เกี่ยวข้องในทุก ขั้นตอน โดยได้สำรวจข้อมูลปฐมภูมิจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันใน 21 จังหวัด รวม 830 ราย เพื่อวิเคราะห์ผล จำแนกเป็นรายภูมิภาคและรายจังหวัด ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าคำเฉลี่ยของการปล่อยก๊ซเรือนกระจกต่อตันปาล์มสด (หน้า สวน) ในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันไปในช่วงตั้งแต่ 64 - 225 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ขึ้นกับพื้นที่และแนว ปฏิบัติที่ใช้ในการปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งจะนำไปสู่ผลผลิตต่อไร่ที่แตกต่างกันไปโดยพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันใหม่ เช่น ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือจะมีค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊ซเรือนกระจกต่อตันผลิตภัณฑ์ปาล์มสดสูงกว่าภาคอื่นๆ เมื่อพิจารณา ที่ช่วงอายุปาล์มที่เท่ากัน ขณะที่คำเฉลี่ยการปล่อยก็ซเรือกระจกต่อตันผลิตภัณฑ์ปาล์มสดในภาคตะวันออกจะมีค่ต่ำสุด และ หากจำแนกตามแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกเพื่อนำไปสู่การดำเนินมาตรการเพื่อลดหรือควบคุมผลกระทบให้เกิดน้อยที่สุดต่อไป ตามหลักเกณฑ์ของ RSPOพบว่า สำาเหตุหลักของการเกิดก๊ซเรือนกระจกมาจากการใช้ปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุยไนโตรเจน รองลงมา ได้แก่การใช้เชื้อเพสิงในกิจกรรมการเกษตรและการขนส่งวัตถุดิบ ซึ่งพบว่าในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีผลกระทบ ด้านการขนส่งมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ เพื่อไปปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทยอาจ เป็นได้ทั้งการเพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอนหากเป็นการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชไร่หรือข้าวไปเป็นปาล์มน้ำมัน และแหล่งกำเนิดก๊าซเรือน กระจกกรณีที่เป็นการบุกรุกบำไม้เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ในด้านวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ คำาเฉลี่ยความต้องการใช้น้ำฝน และน้ำชลประทานของปาล์มน้ำมันในประเทศไทยจะอยู่ในช่วง 615-2,975 ลบ.ม. และ 183-1,799 ลบม.ต่อตันปาล์มสด ตามลำดับ ตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ แต่หากพิจารณาร่วมกับคำ ตัวชี้วัดความตึงเครียดด้านน้ำของแต่ละลุ่มน้ำหลักของประเทศไทย จะพบว่า การขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือจะมีความสี่ยงสูงที่สุดต่อการก่อให้เกิดความตึงเครียดด้านน้ำในพื้นที่ ในด้านผลกระทบต่อพื้นที่อนุรักษ์และ พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน พบว่ ประมาณร้อยละ 3.5 ของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งหมดของไทยที่ทับซ้อนไปในเขตพื้นที่อนุรักษ์ตาม นิยามกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปำา และพันธุ์พีชอย่างไรก็ตามการสำรวจพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันใหม่พบว่าส่วนใหญ่เป็นการ เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินประเภทสวนผลไม้ นาข้าวเก่า และพืชไร่ตามลำดับ รวมถึงยังมีการพบสัตว์อนุรักษ์ในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งผล การศึกษาได้นำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางสำหรับการพัฒนาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของการปลูกปาล์มน้ำมันของไทย รวมถึงการได้ข้อมูลต้านสิ่งแวดล้อมของการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทยที่จะเป็นข้อมูลฐานที่สำคัญสำหรับสนับสนุนการ ตัดสินใจเชิงนโยบายการส่งเสริมการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป เช่น การส่งเสริมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันใหมใน อนาคต
บทคัดย่อ (EN): The study assessed the environmental sustainability of oil palm plantation in Thailand using three indicators i.e. (1) Life cycle greenhouse gas (GHG) emissions or Carbon Footprint (CF), (2) Water Footprint (WF) and (3) High Conservation Value (HCV) areas. These are the key environmental sustainability indicators in the international standards such as Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) and Sustainable Biofuels Production. The scope of life cycle of oil palm plantation for assessment included the seedling, oil palm planting, treatment, fresh fruit bunch (FFB) harvesting and transportation of raw materials associated in each life cycle stage. Primary data was collected from 830 palm growers in 21 provinces of Thailand in order to representing the results by regions and provinces. The results showed that the average life cycle GHG emissions per ton FFB (at farm gate) varied from 64 - 225 kg COzeq depending on the location of plantations and farming practices which in turn resulted in different FFB yields. The new oil palm plantation areas in the Northeastern and Northern Thailand have higher GHG emissions as compared to other regions (comparison based on same age of oil palm). Meanwhile, the lowest average GHG emission was found for the Eastern region. Chemical fertilizer, especially N - fertilizer used, was the major contributor to the GHG emissions of oil palm plantation, followed by the fuel used for plantation activities and transport. The GHG emissions caused by transportation in the North and Northeastern regions were also significantly higher than oil palm plantations in the other regions. In addition, the land-use change for new oil palm plantation in Thailand can be considered as carbon sink for the case of cropland or oil paddy field converted to oil palm; or else, can be considered as the GHG emissions source for the case of forest land converted to oil palm. In terms of Wf, the green water footprint (rain water) and blue water footprint (irrigation water requirement) for oil palm plantation in Thailand ranged between 615- 2,975 m and 183-1,749 m/ton FFB, respectively. The results were varied by geographical and climate conditions in each of the planted areas. On introducing the Water Stress Index (WSI) for each watershed of Thailand to determine the impacts of water use, the results indicated that the expansion of new oil palm plantations in the Northern region potentially induced the highest impacts of water resources. When evaluating the impacts of existing oil palm plantations on the protected areas as defined by the Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, the encroached areas were about 3.5% of total oil palm plantation areas. However, for the new oil palm plantation areas which were focused by RSPO, the survey found that the main type of land that was converted to oil palm was the land for perennial crops e.g. fruit orchards, followed by the paddy field and cropland. Some rare species of plants and animals were still found by palm growers but they normally lacked knowledge on HCV area. Recommendations have been provided for improving the environmental sustainability of oil palm plantations in Thailand. The obtained life cycle inventory of oil palm plantation in Thailand from the study could also be further used as baseline information for supporting policy decision making on the sustainable oil palm plantation promotion in the future e.g. zoning policy for new oil palm plantations. ประโยชน์โครงการ:
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิตของการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทย
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
30 กันยายน 2556
สถานการณ์เกษตรและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบัน การประเมินความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมตลอดวัฎจักรชีวิตของการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทย การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การประเมินความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมตลอดวัฎจักรชีวิตของการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทย การศึกษาภาวะการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการปลูกปาล์มน้ำมันของประเทศไทย (7 ต.ค. 2557) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา (D x P) และการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมแก่เกษตรกร การทดสอบเทคโนโลยีการควบคุมหนูศัตรูปาล์มน้ำมันในแปลงปลูกปาล์มน้มันใหม่ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่ 2 การจัดทำระบบฐานข้อมูลการผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก