สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาการสะสมธาตุไนโตรเจนและแอนโทไซยานินในอัญชัน 8 สายพันธุ์
ธรธ อำพล - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ศึกษาการสะสมธาตุไนโตรเจนและแอนโทไซยานินในอัญชัน 8 สายพันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Study of Nitrogen Accumulation and Anthocyanin Content in Eight Butterfly Pea Accessions
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธรธ อำพล
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Darod Ampoln
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: อัญชัน Clitoriaternatea Linn. เป็นพืชวงศ์ถั่ว ดอกสีม่วงมีสารแอนโทรไซยานิน ใบมีการสะสมไนโตรเจน การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปริมาณธาตุไนโตรเจนในใบ ปริมาณแอนโทไซยานินในดอกทั้งหมดด้วย วิธีพีเอซ-ดิฟเฟอเรนเชียล (pH-Differential) และเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งของอัญชัน 8 สายพันธุ์ ได้แก่ CCS, NPGS16, NPGS19, NPGS25, UD, UNK1, UNK2 และ UNK3 ทำการเก็บตัวอย่างตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน พ.ศ.2559 โดย เก็บใบและดอกของอัญชันทุกสายพันธุ์ในทุกๆ เดือน เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณไนโตรเจนและแอนโทรไซยานิน พบว่ามี อิทธิพลร่วมระหว่างพันธุ์และเดือนที่เก็บของลักษณะปริมาณธาตุไนโตรเจนในใบ และปริมาณแอนโทรไซยานินในดอก แต่ ไม่พบอิทธิพลร่วมระหว่างพันธุ์และเดือนที่เก็บของลักษณะเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง นอกจากนี้ ยังพบว่ามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในพันธุ์และเดือนที่เก็บ อัญชันที่เก็บในเดือนมีนาคมส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยของปริมาณนโตรเจนใน ใบสูง โดยพันธุ์ CCS, NPGS19 และ UNK1 มีปริมาณไนโตรเจนในใบ คือ 5.43, 5.15 และ 5.21% ตามลำดับ การสะสม ปริมาณแอนโทไซยานินของอัญชันขึ้นกับสายพันธุ์และเดือนที่เก็บ อัญชันสีน้ำเงินมีค่าแอนโทไซยานินมากกว่า 30 mg/L ปริมาณแอนโทไซยานินสูงสุด อยู่ในพันธุ์ UNK1 ที่เก็บในเดือนมีนาคมและเมษายน ค่าแอนโทไซยานินในพันธุ์ UNK1 มี 78.9 และ 82.66 mg/L เมื่อเก็บในเดือนมีนาคมและเมษายน ตามลำดับ อัญซันที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งสูงสุด คือ พันธุ์ NPGS25 มีเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งเฉลี่ย 3 เดือน 28.31% และใบอัญชันที่เก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนเมษายน มีเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งเฉลี่ยสูงที่สุด มีเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง 25.85% และ 26.53% ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Butterfly pea (Clitoriaternatea Linn.) belongs to Fabaceae family. Its purple flower contains anthocyanin and leaf contains nitrogen. The aim of this experiment was to investigate quantity of nitrogen content in the leaf, anthocyanin in the flower analyzed by pH-Differential method, and percentage of leaf dry weight in eight accessions (CCS, NPGS16, NPGS19, NPGS25, UD, UNK1, UNK2 and UNK3). The experiment was conducted between February and April in 2016. The leaves and flowers of all accessions were collected every month for the nitrogen and anthocyanin content analyses, respectively. There was an interaction between accessions and time of harvesting (month) for the nitrogen content in the leaf and the anthocyanin in the flowers, but there was no interaction between accessions and time of harvesting for the percentage of leaf dry weight. We also found significant differences among accessions and among times of harvesting. Most butterfly pea accessions harvested in March had high average nitrogen contents in leaves. The nitrogen content in the leaves from CCS, NPGS19 and UNK1 were 5.43, 5.15 and 5.21 percent, respectively. Level of anthocyanin accumulation of butterfly pea flower was dependent on accession and time of harvesting. Purple butterfly pea had anthocyanin content of more than 30 mg/L. The highest anthocyanin content was found in UNK1 harvested in March and April. Anthocyanin contents in UNK1were 78.9 and 82.66 mg/L when it was harvested in March and April, respectively. The highest percentage of leaf dry weight averaged from 3 months was found NPGS16 (28.31%) and leaves harvested in February and April had the highest average percentage of leaf dry weight of 26.85and 28.66 percent, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P138 Hor15.pdf&id=3181&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาการสะสมธาตุไนโตรเจนและแอนโทไซยานินในอัญชัน 8 สายพันธุ์
ธรธ อำพล
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ถั่วเหลืองสายพันธุ์ก้าวหน้า ผลของอายุและสายพันธุ์ต่ออัตราการเคลื่อนที่, อัตราการรอดชีวิต และความสมบูรณ์พันธุ์ของน้ำเชื้อแบบแช่แข็งของพ่อพันธุ์ไก่พื้นเมือง การพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์จากดอกอัญชัน การสร้างมูลค่าเพิ่มจากดอกอัญชัน ผลของความร้อนและการเก็บรักษาต่อปริมาณแอนโทไซยานินในผักสีม่วงบางชนิด พัฒนาการของสีและปริมาณแอนโทไซยานินในไหมข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ความสัมพันธ์ระหว่างค่าสี (L*, a* และ b*) กับปริมาณแอนโทไซยานินในเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ผลของอายุเก็บเกี่ยวและวิธีการทำให้สุกต่อปริมาณแอนโทไซยานิน และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง การสกัดสารยับยั้งเชื้อแบคทีเรียจากอัญชัน และการศึกษาโครงสร้างเชิงโมเลกุลด้วยแบบจำลองคอมพิวเตอร์โดยอาศัยทฤษฎีควอนตัม การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่าย Transcription factor genes ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์รงควัตถุแอนโทไซยานินเข้าสู่กล้วยไม้เอื้องนางลม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก