สืบค้นงานวิจัย
ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริม กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ใจทิพย์ วาณิชชัง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริม กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ใจทิพย์ วาณิชชัง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทราบ 1.ลักษณะพื้นฐานและลักษณะงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ 2.ระดับความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ 3.ลักษณะความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ 4.ข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ เรื่องการผสมผสานความรู้ด้านประชากรศึกษาในหลักสูตรการฝึกอบรมทางสหกรณ์ การวิจัยอาศัยข้อมูลจากเอกสารการฝึกอบรมของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และข้อมูลจากแบบสอบถามที่ส่งให้กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมทางไปรษณีย์ จำนวน 162 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และ analysis of variance (F-test) มีผลการวิจัยโดยย่อดังนี้ 1.1 ลักษณะพื้นฐานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ (1)เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 38.8 ปี มีอายุราชการเฉลี่ย 6.6 ปี ส่วนใหญ่สมรสแล้ว และมีบุตรเฉลี่ย 3-4(3.5) คน (2)เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี และจบการศึกษาแล้วเฉลี่ย 16.8 ปี (3)เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์มีการอ่านหนังสือพิมพ์และฟังวิทยุทุกวัน และดูโทรทัศน์แทบทุกวัน 1.2 ลักษณะงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ (1)เจ้าหน้าที่ส่งเสริมปฏิบัติงานในหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์เป็นประจำ งานที่ปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ การพิจารณาให้ความเห็นชอบในการที่สหกรณ์ให้เงินกู้แก่สมาชิก และงานที่ปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่การเป็นสื่อกลางติดต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้เข้ามาแนะนำการรักษาสุขภาพอนามัยให้แก่ สมาชิก (2)เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ปฏิบัติงานเกี่ยวกับประชากรศึกษาเป็นครั้งคราวเท่านั้น งานที่ปฏิบัติมากที่สุดได้แก่งานเกี่ยวกับโครงสร้างด้านเพศและอายุของประชากร รองลงมาได้แก่ งานเกี่ยวกับองค์ประกอบของประชากร การกระจายตัวของประชากร จำนวนประชากรและขนาดประชากร ตามลำดับ 2.ระดับความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ (1)บางส่วนเคยได้รับความรู้ด้านประชากรศึกษา (2)ส่วนใหญ่มีความรู้ด้านประชากรศึกษาระดับปานกลาง เรื่องที่มีความรู้มากที่สุดได้แก่เรื่ององค์ประกอบประชากร รองลงมาได้แก่เรื่องการกระจายตัวของประชากร จำนวนประชากร โครงสร้างประชากร และขนาดประชากร ตามลำดับ (3)มีลักษณะพื้นฐานด้านระดับการศึกษา อายุราชการสถานภาพสมรส และการสัมผัสกับสื่อมวลชนต่างกัน จะมีความรู้ด้านประชากรศึกษาไม่แตกต่างกัน 3.ลักษณะความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ (1)ส่วนใหญ่เห็นว่าความรู้ด้านประชากรศึกษามีความสำคัญต่อพัฒนางานสหกรณ์มาก (2)ต้องการมากที่สุดได้แก่ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของประชากร รองลงไปได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของประชากร การกระจายตัวของประชากร ขนาดประชากร และจำนวนประชากรตามลำดับ(3)มีความรู้ด้านประชากรศึกษาต่างกันจะมีความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาไม่ต่างกัน 3.ลักษณะความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ (1)เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ส่วนใหญ่เห็นว่า ความรู้ด้านประชากรศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนางานสหกรณ์มาก (2)ความรู้ที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ต้องการมากที่สุดได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของประชากร รองลงไปได้แก่ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของประชากร การกระจายตัวของประชากร ขนาดประชากร และจำนวนประชากรตามลำดับ (3)เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ที่มีความรู้ด้านประชากรศึกษาต่างกันจะมีความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาไม่ต่างกัน 4.ข้อเสนแนะของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ เรื่องการผสมผสานความรู้ด้านประชากรศึกษาในหลักสูตรการฝึกอบรมทางสหกรณ์ (1)เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการผสมผสานความรู้ด้านประชากรศึกษาในหลักสูตรฝึกอบรมทางสหกรณ์ เนื่องจากความรู้ด้านประชากรศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนางานสหกรณ์ (2)หลักสูตรการฝึกอบรมทางสหกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ส่วนใหญ่เสนอให้มีการผสมผสานความรู้ด้านประชากรศึกษาในหลักสูตรการฝึกอบรมสหกรณ์อำเภอ รองลงไปเสนอให้มีในหลักสูตรการฝึกอบรมสมาชิกสหกรณ์ตามลำดับ (3)ลักษณะการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ส่วนใหญ่เสนอให้จัดเป็นวิชาใหม่แยกเฉพาะ รองลงไปเสนอให้จัดผสมผสานในวิชาท่เกี่ยวข้องและมีอยู่อล้วในหลักสูตร แบะจัดเป็นบทหนึ่งของวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีอยู่แล้วในหลักสูตร (4)วิธีการในการฝึกอบรมด้านประชากรศึกษา เจ้าหน้าท่ส่งเสริมสหกรณ์ส่วนใหญ่เสนอให้ใช้วิธีการบรรยาย รองลงไปได้แก่ การสัมมนา การสาธิต การอ๓ปรายกลุ่ม การประชุม การศึกษาดูงาน และการแสดงบทบาทสมมุติ ตามลำดับ (5)สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรมด้านประชากรศึกษา เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ส่วนใหญ่เสนอให้ใช้รูปภาพ รองลงไปได้แก่ เอกสารคำแนะนำ โปสเตอร์ ตัวอย่างของจริง โสตทัศนูปกรณ์ แผนภูมิ ป้ายนิเทศ แผ่นพลิก หุ่นจำลอง และจดหมายข่าว ตามลำดับ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริม กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ความรู้และความต้องการความรู้ด้านประชากรศึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ความต้องการความรู้เพื่อการเขียนเอกสารเผยแพร่การเกษตรของอาจารย์วิทยาลัยเกษตรกรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความต้องการในการฝึกอบรมของปศุสัตว์อำเภอในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออกของประเทศไทย ความต้องการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย ความต้องการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการวัชพืชของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ความต้องการความรู้ด้านการเกษตรของครูสอนงานเกษตร ระดับประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความต้องการได้รับการส่งเสริมการเลี้ยงปลาของเกษตรกรในพื้นที่โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การใช้วิธีการส่งเสริมแบบต่าง ๆ ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล ในภาคตะวันตกของประเทศไทย การดำเนินงานกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก