สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ไหมที่ต้านทานโรคแกรสเซอรี่ และพัฒนาเทคโนโลยี การป้องกันโรคแกรสเซอรี่ในภาคเกษตรกร
สุกัญญา ชุ่มชื่น, ธงชัย วิบูลย์ชาติ, นพดล พันธุ์คำเกิด, สุชาติ จุลพูล, บุษรา จงรวยทรัพย์, วนิดา สุวรรณสิทธิ์ - กรมหม่อนไหม
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ไหมที่ต้านทานโรคแกรสเซอรี่ และพัฒนาเทคโนโลยี การป้องกันโรคแกรสเซอรี่ในภาคเกษตรกร
ชื่อเรื่อง (EN): SilkwormRacesHybridizations forGrasserySilkwormDiseaseResistance Clones and GrasserySilkwormDiseaseELISA –Test Kit onFarmerTrial Project
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ไหมไทย 4 สายพันธุ์ (ลูกผสมคู่ : Double cross hybrid) ต้านทานโรคแกรสเซอรี่ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ทดสอบระดับความต้านทานต่อโรคแกรสเซอรี่ของไหมลูกผสม, เปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่นต่างๆ และเปรียบเทียบพันธุ์ในภาคเกษตรกร ดำเนินการทดลองในปี พ.ศ. 2551-2552 การทดสอบระดับความต้านทานต่อโรคแกรสเซอรี่ของไหมลูกผสมคู่ ชนิดฟักออกตลอดปี จำนวน 6 คู่ผสม คือ (สร้างค้อ x SP1) X (นค.04 x นค.012), (โนนฤาษี x กากี) x (สร้างค้อ x SP1), (SP1 x สำโรง) x (นค.04 x นค.06), (สร้างค้อ x กวนวัน) x ( SP1 x สำโรง), (สร้างค้อ x เขียวสกล) x (SP1 x สำโรง) และ (สร้างค้อ x กากี) x (นค.04 x นค.012) เปรียบเทียบกับไหมลูกผสมเดี่ยว คือ พันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ-1 x สำโรง พบว่าไหมคู่ทั้ง 6 คู่ผสม ให้ค่าเปอร์เซ็นต์การตายของหนอนไหมต่ำกว่าพันธุ์นางน้อยศรีสะเกษ-1 x สำโรง ในทุกระดับความเข้มข้น โดยคู่ผสมที่มีค่า LC50 สูงสุดและมีความแข็งแรงมากที่สุด ในรุ่นที่ 1 ได้แก่ (สร้างค้อ x SP1) x (นค.04 x นค.012) ให้ค่า LC50 = 2 x 108 ผลึก/มล. และในรุ่นที่ 2 ได้แก่ (โนนฤาษี x กากี) x (สร้างค้อ x SP1) ให้ค่า LC50 = 1 x 108 ผลึก/มล. การเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่นต่างๆ ที่มีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศแตกต่างกัน ได้แก่ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ หนองคาย, ร้อยเอ็ด, ชัยภูมิ, ศรีสะเกษ, เชียงใหม่ และชุมพร วางแผนการทดลองแบบ RCBD 3 กรรมวิธี 5 ซ้ำ ประกอบด้วย กรรมวิธีที่ 1 ไหมลูกผสม (สร้างค้อ x SP1) x (นค.04 x นค.012) กรรมวิธีที่ 2 ไหมลูกผสม (โนนฤาษี x กากี) x (สร้างค้อ x SP1) กรรมวิธีที่ 3 ไหมลูกผสม (นางน้อยศรีสะเกษ-1 x สำโรง) (control) พบว่า ไหมลูกผสม (สร้างค้อ x SP1) x (นค.04 x นค.012) และ (โนนฤาษี x กากี) x (สร้างค้อ x SP1) ให้ค่าคุณลักษณะด้านความแข็งแรง (ได้แก่ เปอร์เซ็นต์การฟักออก, เปอร์เซ็นต์เลี้ยงรอดวัยอ่อน, เปอร์เซ็นต์การเข้าทำรัง และเปอร์เซ็นต์ดักแด้สมบูรณ์) คุณลักษณะด้านการเจริญเติบโต (ได้แก่ น้ำหนักหนอนไหมโตเต็มที่เฉลี่ย 10 ตัว) รวมถึงคุณลักษณะด้านผลผลิต (ได้แก่ น้ำหนักรังสด 1 รัง, น้ำหนักเปลือกรัง 1 รัง และ เปอร์เซ็นต์เปลือกรัง) ใกล้เคียงกันและมีค่าสูงกว่าไหมลูกผสม(นางน้อยศรีสะเกษ-1 x สำโรง) อย่างชัดเจน การทดสอบในภาคเกษตรกรนำไหมลูกผสม จำนวน 2 คู่ผสม คือ (โนนฤาษี x กากี) x (สร้างค้อ x SP1) และ (นางน้อยศรีสะเกษ-1 x สำโรง) ไปเลี้ยงทดสอบในโรงเลี้ยงไหมของเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย, ชัยภูมิ, มหาสารคาม, ศรีสะเกษ ระนอง และชุมพร พบว่าไหมลูกผสมคู่ (โนนฤาษี x กากี) x (สร้างค้อ x SP1) ให้ค่าคุณลักษณะด้านความแข็งแรง ผลผลิต และการทดสอบการสาวไหม สูงกว่าไหมลูกผสมเดี่ยว (นางน้อยศรีสะเกษ-1 x สำโรง)
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมหม่อนไหม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ไหมที่ต้านทานโรคแกรสเซอรี่ และพัฒนาเทคโนโลยี การป้องกันโรคแกรสเซอรี่ในภาคเกษตรกร
กรมหม่อนไหม
30 กันยายน 2552
กรมหม่อนไหม
การศึกษาลักษณะอาการของโรคแกรสเซอรี่กับหนอนไหม วัยต่างๆ การใช้ dsRNA เพื่อยับยั้งการเกิดโรคแกรสเซอรี่ในหนอนไหม(Bombyx mori) โดยเทคนิค RNA interference การศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรภายใต้โครงการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จังหวัดระยอง การใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรโครงการศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลสิงโตทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โครงการวิจัยและพัฒนามะม่วงหิมพานต์ การนำ dsRNA ของยีน lef-2 และ gp64 มาใช้ยับยั้งการเกิดโรคแกรสเซอรี่ในหนอนไหม ในระดับศูนย์ฯ และภาคเกษตรกร สภาพการผลิตและคุณภาพเส้นไหมพื้นบ้านของเกษตรกร สำรวจ รวบรวม อนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมไหมเพื่อการใช้ประโยชน์ โครงการวิจัยการทดสอบพันธุ์มันเทศประกอบการรับรองพันธุ์ สภาพการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชุมพร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก