สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์น้ำยางพาราสำหรับใช้งานในสวนยางพารา
เนตรดาว มุสิกมาศ - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์น้ำยางพาราสำหรับใช้งานในสวนยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Physiology of Rubber Production
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เนตรดาว มุสิกมาศ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ความเข้มข้นของน้ำตาลซูโครส อนินทรีย์ฟอสฟอรัส และไทออลเป็นองค์ประกอบทางชีวเคมีของน้ำยาง ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ด้วยเทคนิคการตรวจวิเคราะห์น้ำยางพารา (latex diagnosis) องค์ประกอบดังกล่าวจะถูกใช้ในการประเมินสุขภาพของเซลล์และระบบท่อน้ำยาง และศักยภาพในการให้ผลผลิตน้ำยาง อันเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการระบบการกรีดให้เหมาะสมกับต้นยางพารา วิธีการมาตรฐานในการวิเคราะห์น้ำยาง นักวิจัยดำเนินการในห้องปฏิบัติการสำหรับขั้นตอนด้านเคมีและการวัดการดูดกลืนแสงของสารละลายด้วยเครื่อง Spectrophotometer ในการตรวจวิเคราะห์ความเข้มข้นของน้ำตาลซูโครส อนินทรีย์ฟอสฟอรัส และไทออล ซึ่งนักวิจัยคาดว่าการลดขั้นตอนที่ต้องใช้เครื่อง Spectrophotometer ในการตรวจวัดความเข้มข้นของสารดังกล่าวได้ โดยการพัฒนาแผ่นเทียบสีสำหรับตรวจวัดปริมาณตัวแปรทางชีวเคมีทั้งสาม จะทำให้สามารถตรวจวัดคุณภาพน้ำยางได้ในแปลงปลูกยาง ซึ่งจะเป็นวิธีการที่สามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น และลดต้นทุนในการขนส่งและเครื่องมือราคาแพงที่ต้องใช้ในการวิเคราะห์ นักวิจัยพัฒนาแผ่นเทียบสีมาตรฐานของน้ำตาลซูโครส อนินทรีย์ฟอสฟอรัส และไทออลให้มีแถบสีจำนวน 10, 6 และ 6 สี ตามลำดับ เป็นตัวแทนความเข้มข้นของน้ำตาลซูโครส อนินทรีย์ฟอสฟอรัส และไทออล ในช่วง 0.0-1.75, 0.0-5.0 และ 0.0-0.1 mM ตามลำดับ แผ่นเทียบสีที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ประเมินความแปรปรวนของน้ำตาลซูโครส อนินทรีย์ฟอสฟอรัส และไทออล ของสารละลายที่เตรียมในห้องปฏิบัติการได้ 91, 87 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับการทดสอบกับน้ำยางจากแปลงทดลอง ณ สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า แผ่นเทียบสีที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ประเมินความแปรปรวนของน้ำตาลซูโครส อนินทรีย์ฟอสฟอรัส และไทออลได้ 60, 58 และ 11 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์น้ำยางพาราสำหรับใช้งานในสวนยางพารา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2560
การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการปลูกยางพารา การผลิตน้ำยางพาราและการใช้ประโยชน์จากไม้ยางพารา การศึกษาน้ำยางพาราในระดับโมเลกุล สำหรับไบโอเทคศักยภาพสูง การพัฒนาคลองชลประทานผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา การพัฒนาคลองชลประทานผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้ในระบบชลประทานไร่นา ผลของเอทธิลีนต่อผลผลิตและคุณภาพของน้ำยางพารา คุณภาพของเนื้อไม้ยางพาราในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร การพัฒนาชุดทดสอบคุณภาพของน้ำยางพาราด้วยเครือข่ายเซนเซอร์ ไร้สาย การสร้างกลยุทธ์พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายน้ำยางพาราของเกษตรจังหวัด การพัฒนากระบวนการเตรียมเอนไซม์โปรติเอสต้นทุนต่ำสำหรับผลิตน้ำยางพาราปราศจากโปรตีนภูมิแพ้ การพัฒนาวัสดุเคลือบผิวคลองผสมน้ำยางพาราสำหรับใช้บำรุงรักษาคลองชลประทาน การเขตกรรมเพื่อการผลิตเนื้อไม้และน้ำยางพารา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก