สืบค้นงานวิจัย
ปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ที่จังหวัดสกลนคร
อังคณา กันทาจันทร์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ที่จังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่อง (EN): Reaction of rice to blast and bacterial leaf blight diseases in Sakon Nakhon province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อังคณา กันทาจันทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Angkana Kantajun
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โรคไหม้และโรคขอบใบแห้งของข้าว เป็นโรคที่มีความสำคัญและสร้างความเสียหายกับผลผลิตและคุณภาพข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมาก การทดสอบปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ำฝน และนาสวนนาชลประทานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานต่อโรคไหม้ในระยะกล้า ระยะออกรวง และโรคขอบใบแห้ง ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร ฤดูนาปี 2556 โดยใช้สายพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ำฝนจำนวน 99 สายพันธุ์ และข้าวนาสวนนาชลประทานจำนวน 35 สายพันธุ์ ทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคไหม้ในระยะกล้าแบบสภาพธรรมชาติโดยวิธี Upland short row ในระยะออกรวงทดสอบโดยฉีดสปอร์แขวนลอยของเชื้อราโรคไหม้บริเวณกาบใบธง ส่วนโรคขอบใบแห้งทดสอบโดยใช้กรรไกรจุ่มในเซลล์แขวนลอยของเชื้อแบคทีเรียแล้วตัดปลายใบข้าว ผลการทดสอบพบว่า สายพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ำฝนแสดงปฏิกิริยาต้านทานถึงค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ระยะกล้า จำนวน 52 สายพันธุ์ ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ระยะออกรวง จำนวน 2 สายพันธุ์ ต้านทานถึงค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง จำนวน 24 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ข้าวนาสวนนาชลประทาน แสดงปฏิกิริยาต้านทานถึงค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ระยะกล้า จำนวน 23 สายพันธุ์ ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ระยะออกรวง จำนวน 1 สายพันธุ์ ต้านทานถึงค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง จำนวน 8 สายพันธุ์ ซึ่งผลการทดสอบนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการคัดเลือกข้าวสายพันธุ์ดีเด่นที่มีความต้านทานต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Blast and bacterial leaf blight diseases are major diseases, which cause severe losses to yield and quality of rice in north eastern region. An evaluation of reaction of rice cultivars/lines to blast and bacterial leaf blight is one of the activities under the program of germplasm improvement in north eastern region with the objective of selecting for the rice lines resistant to leaf and neck blast and to bacterial leaf blight. The experiments were carried out in 2013 at Sakon Nakorn Rice Research Centre using 99 rainfed lowland rice lines and 35 irrigated rice lines. An evaluation of leaf blast at seedling stage was conducted under the upland, short-row conditions. An evaluation of neck blast was conducted at flowering stage by spraying a spore suspension on to flag leaf sheath. For bacterial leaf blight, the reactions were evaluated by using a clipping technique. The results showed that 52 lines of rainfed lowland germplasm were moderately and resistant to leaf blast, 2 lines were moderately resistant to neck blast and 24 lines were moderately and resistant to bacterial leaf blight. For irrigated germplasm, 23 lines were moderately and resistant to leaf blast, moderately resistant to neck blast, and 8 lines were moderately resistant and resistant to bacterial leaf blight.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/328816
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ที่จังหวัดสกลนคร
กรมการข้าว
2557
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ปฏิกิริยาของพันธุ์ข้าวจากธนาคารเชื้อพันธุ์พืชต่อโรคขอบใบแห้ง การทดสอบความต้านทานของพันธุ์/สายพันธุ์ข้าวต่อโรคขอบใบแห้ง และโรคไหม้คอรวง วิจัยและพัฒนาการผลิตและใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร I. ศึกษาแบคทีเรียปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคขอบใบแห้งและโรคไหม้ข้าว ปฏิกิริยาของสายพันธุ์/พันธุ์ข้าวจากแหล่งเชื้อพันธุ์ธนาคารเชื้อพันธุ์ข้าวและ INGER ต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งจังหวัดชัยนาท การใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งข้าว การประเมินสายพันธุ์/พันธุ์ข้าวจากธนาคารเชื้อพันธุ์ข้าว และ INGER ต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้งที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท การปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ที่พัฒนาได้จากพันธุ์ข้าว กข15 และขาวดอกมะลิ 105 ให้มีความต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล การเปรียบเทียบวิธีการทดสอบความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งในข้าวด้วยวิธีการปลูกพืชที่แตกต่างกัน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก