สืบค้นงานวิจัย
ความเสียหายต่อระบบนิเวศและพืชผลการเกษตรโดยหมูป่า (Sus scrofa) ในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชและพื้นที่โดยรอบ
พงศ์เทพ สุวรรณวารี - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ชื่อเรื่อง: ความเสียหายต่อระบบนิเวศและพืชผลการเกษตรโดยหมูป่า (Sus scrofa) ในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชและพื้นที่โดยรอบ
ชื่อเรื่อง (EN): Damage to ecosystem and crops by wild boar (Sus scrofa) in and around Sakaerat Environmental Research Station
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พงศ์เทพ สุวรรณวารี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: หมูป่าเป็นสิ่งมีชีวิตรุกรานสำคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ และผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อพืชผลทางการเกษตรในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแพร่กระจายของหมูป่าและการทำลายระบบนิเวศในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช และผลกระทบต่อการเกษตรในพื้นที่ใกล้เคียงสถานีวิจัย ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ถึงกันยายน พ.ศ. 2556 โดยวิธีการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ และการเดินสำรวจร่องรอยหมูป่าตามแนวเส้น ในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช และการสัมภาษณ์เกษตรกรที่อยู่โดยรอบสถานีฯ ผลการศึกษาจากการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์สามารถบันทึกภาพของสัตว์ป่าได้ทั้งสิ้น 21 ชนิด ประกอบด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 15 ชนิด นก 4 ชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน 2 ชนิด โดยพบหมูป่าแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในป่าปลูก ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง จากการเดินสำรวจพบความหนาแน่นของร่องรอยหมูป่าเท่ากับ 241 ร่องรอยต่อตารางกิโลเมตร ปัจจัยทางสิ่งแวดล?อมที่มีความสัมพันธ?ต?อการเลือกใช?พื้นที่อยู่อาศัยของหมูป่ามากที่สุด คือ ระยะทางถึงแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น (ร้อยละ 40.3) รองลงมา คือ ประเภทป่า (ร้อยละ 24.7) และการปรากฎของมนุษย์ (ร้อยละ 16.2) ระบบนิเวศป่าที่มีความเสี่ยงต่อการถูกทำลายมากที่สุด คือ ป่าปลูก คิดเป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้งหมด รองลงมาคือ ป่าดิบแล้ง (ร้อยละ 11) และป่าเต็งรัง (ร้อยละ 5) จากข้อมูลการสัมภาษณ์ พบพื้นที่การเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากหมูป่ารวม 45 ไร่ 2 งาน พืชที่ถูกทำลายมากที่สุด คือ มันสำปะหลัง และเกษตรกรต้องสูญเสียรายได้ในช่วงปี พ.ศ. 2555-2556 คิดเป็นร้อยละ 10.6 ของรายได้โดยรวมตลอดทั้งปี ดังนั้น สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ควรมีมาตราการในการจัดการสัตว์ป่าและพื้นที่เพื่อป้องกันการสูญเสียรายได้ของเกษตรกรที่อยู่โดยรอบ และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่าในอนาคต
บทคัดย่อ (EN): Wild pig is an important invasive alien species causing ecosystem destruction and economic lost in agriculture worldwide. This study aimed to determine wild pig distribution in Sakaerat Environmental Research Station (SERS) and its impact on forest ecosystems and agriculture near SERS. We set up camera traps and walked line transects in SERS and interviewed farmers nearby from November 2012 to September 2013. From camera traps, we recorded 21 wild animals including 15 mammals, 4 birds and 2 reptiles. Wild pig was found in forest plantation, dry evergreen forest and dry dipterocarp forest. From transect walks, we found 241 wild pig signs/km2. The most environmental factors affecting wild pig habitat choices was distance from manmade water well (40.3%), followed by forest type (24.7%) and human presence (16.2%), respectively. The most disturbed forest area by wild pig was found in forest plantation (20%), followed by dry evergreen forest (11%) and dry dipterocarp forest (5%). From interviews, approximately 7.2 hectare of agriculture field was destroyed by wild pig. Cassava was the most affected crop and the lost was 10.6% of total yearly income from agriculture during 2012-2013. Therefore, SERS should set up some management measure to prevent income loss of nearby farmers and human-wildlife conflict in the future.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความเสียหายต่อระบบนิเวศและพืชผลการเกษตรโดยหมูป่า (Sus scrofa) ในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชและพื้นที่โดยรอบ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
30 กันยายน 2556
สถานการณ์เกษตรและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในปัจจุบัน วิธีลอยกระทงให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวโน้มตลาดอาหารเสริมสุขภาพจากพืช แบบหล่อคอนกรีตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง การพัฒนาโครงร่างการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน : เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ ระบบนิเวศ คืออะไร การเปรียบเทียบนิเวศบริการของสัตว์ขาปล้องผู้ล่าโดยการควบคุมเหยื่อในระบบนาข้าวอินทรีย์และนาข้าวใช้สารเคมี ความสัมพันธ์ของสัตว์กินเศษซากพืช อัตราการย่อยสลาย คุณภาพของเศษซากพืชและความอุดมสมบูรณ์ของดินในระบบนิเวศป่าดิบแล้งและป่าเต็งรังที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา พืชอ้างอิงสำหรับประเมินการตรึงไนโตรเจนโดย N Isotope Dilution Technique

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก