สืบค้นงานวิจัย
การจำแนกความหลากหลายทางพันธุกรรมในข้าวโพดข้าวเหนียวโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานและเครื่องหมายอาร์เอพีดี
พลัง สุริหาร - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: การจำแนกความหลากหลายทางพันธุกรรมในข้าวโพดข้าวเหนียวโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานและเครื่องหมายอาร์เอพีดี
ชื่อเรื่อง (EN): Identification of genetic diversity in waxy corn using morphological traits and RAPD markers
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พลัง สุริหาร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Bhalang Suriharn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การจำแนกความหลากหลายทางพันธุกรรม เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์พีช วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อจัดกลุ่มของข้าวโพดข้าวเหนียว โดยใช้ลักษณะทางสัณฐาน และใช้เครื่องหมายอาร์เอพีดี นำข้าวโพดข้าวเหนียว 10 สายพันธุ์พันธุ์ ปลูกทดสอบในฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2551 ถึง สิงหาคม 2551 และ ฤดูหนาว ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2551 ถึง กุมภาพันธ์ 2552 ณ หมวดพืชผัก มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกลุ่มพันธุ์ โดยใช้ลักษณะทางสัณฐาน ทั้งหมด 6 แบบ ประกอบด้วย 1) จัดกลุ่มโดยใช้ลักษณะทั้งหมด 2) น้ำหนักผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 3 น้ำหนักผลผลิตฝักสดปอกเปลือกแล้ว 4) น้ำหนักผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกและปอกเปลือก 5) องค์ประกอบผลผลิต และ 6) ลักษณะทางการเกษตร ตาม Wards minimum variance โดยใช้โปรแกรม SAS Proc CLUSTER and TREE และจัดกลุ่มพันธุ์โดยใช้เครื่องหมายอาร์เอพีดี จำนวน 10 ไพรเมอร์ จากการศึกษาการจัดกลุ่ม โดยใช้ลักษณะทางสัณฐานทั้ง 6 แบบ พบว่า สามารถจำแนกกลุ่มได้ 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย 4 พันธุ์ ดังนี้ 101 204 209 และ 216 และ กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย 6 พันธุ์ ดังนี้ BW NS SLE 919W RT และ DL ส่วนการจัดกลุ่มพันธุ์โดยใช้เครื่องหมายอาร์เอพีดี พบว่า สามารถจัดกลุ่มและแยกความแตกต่างได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยพันธุ์ 101 204 และ 209 กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย 216 BW NS และ SLE กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วย 919W RT และ DL ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์การจำแนกกลุ่มพันธุ์ในครั้งนี้ในการกำหนดกลยุทธ์ในการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อวางแผนในการสกัดสายพันธุ์แท้และการสร้างพันธุ์ลูกผสม
บทคัดย่อ (EN): Identification of genetic diversity and resource is an important step leading to succeed in plant breeding. The objective of this study was to classify glutinous or waxy corn cultivars into distinct groups, using of morphological traits and RAPD markers. Ten glutinous corn cultivars were evaluated in two seasons (in the rainy season during May-August 2008 and dry season during November 2008-February 2009 at the Experimental Farm of Khon Kaen University. Grouping of glutinous corn cultivars, based on morphological traits, was carried out in using six different methods or data categories: 1) all morphological traits, 2) un-husked fresh ear yield, 3) husked fresh ear yield, 4) both husked fresh ear yield and un-husked fresh ear yield, 5) yield components 6) agronomic traits of Wardís minimum variance. Grouping of these corn cultivars, based on RAPD markers with ten primers, was also carried out. All calculations were done using cluster and tree functions in SAS Proc CLUSTER and TREE. Grouping based on 6 categories of morphological traits could classify the corn cultivars into two following distinct clusters: 1) 101, 204, 209 and 216 2) BW, NS, SLE 919W, RT and DL. Grouping based on RAPD markers could divide the corn cultivars into three following distinct groups: 1) 101, 204 and 209, 2) 216, BW, NS and SLE 3) 919W, RT and DL. This classification could be useful for determining breeding strategies aiming to extracting inbred lines and making experimental crosses.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=14-Wanpen.pdf&id=302&keeptrack=222
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: หมวดพืชผัก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจำแนกความหลากหลายทางพันธุกรรมในข้าวโพดข้าวเหนียวโดยใช้ลักษณะทางสัณฐานและเครื่องหมายอาร์เอพีดี
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2552
เอกสารแนบ 1
ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาดุกลำพันโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน การจำแนกพันธุ์และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองด้วยเทคนิคอาร์เอพีดี การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลกุหลาบและลูกผสมด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ ความสัมพันธ์ระหว่างความดีเด่นของลูกผสมกับความแตกต่างของลักษณะทางสัณฐานวิทยาสำหรับผลผลิตในข้าวโพดข้าวเหนียว ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลากระพงขาวจากทะเลสาบสงขลาและทะเลอันดามันโดยใช้เครื่องหมายไมโครแซทเทลไลท์ดีเอ็นเอ การตรวจสอบความหลากหลายทางพันธุกรรมของหม้อข้าวหม้อแกงลิงโดยใช้เครื่องหมายเอสเอสอาร์ การปรับปรุงคุณภาพโปรตีนของข้าวโพดข้าวเหนียวโดยใช้เทคนิคการกลายพันธุ์ร่วมกับการใช้โมเลกุลเครื่องหมายในการคัดเลือก การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของปลาโมงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้เทคนิคไมโครแซททัลไลท์ดีเอ็นเอ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก