สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับความต้านทานโรคใบจุดก้างปลาของยางพารา
พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับความต้านทานโรคใบจุดก้างปลาของยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Development of Molecular Marker Involved in the Resistance to Corynespora cassiicola Leaf Spot in the Rubber Tree
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โรคใบจุดก้างปลายางพาราเป็นสาเหตุหนึ่งซึ่ง IRRDB จัดเป็นสาเหตุสำคัญที่เป็นตัวจำกัดผลผลิต ปัจจุบันพบว่า มีเชื้อสายพันธุ์รุนแรงซึ่งสามารถเข้าทำลายพันธุ์ยางที่เคยต้านทานโรคได้ จึงทำการศึกษากลไกของความต้านทานโรค เพื่อพัฒนาหา marker ที่จะใช้บ่งบอกระดับความต้านทานโรค การปลูกเชื้อบนใบยาง 13 พันธุ์ด้วยวิธี detached leaf technique โดยใช้ mycelial disc และ spore suspension พบว่า พันธุ์ยางแสดงความอ่อนแอเมื่อปลูกเชื้อด้วย mycelial disc มากกว่าการปลูกเชื้อด้วย spore suspension ยางบางพันธุ์แสดงความต้านทานเมื่อปลูกเชื้อด้วย spore suspension อาจเกี่ยวข้องกับกลไกความต้านทานโรคในพืช จึงทำการศึกษายีนที่เกี่ยวข้องกับกลไกความต้านทานโรคจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ -1,3-glucanase, chitinase, phenylalanine ammonia lyase, chalcone synthase และ catalase ในขั้นแรกทำการโคลนส่วนของยีน phenylalanine ammonia lyase และ chalcone synthase ซึ่งยังไม่มีรายงานลำดับเบสใน Genbank โดยออกแบบ degenerate primer จากลำดับกรดอะมิโนที่เหมือนกันซึ่งเคยมีรายงานในพืชชนิดอื่นๆ ในการทำ PCR ผลปรากฏว่า ได้ชิ้นส่วนของ DNA ขนาดประมาณ 536 และ 617 คู่เบสตามลำดับ จึงนำมาเชื่อมต่อเข้ากับเวคเตอร์ pCR2.1-TOPO และถ่ายเข้าสู่ E. coli TOP10 แล้วนำไปวิเคราะห์หาลำดับเบส พบว่า ส่วนของยีน phenylalanine ammonia lyase มีความเหมือนกับยีน phenylalanine ammonia lyase ของ Manihot esculenta 91% ในขณะที่ส่วนของยีน chalcone synthase มีความเหมือนกับยีน chalcone synthase ของ Citrus sinensis 80% ซึ่งยืนยันได้ว่าส่วนของยีนที่โคลนได้เป็นยีนที่ต้องการจริง สำหรับยีน -1,3-glucanase, chitinase, และ catalase นั้นได้ใช้ข้อมูลลำดับเบสที่มีรายงานใน Genbank ในการออกแบบ primer และโคลนยีนสำหรับใช้ในการศึกษาการแสดงออกของยีน ซึ่งสามารถเพิ่มปริมาณส่วนของยีน -1,3-glucanase, chitinase I, chitinase III ที่มีขนาดประมาณ 915, 735 และ 905 คู่เบส ตามลำดับ ส่วนยีน catalase จะทำการเพิ่มปริมาณต่อไปเพื่อนำมาใช้ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของการแสดงออกของยีนในพันธุ์ยางเมื่อถูกเชื้อ C. cassiicola เข้าทำลาย และหาความสัมพันธ์กับระดับความต้านทานโรค
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับความต้านทานโรคใบจุดก้างปลาของยางพารา
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กลุ่มวิจัยยางพารา การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation ความต้านทานโรคใบจุดก้างปลาของยางพันธุ์ สถาบันวิจัยยาง 250 และ สถาบันวิจัยยาง 251 การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อรา Corynespora cassiicola สาเหตุโรคใบจุดก้างปลาของยางพาราโดยชีววิธี ความต้านทานโรคประจำถิ่นของยางพันธุ์แนะนำชั้น 1, 2 และ 3 ในเขตภาคใต้ตอนบน ความต้านทานโรคใบจุดคอลเลโทตริกัมของยางพารา การศึกษายีนต้านทานโรคในยางพาราเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ยาง โครงการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับความต้านทานเชื้อ Phytophthora ในยางพารา โครงการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่สัมพันธ์กับความต้านทานเชื้อ Corynespora ในยางพารา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก