สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์กาแฟอาราบิก้าโดยวิธีการผสมพันธุ์
อุทัย นพคุณวงศ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์กาแฟอาราบิก้าโดยวิธีการผสมพันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Improvement of Arabica Coffee by Hybridization
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุทัย นพคุณวงศ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:          สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การวิจัยและปรับปรุงพันธุ์กาแฟอาราบิก้าโดยวิธีการผสมพันธุ์” แก่กรมวิชาการเกษตร โดย นายอุทัย นพคุณวงศ์ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากาแฟอาราบิก้าลูกผสมที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ต้านทานต่อโรคราสนิม ผลผลิตสูง มีคุณภาพ และทนต่อสภาพแห้งแล้ง 2) ศึกษาวิธีขยายพันธุ์กาแฟอาราบิก้าโดยไม่ใช้เพศ ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีที่มีผลต่อคุณภาพกาแฟลูกผสม 3) ศึกษาปฏิกิริยาของกาแฟลูกผสมและลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมต่อโรคราสนิม 4) เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์กาแฟอาราบิก้าทั้งสายพันธุ์ลูกผสมและสายพันธุ์แท้ และสามารถนำพันธุ์ไปพัฒนาต่อ           จากการศึกษาพบว่า สามารถคัดเลือกพันธุ์กาแฟอาราบิก้าลูกผสมสายพันธุ์คัดเลือกได้จำนวน 17 สายต้น (ต้นอายุ 4 ปี เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2 ปี) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 มีความต้านทานต่อโรคราสนิม 100% ผลผลิตสูง เมล็ดมีขนาดใหญ่ คุณภาพการชิมระดับดี จำนวน 5 สายต้น ได้แก่ 1/4B3T3, 2/12B1T3, 2/27B4T5, 2/27B5T4 และ 2/34B4T6 กลุ่มที่ 2 มีความต้านทานโรคราสนิม 99-99.75% จำนวน 7 สายต้น ได้แก่ 1/1B2T5, 2/8B1T3, 2/12B1T6, 2/12B2T1, 2/12B2T3, 2/12B3T6,  2/22 และ กลุ่มที่ 3 มีความต้านทานต่อโรคราสนิม 98-100% ทนแล้ง ผลผลิตปานกลาง เมล็ดมีขนาดใหญ่ คุณภาพการชิมระดับดีมาก จำนวน 5 สายต้น ได้แก่ 3/1B7T10, 3/2B7T7, 3/2B7T8, 3/5B7T1 และ 3/5B7T9 ทั้งนี้ได้จัดทำข้อมูลสำหรับขอจดทะเบียนพันธุ์แนะนำ นอกจากนี้ได้ดำเนินการจัดทำคู่มือการขยายพันธุ์กาแฟอาราบิก้าโดยไม่ใช้เพศ  ตลอดจนศึกษาองค์ประกอบทางเคมีที่มีผลต่อคุณภาพกาแฟลูกผสม เพื่อใช้เป็นข้อมูลยืนยันกับการที่วิเคราะห์คุณภาพโดยวิธีการชิม (Cup tasting) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่า มีค่าความกรดเป็นเบส (pH)  4.55-4.74  ปริมาณกรดทั้งหมด (Total acid content)  0.20-0.36%  ปริมาณด่าง (Alkalinity of the soluble ash) 3.93-4.51% ปริมาณน้ำตาล 0.05-0.06%  ปริมาณไนโตรเจน  1.89-2.46%  ปริมาณฟิวแรน (Furans) 203-268 มก./ล. ปริมาณไพริดิน (Pyridine)  689-1,032  มก./ล. สารประกอบ phenolic compound ได้แก่ คาเฟอีน (caffeine) 16,230-20,948  มก./ล. กรดควินิก (quinic acid) 5,939-8,306 มก./ล. กรดคลอโรจินิค (chlorogenic acid)  52.95-98.40  มก./ล. และไตรโกลไลน์ (Trigonelline) 3,347-8,285 มก./ล. กลิ่นและปริมาณที่พบได้แก่ ถั่ว (58-76%)  แบคเคอเรนท์ (51-72%) เนย (44-67%) คาราเมล (45-66%) ถั่วคั่ว (35-46%) และกาแฟคั่ว (35-47%) วิเคราะห์คุณภาพโดยวิธีการชิม พบว่า ได้กลิ่นที่เหมือน แต่พบกลิ่นที่แตกต่างคือ กลิ่นสมุนไพร ดอกไม้ป่า ช็อคโกแลต โกโก้  และน้ำผึ้งป่า สำหรับการศึกษาปฏิกิริยาของกาแฟลูกผสมและลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมต่อโรคราสนิม พบว่า กาแฟอาราบิก้าลูกผสมทั้งหมด มีพ่อแม่ที่มาจากต้นที่ต้านทาน โรคราสนิมกลุ่ม A กลุ่ม HDT ที่มียีน SH2,5 ซึ่งมีความต้านทานต่อโรคราสนิมใน race I และ II นอกจากนี้ได้แหล่งรวบรวมพันธุ์กรรมกาแฟอาราบิก้าทั้งสายพันธุ์ลูกผสมและสายพันธุ์แท้ จำนวน 1,881 สายต้น เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการพัฒนาพันธุ์ ตลอดจนศึกษาปฏิกิริยาของกาแฟลูกผสมและลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมต่อโรคราสนิมต่อยอดจากงานวิจัยเดิม และได้พันธุ์สำหรับนำไปพัฒนาต่อ จำนวน 625 สายต้น ซึ่งอยู่ในระหว่างคัดเลือกในแปลง ดำเนินการเก็บข้อมูลผลผลิต คุณภาพ ความต้านทานโรค โดยใช้งบประมาณของกรมวิชาการเกษตร           ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้ คือ กาแฟอาราบิก้าลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ (F1) ที่เป็นสายพันธุ์แท้ และทนแล้งที่ต้านทาน ต่อโรคราสนิม ผลผลิตสูง มีคุณภาพดี โดยมีพ่อแม่พันธุ์ พร้อมในการผลิตเมล็ดพันธุ์ และต้นกล้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศในอนาคต 
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548-05-18
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-05-18
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2548
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและปรับปรุงพันธุ์กาแฟอาราบิก้าโดยวิธีการผสมพันธุ์
กรมวิชาการเกษตร
18 พฤษภาคม 2553
พันธุ์กาแฟอาราบิก้าในประเทศไทย อิทธิพลของอุณหภูมิต่อกาแฟอาราบิก้า โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์กาแฟ สภาพแวดล้อมสำหรับการเจริญของกาแฟอาราบิก้า ปฏิกิริยาของกาแฟอาราบิก้า คาทิมอร์ ต่อโรคราสนิม การปรับปรุงพันธุ์กาแฟอาราบิก้าลูกผสมสายพันธุ์ Catmimor CIFC 7963-13-28 โครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์อ้อย การสำรวจแมลงศัตรูกาแฟอาราบิก้าและแมลงศัตรูธรรมชาติในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย การพัฒนาสายพันธุ์ส้มไม่มีเมล็ดโดยวิธีการผสมพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์เห็ดหอมโดยการผสมพันธุ์แบบสปอร์เดี่ยว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก