สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุปลูกสำหรับกล้วยไม้
พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุปลูกสำหรับกล้วยไม้
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Growing Medias for Orchids
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: กล้วยไม้สกุลหวายตัดดอกและกระถางมีการผลิตและส่งออกประมาณร้อยละ90 ของผลผลิตกล้วยไม้ทั้งหมด ปัจจุบันกล้วยไม้สกุลหวายตัดดอกประสบปัญหากาบมะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุปลูกเดิมมีราคาสูงขึ้นมากจากพื้นที่ปลูกและผลผลิตลดลง ซึ่งเกิดจากการระบาดของหนอนหัวดำ ด้วงงวงและแมลงดำหนาม งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและทดสอบวัสดุปลูกจากสิ่งเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อนำมาเป็นวัสดุปลูกกล้วยไม้ทดแทนการใช้กาบมะพร้าว ผลการศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมทดแทนการใช้กาบมะพร้าวสำหรับกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวายได้แก่ กระถินและทางปาล์มน้ำมันโดยมีคุณสมบัติทางกายภาพดี ให้ธาตุอาหารสูง และต้นกล้วยไม้มีผลตอบสนองต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกที่ดี นอกจากนั้นได้ทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องอัดก้อนวัสดุปลูกกล้วยไม้ทดแทนกระบะกาบมะพร้าวที่สามารถใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ มีกำลังการผลิต 25-30 ก้อนต่อชั่วโมง ก้อนวัสดุปลูกมีขนาด 22x36x8 เซนติเมตร สามารถปลูกกล้วยไม้ได้ 4 ต้นต่อก้อน มีอายุการใช้งาน 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และทำการศึกษาวิธีการให้น้ำที่เหมาะสมสำหรับก้อนวัสดุปลูกวิจัยเพื่อลดต้นทุนในการดูแลต้นกล้วยไม้ ผลการศึกษาพบว่าวิธีการให้น้ำที่บริเวณวัสดุปลูกและโคนต้นกล้วยไม้ด้วยหัวพ่นฝอยที่อัตรา 60 ลิตร/ชม. ปริมาณ 10 ม.ม./วัน มีความเหมาะสมที่สุด โดยใช้ปริมาณน้ำน้อยกว่าการให้น้ำด้วยหัวสปริงเกลอร์แบบเกษตรกร (อัตราจ่ายน้ำประมาณ 850 ลิตร/ชั่วโมง) 4 ลบ.ม./ไร่/วัน สำหรับกล้วยไม้กระถางสกุลหวาย เมื่อส่งออกจะพบปัญหาหลายอย่างทั้งโรคแมลงและวัชพืชที่มีติดไปกับวัสดุปลูก และจากการศึกษากล้วยไม้ที่ส่งออกจะเจริญอยู่ในช่วงใกล้ออกดอก หรือกำลังแทงตาดอก (near booming) ฉะนั้นความสมบูรณ์ของลำลูกกล้วยและใบ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อรูปลักษณ์ของการส่งออก ทำการศึกษาวัสดุปลูกทดแทนกาบมะพร้าวที่เหมาะสมสำหรับกล้วยไม้พันธุ์ดอกสีขาว (พันธุ์ 5 N) พันธุ์ดอกสีแดง (เฮียสกุล) และพันธุ์ดอกสีเหลือง (เหลือง 246) ผลการศึกษาพบว่า ถ่านสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับกล้วยไม้พันธุ์ดอกสีขาว และโฟมเป็นวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์ดอกสีแดงและพันธุ์ดอกสีเหลือง โดยไม่พบปัญหาเรื่องโรค แมลงและวัชพืช รวมถึงส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของพืชในด้านความกว้าง ความหนาของลำลูกกล้วยเก่า จำนวนลำลูกกล้วย ความกว้างและความยาวของใบก่อนออกดอก กล้วยไม้กระถางสกุลฟาแลนนอปซิสและสกุลออนซิเดียม เป็นกล้วยไม้สกุลที่มีการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งใช้วัสดุปลูกได้แก่ กาบมะพร้าว ขุยมะพร้าว และสเฟกนั่มมอส ปัจจุบันประสบปัญหาหาได้ยากและมีราคาแพง โดยเฉพาะสเฟกนั่มมอสต้องนำเข้าจากต่างประเทศและบางประเทศมีนโยบายห้ามส่งออกในอนาคตอันใกล้ ได้ทำการศึกษานำวัสดุปลูก 3 ชนิดได้แก่ เปลือกไม้สับ ลีโอนาไดท์และแหนแดง มาทำการศึกษาเป็นวัสดุปลูกทดแทนในการปลูกกล้วยไม้ทั้ง 2 ชนิด ผลการศึกษาวัสดุปลูกทดแทนที่เหมาะสมพบว่า เปลือกไม้และลีโอนาไดท์ เป็นวัสดุปลูกทดแทนที่สามารถใช้ได้สำหรับกล้วยไม้สกุลฟาแลนนอปซิส กล้วยไม้มีการเจริญเติบโตดี สมบูรณ์แข็งแรง มีความสูงของต้นเฉลี่ย ความยาวใบเฉลี่ย ความกว้างใบเฉลี่ย ไม่แตกต่างจากวัสดุปลูกเดิม ในขณะที่วัสดุปลูกทดแทนที่เหมาะสมสำหรับการปลูกกล้วยไม้สกุลออนซิเดียมคือ เปลือกไม้สับเพียงชนิดเดียว สำหรับแหนแดงไม่มีความเหมาะสมสำหรับการเป็นวัสดุปลูกทดแทนในกล้วยไม้ทั้งสองชนิด โดยให้ผลการศึกษาในการเจริญเติบโตของต้นที่ช้ากว่าและการออกช่อดอกที่มีจำนวนดอกต่อช่อน้อยกว่าการปลูกกล้วยไม้ในวัสดุปลูกชนิดอื่น
บทคัดย่อ (EN): Cut and pot plant flower of Dendrobium has been exported around 90 percent of total produces in Thailand. Generally, coconut husk has been used as growing material for Dendrobium. But the quantity of coconut husk was decreased and the price increased due to the reduction of planted area and yields. This research was aimed to use agricultural waste materials for substitute to coconut husk. For cut flower of Dendrobium, the result showed that the acacia wood and oil palm branch were suitable, considering to the physical and chemical properties and growth of orchid plants including flower quality. Additionally, there were research on growing medias substitute productive machine in commercial level which have the productivity 25-30 pieces/hour. The piece of substitute growing media was rectangular shaped with dimension 22x36x8 cm. Each piece could be used to grow 4 plants for 3-5 years depend on the environment. And studied on water irrigation method for substitute growing medias in order to reduce the cost of planting orchids. The results showed that the water irrigation at the plant material and the base of plant with a rate of 60 liters/hour and 10 mm/day were optimal. This method could be used less water than the farmer method, which used water sprinkler 850 liters/hour, 4 m?/rai/day. For the pot plant flower of Dendrobium, They have many problems about the diseases, insects and weeds attached to a substrate. The study was found the orchids for export were the stage of near booming or flowering, so the integrity of orchid plants was important for export. This research studied suitable substitute growing medias for white Dendrobium (5 N), red Dendrobium (Aeirsakun) and yellow Dendrobium (yellow 246) The result found that charcoal could be used for white orchids and foam material was suitable for red and yellow Dendrobium flower. They didn’t have about disease and insect problems and weed including good impact on the growth of plants Phalaenopsis and Oncidium pot plant, whose growing material were coconut husk, coir and sphagnum moss, were orchids in the domestic and oversea markets. In the present time, these growing material were rare and expensive especially sphagnum moss must be imported From abroad and some countries have banned the export policy in the future. This research was studied three substitute growing medias (bark, azolla and leonadite) for planting Phalaenopsis and Oncidium pot plant. The result found that the substitute growing medias for Phalaenopsis were bark and leonadite. Phalaenopsis were similar growing when planted in the original material. And the substitute growing medias for Oncidium was only bark. while The azolla could not used for Phalaenopsis and Oncidium pot plant with the result of slowest growth and had the number of flowering least of all.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุปลูกสำหรับกล้วยไม้
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการการเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีในสภาพปลอดเชื้อ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนากล้วยไม้ โครงการวิจัยและพัฒนากล้วยไม้สกุลอื่นๆที่มีศักยภาพ โครงการวิจัยและพัฒนากล้วยไม้สกุลรองเท้านารีเพื่อการค้า การศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับปทุมมา โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องแซะ โครงการวิจัยการจัดการคุณภาพกล้วยไม้สกุลหวายเพื่อการส่งออก การผลิตวัสดุปลูกที่เหมาะสม การคัดเลือกชนิดพืชและวัสดุปลูกสำหรับสวนบนหลังคา การพัฒนาราไมคอร์ไรซากล้วยไม้เป็นชีวภัณฑ์เพื่อการปลูกและขยายพันธุ์กล้วยไม้เชิงพาณิชย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก