สืบค้นงานวิจัย
เปรียบเทียบการต้านทานการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนในพันธุ์พ่อ–แม่ และลูกผสมชั่วที่ 1 จากคู่ผสมระหว่างถั่วฝักยาวและถั่วพุ่ม
สรพงค์ เบญจศรี - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบการต้านทานการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนในพันธุ์พ่อ–แม่ และลูกผสมชั่วที่ 1 จากคู่ผสมระหว่างถั่วฝักยาวและถั่วพุ่ม
ชื่อเรื่อง (EN): Comparison of Aphid (Aphis craccivora Koch) Resistance of Parents and Their F1 Hybrids from Crossing between Yardlong Bean and Cowpea Accessions
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สรพงค์ เบญจศรี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sorapong Benchasri
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทำการผสมข้ามระหว่างถั่วฝักยาวพันธุ์ Selected–PSU กับถั่วพุ่ม 4 สายพันธุ์ได้แก่ IT82E–16, SR00–863, Khao–hinson และ Suranaree 1 หลังจากนั้นปลูกเมล็ดพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ทั้ง 4 คู่ผสม ร่วมกับพันธุ์พ่อ–แม่ โดยปลูกในกระถางพลาสติกภายใต้เรือนตาข่าย ณ ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ (ภาคใต้) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2550 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) จำนวน 3 ซ้ำ ซ้ำละ 2 ตัวอย่างย่อย 5 สัปดาห์หลังปลูกปล่อยเพลี้ยอ่อนจำนวน 5 ตัวต่อต้น บันทึกจำนวนเพลี้ยอ่อนที่เพิ่มขึ้น ประเมินการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนบนต้นถั่ว ผลผลิต และองค์ประกอบของผลผลิต ผลการทดลองพบว่า ช่วง 3 และ 4  สัปดาห์หลังปล่อยเพลี้ยอ่อน จำนวนเพลี้ยอ่อน และการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนพบมากที่สุดในถั่วฝักยาวพันธุ์ Selected–PSU ในขณะที่ถั่วพุ่มพันธุ์ IT82E–16, และลูกผสมชั่วที่ 1 ของคู่ผสม Selected–PSU x IT82E–16  มีจำนวนเพลี้ยอ่อน และการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนน้อยที่สุด ลูกผสมชั่วที่ 1 จากทุกคู่ผสมยกเว้นคู่ผสม Selected–PSU x Suranaree 1 ให้จำนวนฝักต่อต้น และผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พ่อ–แม่
บทคัดย่อ (EN): Yardlong bean cv. Selected–PSU was crossed with 4 accessions of cowpeas: IT82E–16, SR00–863, Khao–hinson and Suranaree 1. Four F1 hybrids and their parents were planted in the pots under the screenhouse at National Biological Control Research Center, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkhla province from May to August 2007. The experimental treatments were carried out in Completely Randomized Design with 3 replications, 2 pots/replication. Five aphids (Aphis craccivora Koch) were released on each plant at 5 weeks after planting. Population of aphids, level of damage, yield and yield component were recorded and compared between parents and their F1 hybrids. The results showed that the highest number of aphids and damage score at 3 and 4 weeks after aphid infestation were found on Selected–PSU. Whereas IT82E–16 and F1 of Selected–PSU x IT82E–16 had the lowest number of aphids and  damages score. F1 hybrids from three crosses produced pod number and pod yield higher than their parents, only F1 of Selected–PSU x Suranaree 1 that produced slightly lower yield than its parents.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/246234/168358
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
เปรียบเทียบการต้านทานการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนในพันธุ์พ่อ–แม่ และลูกผสมชั่วที่ 1 จากคู่ผสมระหว่างถั่วฝักยาวและถั่วพุ่ม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2552
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษายีนต้านทานการกระจายตัวของลักษณะต้านทานเพลี้ยอ่อนถั่วในถั่วฝักยาว และถั่วพุ่ม อิทธิพลของขนาดเพลี้ยอ่อนถั่ว (Aphis cracciuora) ที่มีผลต่อขนาด ระยะเวลาการพัฒนา อัตราส่วนทางเพศของตัวเบียน และจำนวนตัวเบียน (Aphidius colemani) ที่เกิดจากเพลี้ยอ่อน อัตราพันธุกรรมของลักษณะต้านทานเพลี้ยอ่อนถั่วของถั่วฝักยาว และถั่วพุ่มในชั่วรุ่นต่างๆ การแสดงออกของพันธุ์และสายพันธุ์ถั่วฝักยาวในการปลูกแบบอินทรีย์และแบบใช้สารเคมี ประชากรของด้วงถั่วในถั่วพุ่มที่มีเปลือกฝักหนา 3 ระดับภายใต้การเก็บรักษาต่างกัน การวิเคราะห์ตำแหน่งของยีนที่ควบคุมลักษณะเมล็ดแข็งในประชากรลูกผสมชั่วที่สองของถั่วพุ่มป่า การเปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐานเพื่อพัฒนาถั่วพุ่มฝักยาวไร้ค้างพันธุ์ใหม่ มมส2 ผลผลิต ส่วนประกอบทางเคมีและลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของถั่วอัลฟัลฟ่า 24 สายพันธุ์ปลูกในพื้นที่อำเภอปากข่อง จังหวัดนครราขสีมา การปลูกประเมินเชื้อพันธุกรรมมะเขือและถั่วฝักยาวพื้นบ้าน การวิเคราะห์เสถียรภาพในการให้ผลผลิตของถั่วฝักยาวในสภาพการให้ปุ๋ยไนโตรเจนต่างกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก