สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของสภาวะแวดล้อมต่อรูปแบบการดำรงชีวิตและสถิติประชากรของนกเขตร้อน (ระยะที่ 2)
แอนดรูว์ เพี๊ยช - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของสภาวะแวดล้อมต่อรูปแบบการดำรงชีวิตและสถิติประชากรของนกเขตร้อน (ระยะที่ 2)
ชื่อเรื่อง (EN): The effects of environmental conditions on life history and demographic parameters of tropical birds (phase2)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: แอนดรูว์ เพี๊ยช
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Andrew Pierce
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ: N/A
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาโครงสร้างประชากรมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อความเข้าใจประวัติชีวิตและพลวัตทางประชากรของนกในป่าเขตร้อน อีกทั้งยังเป็นข้อมูลพื้นฐานในการประเมินการตอบสนองของนกที่มีต่อการสูญเสียพื้นที่ป่าที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในภูมิภาคนี้ โดยทั่วไปการศึกษาทางด้านประชากรนกใช้อัตราการรอดของรังเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการสืบพันธุ์ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นวิธีเดียวที่สามารถใช้เปรียบเทียบความสำเร็จในการสืบพันธุ์ระหว่างชนิดพันธุ์หรือประชากรที่แตกต่างกันได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงบุคคลากรของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทำให้ต้องย้ายพื้นที่ศึกษาไปยังสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบผลการศึกษาได้โดยตรงกับการศึกษาที่ดำเนินการมาก่อนที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ทางคณะผู้วิจัยได้จัดทำแปลงศึกษาขนาด 30 เฮ็คแตร์ ที่มีขนาดเท่ากับแปลงศึกษาเดิม ค้นหารังนกทุกชนิดภายในแปลงและติดตั้งกล้องวิดีโอเพื่อบันทึกข้อมูลกิจกรรมของแต่ละรังรวมจำแนกชนิดของสัตว์ที่มาล่ารังนกตลอด 24 ชม. ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกันกับที่เคยใช้ในพื้นที่แปลงศึกษาเดิม ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 พบรังนกทั้งสิ้นจำนวน 131 รัง จากนก 22 ชนิด โดยชนิดที่พบรังมากที่สุด คือ นกกินแมลงกระหม่อมแดงเล็ก และนกกางเขนดง จำนวน 23 และ 24 รัง ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าอัตราการล่ารังนกสูงกว่าที่พบในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อย่างมาก อัตราการรอดของรังต่อวันมีค่าระหว่าง 0.66 สำหรับนกกางเขนดง ถึง 0.88 สำหรับนกจับแมลงจุกดำ เปรียบเทียบกับนกชนิดเดียวกันในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีอัตราการรอดของรังต่อวันอยู่ในช่วง 0.92 – 0.95 จากข้อมูลกล้องวิดีโอพบว่าสัตว์ผู้ล่ารังชนิดหลัก ได้แก่ ลิงกัง (พบ 20 ครั้ง, 44.4%) งูเขียวบอน (พบ 12 ครั้ง, 26.7% ) และนกสาลิกาเขียว (พบ 5 ครั้ง, 11.1% ) นอกเหนือไปจากการล่ารังของนกเค้าโมงที่พบเพียง 2 ครั้ง สัตว์ผู้ล่ารังโดยส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกันกับที่พบในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (ข้อสรุปดังกล่าววางอยู่บนจำนวนตัวอย่าง [รังนก] ที่ยังมีค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับพื้นที่ศึกษาในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่) ความแตกต่างของอัตราการล่ารังระหว่างสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชและอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อาจเป็นผลมาจากจำนวนของสัตว์ผู้ล่ารังที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีสัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่ในพื้นที่ ในอนาคตควรมีการศึกษากิจกรรมของสัตว์ผู้ล่ารังและผลกระทบต่ออัตราการรอดของรังนกในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช
บทคัดย่อ (EN): Demographic study is essential to understanding life history and population dynamics of tropical birds while at the same time serving as baseline data for assessing how species may respond to the rapid deforestation in the region. Many studies of birds use nest success as a parameter for measuring their breeding success as this is often the only way of comparing breeding success amongst different species or populations. Changes to the park staff at Khao Yai National Park meant we were forced to move our study site to the nearby Sakaerat Environmental Research Station (SERS). Here we set up a 30-ha plot that enabled direct comparisons with the plot at Khao Yai NP. We searched for and monitored nests of all species and place video cameras at nests to determine nest predators following the same protocols as those used previously at Khao Yai NP. During February – July 2014 we found 131 active nests of 22 species. The most frequently found nests were those of Scaly-crowned Babbler and White-rumped Shama, 23 and 24 nests, respectively. Predation rates at SERS were considerably higher than at Khao Yai NP. Daily survival rates varied from 0.66 for White-rumped Shama to 0.88 for Black-naped Monarch, whereas in Khao Yai NP daily predation rates ranged from 0.92 – 0.95. Videos showed that the main predators were Pig-tailed Macaque (20 events, 44.4 %), Green Snake (12 events, 26.7 %) and Common Green Magpie (5 events, 11.1 %). Apart from two predation incidents caused by Asian Barred Owlet the predators were the same as in Khao Yai and the proportions also the same (within the constraints of sample size). The differences in predation rates between SERS and Khao Yai NP may be due to increased numbers of nest predators due to a lack of higher predators. Further work is required to determine the activities of nest predators and why they have such an impact on bird nests at SERS.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 275,500.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของสภาวะแวดล้อมต่อรูปแบบการดำรงชีวิตและสถิติประชากรของนกเขตร้อน (ระยะที่ 2)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
30 กันยายน 2557
สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร (ระยะที่ 2) การวิจัยและพัฒนาการผลิตเห็ดกระดุมเขตร้อน การศึกษาสภาวะแวดล้อม และความชุกชุมของหอยหลอด (Solen corneus Lamarck, 1818) ในจังหวัดชุมพร รูปแบบการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรหอยลาย ความหลากหลายทางชีวภาพของนกบริเวณเขาซับแกงไก่ จังหวัดลพบุรี การเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบของสถิติทดสอบความ เท่ากันของความแปรปรวน การศึกษารูปแบบการผลิตข้าวอินทรีย์กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาบ่อ ตาบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร การพัฒนาระบบฐานข้อมูลชนิดพันธุ์นกในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก