สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของข้าวบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1: การวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง
จันทร์จิรา รุ่งเจริญ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของข้าวบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1: การวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง
ชื่อเรื่อง (EN): Integrated Research Project on Highland Rice Productivity and Marketing Subproject 1: Research and Development of Rice Production on Highland Community
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จันทร์จิรา รุ่งเจริญ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: พื้นที่สูงของไทยยังประสบปัญหาผลผลิตข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน ปัจจัยในการสร้างผลผลิตข้าวมี 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยด้านพันธุกรรมและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เนื่องด้วยบนพื้นที่สูงมีข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะความลาดชันของพื้นที่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมุ่งเน้นปัจจัยด้านพันธุกรรมที่มีความหลากหลายมุ่งศึกษาวิจัยในด้านพันธุกรรมข้าว โดยวิจัยประเด็นที่ 1 คือ ปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ข้าวท้องถิ่นให้มีศักยภาพให้ผลผลิตสูง พันธุ์ทนทานต่อโรคและแมลงโดยเฉพาะแมลงบั่ว พันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง พันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการ วิธีการคัดเลือกมุ่งเน้นให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการคัดเลือกลักษณะต้นที่ต้องการ จากงานวิจัยปี 2555-2557 ได้รวบรวม อนุรักษ์ และคัดเลือกพันธุ์ข้าวท้องถิ่นให้มีลักษณะพันธุกรรมที่สม่ำเสมอจำนวน 320 ลักษณะ (พันธุ์) จำแนกเป็นข้าวไร่ ข้าวนา ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวกล้องแดงและข้าวก่ำ และปรับปรุงพันธุ์ข้าวท้องถิ่น จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ บือแม้ว บือวาเจาะ กินบ่เสี้ยง ให้มีลักษณะทนทานต่อแมลงบั่วและไม่ไวต่อช่วงแสงเพราะแมลงบั่วส่งผลกระทบทำให้ผลผลิตข้าวลดลงถึง 40% ซึ่งปัจจุบันได้ข้าวลูกผสมชั่วที่ 5 (F5) ที่สามารถส่งต่อให้แก่เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูกขยาย สำหรับพันธุ์ข้าวที่มีคุณค่าโภชนาการได้แปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวไร่เป็นข้าวกล้องดอย 3 ผลิตภัณฑ์ คือ เจ้าเปลือกดำ ก่ำวังไผ่ และเบี้ยวจิกู๋ โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ข้าวกล้องดอยบ้านวังไผ่ และ ข้าวกล้องดอยบ้านละเบ้ายา ซึ่งสามารถสร้างรายได้เสริมแก่ครัวเรือนและเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคอาหารสุขภาพ เป็นจำนวนเงิน 262,990 บาท จากวัฒนธรรมของเกษตรกรบนพื้นที่สูงนิยมปลูกพันธุ์ข้าวเพื่อบริโภคในครัวเรือนมากกว่าหนึ่งพันธุ์ เป้าหมายเพื่อให้มีผลผลิตข้าวที่หลากหลายและเพียงพอสำหรับบริโภค จากวิถีการปลูกข้าวของเกษตรกรบนพื้นที่สูงดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาเรื่องการปะปนของพันธุ์ข้าว ส่งผลทำให้ผลผลิตข้าวและคุณภาพของข้าวลดลงโดยเฉพาะอายุการสุกแก่ไม่พร้อมกัน เกิดปัญหาเมล็ดข้าวร่วงหล่นก่อนเก็บเกี่ยวและติดเขียวเกิดเมล็ดลีบ ทางโครงการวิจัยจึงมีงานวิจัยประเด็นที่ 2 เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ เพื่อวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวท้องถิ่นที่ดี โดยวิธีการปักดำข้าวต้นเดียวพร้อมดำเนินการกำจัดต้นปนหรือพันธุ์ปนในแปลงใน 4 ระยะสำคัญได้แก่ ระยะแตกกอสูงสุด ระยะตั้งท้อง ระยะโผล่รวง และระยะก่อนเก็บเกี่ยว พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจกับผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นประมาณ 20-25% และในปี พ.ศ.2557 มีจำนวนเกษตรกรร่วมโครงการฯ จำนวน 70 รายและยอมรับในผลการทดลองถึงร้อยละ 90 ระบบการปลูกข้าวบนพื้นที่สูงที่ต้องคำนึงถึงพันธุ์ข้าวและเมล็ดพันธุ์ที่ดีแล้ว ยังต้องคำนึงถึงวิธีการเขตกรรมที่เหมาะสม เช่น การจัดการน้ำ การอารักขา สภาพการปลูกข้าวบนพื้นที่สูงมีทั้งสภาพไร่และสภาพนา กรณีสภาพไร่การจัดน้ำอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว แต่ประสบปัญหาเรื่องหนอนด้วงแก้วกัดกินรากข้าวทำให้ต้นข้าวแห้งตาย วิธีการใช้ชีวภัณฑ์ผงสารสกัดหางไหล+หนอนตายหยากสามารถลดการเข้าทำลายได้ไม่แตกต่างจากการใช้สารเคมี พบการกอข้าวที่แสดงอาการ 1.6% และไม่พบตัวหนอนด้วงแก้วเลย ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ได้ แต่ก็ต้องศึกษาวิจัยถึงอัตราการใช้ที่ต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพในพื้นที่ขนาดใหญ่ต่อไป กรณีสภาพนาระบบการปลูกข้าวนาน้ำน้อยบนพื้นที่สูงถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งที่มีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งลดปัญหาการระบาดของโรคและแมลงที่มีน้ำเป็นพาหะ ทางโครงการวิจัยฯ ทดสอบเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตข้าวบนพื้นที่สูงด้วยระบบข้าวนาน้ำน้อย โดยทำการทดลองร่วมกับเกษตรกร จากการทดสอบและสาธิตการปลูกข้าวในปี พ.ศ.2557 พบว่า เกษตรกรบนพื้นที่สูงเริ่มเข้าใจและเห็นข้อดีของการปลูกข้าวแบบน้ำแห้งสลับน้ำขัง กล่าวคือ ต้นข้าวแตกกอได้จำนวนรวงต่อกอไม่แตกต่างจากนาน้ำขัง (นาน้ำขัง 13 รวงต่อกอและนาน้ำน้อย 10 รวงต่อกอ) และเมล็ดข้าวสมบูรณ์ (เกิดเมล็ดด่างน้อย) และผลการทดลองระบบข้าวนาน้ำน้อยช่วยลดการสูญเสียผลผลิตข้าวถึง 12% จากการระบาดของโรค สำหรับในปี พ.ศ. 2557 เกษตรกรยังไม่ยอมรับระบบนาน้ำน้อยในพื้นที่นาขนาดใหญ่ เพราะไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำให้แห้งได้ ดังนั้น เกษตรกรจึงดำเนินการในแปลงนาทดลองข้าวต้นเดี่ยวซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มากก่อนในเบื้องต้น จากความหลากหลายของพันธุ์ข้าวท้องถิ่นในประเทศไทยซึ่งมีกระแสความนิยมบริโภค ข้าวดอย ข้าวมีสี (สีแดง สีดำ) จึงทำให้ต้องศึกษาศักยภาพของตลาดข้าวท้องถิ่นและความต้องการบริโภคในตลาด พบว่า ทั้งกลุ่มผู้บริโภคข้าวขาวและข้าวกล้องความนุ่มเหนียวของข้าวเป็นปัจจัยที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุด ในขณะที่รูปร่างของเมล็ดข้าวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคน้อย ผู้บริโภคในเชียงใหม่นิยมข้าวขาวมากที่สุด ร้อยละ 49.18 รองลงมาเป็นข้าวกล้อง ร้อยละ 26.23 และข้าวซ้อมมือร้อยละ 13.11 ในขณะที่ผู้บริโภคในกรุงเทพนิยมบริโภคข้าวกล้องมากที่สุดร้อยละ 45.22 รองลงมาเป็นข้าวขาว ร้อยละ 31.30 และข้าวซ้อมมือร้อยละ 16.52 สำหรับการประชาสัมพันธ์เป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญโดยเฉพาะการมีตัวอย่างข้าวให้ทดลองชิมเป็นวิธีการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลดีและช่วยเพิ่มยอดขายได้ค่อนข้างมากเมื่อมีการเลือกกลุ่มผู้บริโภคได้เหมาะสม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของข้าวบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1: การวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตสุกรบนพื้นที่สูง การปลูกข้าวต้นเดียวและใช้น้ำน้อยบนพื้นที่สูง การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของเสาวรสหวาน บนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกุหลาบบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกุหลาบบนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตไผ่และหวายบนพื้นที่สูง ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก